การศึกษาค่าการแตกตัวกรดอ่อนชนิดไดคาร์บอกซิลิก (dicarboxylic acid)โดยใช้วิธีของทฤษฎีเดนซิติ ฟังก์ชัน (Density functional theory, DFT) ร่วมกับแบบ จำลอง integral-equation-formalism polarizable continuum ...
กรดไดคาร์บอกซิลิกและสปีชีส์ไดแอนไอออนิกของกรดมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน เช่น ออกซาเลตไอออน ในรูปของเกลือแคลเซียมออกซาลิก ทำเป็นยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด กรดซักซินิกทำเป็นยาเติมลงในอาหารสำหรับผู้ที่ต้องทำการควบคุมอาหาร กรดกลูตาริกเป็นโมโนเมอร์ที่ใช้ในการผลิตโคพอลิเมอร์ โดยจะให้คุณสมบัติช่วยลดความหยืดหยุ่นของพอลิเมอร์ ในงานวิจัยนี้ทำการหาค่าคงที่การแตกตัว, pKa, ของกรดไดคาร์บอกซิลิกบางชนิด ได้แก่ กรดออกซาลิก กรดมาโลนิก กรดซักซินิก และกรดกลูตาริก ในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายโดยใช้วิธีของทฤษฎีเดนซิติฟังก์ชัน(Density functional theory, DFT) ร่วมกับแบบจำลอง integral-equation-formalism polarizable continuummodel (IEFPCM) โครงสร้างของแต่ละสปีชีส์ของกรดเหล่านี้ถูกตรวจสอบที่ระดับการคำนวณ B3LYP/DFT โดยใช้เบสิตเซต 6-31+G(d,p) ค่า pKa ที่คำนวณจากแบบจำลองที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายของโครงสร้างเปลือยที่ได้จากโครงสร้างที่เหมาะสมที่มีโมเลกุลน้ำล้อมรอบของสปีชีส์ต่างๆของกรดมีค่าใกล้เคียงกับค่า pKa ที่ได้จากการทดลอง
-
5931 การศึกษาค่าการแตกตัวกรดอ่อนชนิดไดคาร์บอกซิลิก (dicarboxylic acid)โดยใช้วิธีของทฤษฎีเดนซิติ ฟังก์ชัน (Density functional theory, DFT) ร่วมกับแบบ จำลอง integral-equation-formalism polarizable continuum model (IEFPCM) /project-physics/item/5931-dicarboxylic-acid-density-functional-theory-dft-integral-equation-formalism-polarizable-continuum-model-iefpcmเพิ่มในรายการโปรด