การประยุกต์สารสำคัญจากกระชายดำเพื่อใช้เป็นสารย้อมสีผมชนิดถาวร
ชื่อผู้ทำโครงงาน
ตรีสุคนธ์ สวัสดิ์รักเกียรติ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ดร.พัฒทรา สวัสดี
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
เคมี
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
ผลิตภัณฑ์สำหรับย้อมสีผมชนิดถาวรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีที่มาจากการสังเคราะห์ ซึ่งอาจ ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรืออาการแพ้แก่ผู้ใช้ รวมทั้งอาจเกิดการกลายพันธุ์ของยีนได้ ดังนั้น การใช้สารจากธรรมชาติทดแทนสารสังเคราะห์ดังกล่าว จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากสารจากธรรมชาติมีความปลอดภัยมากกว่า จากการทดสอบการย้อมสีผมเบื้องต้นพบว่า สิ่งสกัดเมทานอลจากกระชายดำสามารถย้อมสีผมขาวเป็นให้เป็นสีดำได้ดี จึงนำสิ่งสกัดนี้มาทำการแยกแบบแบ่งส่วน (Partition) ด้วยสารละลายบิวทานอลอิ่มตัว แล้วแยกเป็นส่วนย่อยหยาบด้วยคอลัมน์ที่มีตัวดูดซับคือ Diaion สามารถแยกสารได้ส่วนย่อยหยาบ K1 ถึง K4 ทำการแยกสารเหล่านี้ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี แยกได้เป็นส่วนย่อย K1-1 ถึง 4,K3-1 ถึง 3, และK4-1 ถึง 4 เมื่อนำไปทดสอบการย้อมสีผม พบว่า ส่วนย่อย K4-1 ให้ผลการย้อมสีผมเป็นสีดำดีที่สุด
คำสำคัญ
สาร,กระชาย,ดำ,ย้อม,สี,ผม,ถาวร
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ตรีสุคนธ์ สวัสดิ์รักเกียรติ
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5925 การประยุกต์สารสำคัญจากกระชายดำเพื่อใช้เป็นสารย้อมสีผมชนิดถาวร /project-physics/item/5925-2016-09-09-03-43-17-5925เพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (71480)
ให้คะแนน
Soliton เป็นผลเฉลยแบบหนึ่งของ nonlinear partial differential equation มีลักษณะเป็นtravelling wave ...
Hits (73592)
ให้คะแนน
มาลาเรียเป็นโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ...
Hits (75855)
ให้คะแนน
การศึกษาศักย์การหมุนมุมทอร์ชันรอบพันธะ C1–C2 (ω1) และ C2-C3 (ω2)ของสารประกอบคีโตอีโนเลตส์ ...