การวิเคราะห์สัญญาณพันธุกรรมโดยเทคนิคทางคณิตศาสตร์ประยุกต์
ยีนเป็นส่วนหนึ่งในโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งลำดับเบสในยีนจะถูกถอดรหัสไปเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ต่างๆ แต่พบว่าในสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอตนั้นลำดับเบสในยีนไม่ได้ถูกถอดรหัสไปเป็นโปรตีนทั้งหมด ส่วนที่ถูกถอดรหัสไปเป็นโปรตีนเรียกว่าเอ็กซอน ส่วนที่ถูกถอดรหัสไปเป็นโปรตีนเรียกว่าอินทรอน ซึ่งสามารถตรวจสอบว่ามีบริเวณใดเป็นเอ็กซอนได้โดยใช้วิธีการทางชีววิทยา แต่ก็ยุ่งยากและใช้เวลานาน จึงได้มีการนำเทคนิคการวิเคราะห์สัญญาณมาประยุกต์ใช้กับลำดับเบสเพื่อวิเคราะห์ว่าส่วนใดของลำดับเบสเป็นเอ็กซอน โดยวิธีการหนึ่งคือการใช้ความรู้เรื่อง Discrete Fourier Transform และ Short-Time Fourier Transform ซึ่ง Dimitris Anastassiou ได้เสนอวิธีวิเคราะห์สัญญาณพันธุกรรมของยีน F56F11.4 ใน C. elegans cosmid F56F11 โดยใช้ window ขนาด 351 คู่เบสในการทำ Short-Time Fourier Transform ในโครงงานนี้ได้ศึกษาวิธีวิเคราะห์สัญญาณพันธุกรรมโดยใช้ Short-Time Fourier Transform และทำการพลอตสเปกตรัมในรูปผิวสามมิติเทียบกับขนาดของ window และตำแหน่งในลำดับเบส และทำการวิเคราะห์ในลักษณะเดียวกันกับยีนอื่นๆใน C. elegans cosmid F56F11 ด้วย ซึ่งจาการทดลองกับยีน F56F11.4 พบว่าการพลอตผิวสามมิติทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมของข้อมูลได้ดีมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์กับยีนอื่นๆ ใน C. elegans cosmid F56F11 ไม่ดีเท่าที่ควรจึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับวิธีในการวิเคราะห์สัญญาณซึ่งจะได้ผลที่ดีกับยีนอื่นๆ ด้วย
-
5253 การวิเคราะห์สัญญาณพันธุกรรมโดยเทคนิคทางคณิตศาสตร์ประยุกต์ /project-physics/item/5253-2016-09-09-03-36-11-5253เพิ่มในรายการโปรด