การโคลนและวิเคราะห์ลักษณะของยีนที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของไข่และรังไข่ของกุ้งกุลาดำ
กุ้งกุลาดำนั้นประสบปัญหาเกี่ยวกับการไม่เจริญพันธุ์ของกุ้งกุลาดำเพศเมียในภาวะเพาะเลี้ยง ส่งผลให้ โปรแกรมการคัดเลือกเพื่อการผสมพันธุ์ของกุ้งกุลาดำยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยีนที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกุ้งกุลาดำ จึงมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว ในการทดลองนี้ได้ทำการศึกษารูปแบบการแสดงออกของยีน HMG DSP1, Presenilin enhancer, Bystin และ DEAH box polypeptide 15 ในรังไข่และอัณฑะของกุ้งกุลาดำเต็มวัย ด้วยวิธี RT-PCR พบว่ายีนDEAH box polypeptide 15 มีการแสดงออกเฉพาะในอัณฑะของกุ้งกุลาดำ ส่วนยีน HMG DSP1, Presenilin enhancer และ Bystin มีการแสดงออกในรังไข่มากกว่าในอัณฑะของกุ้งกุลาดำ จึงทำการวิเคราะห์ระดับการแสดงออกของยีน HMG DSP1 และ Bystin ในรังไข่ระยะต่างๆของกุ้งกุลาดำเต็มวัย ด้วยวิธี semiquantitative RT-PCR พบว่าการแสดงออกของยีน HMG DSP1 ในกุ้งปกติมีการแสดงออกที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในรังไข่ที่มีการพัฒนา (P >0.05) ในขณะที่การตัดก้านตาส่งผลให้การแสดงออกของยีน HMG DSP1 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในรังไข่ระยะที่ III และ IV (P 0.05) ในขณะที่การตัดก้านตาส่งผลให้การแสดงออกของยีน Bystin ในรังไข่ของกุ้งกุลาดำลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระยะที่ II III และ IV (P 0.05)ผลการทดลองบ่งชี้ว่าการตัดตามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนในรังไข่ของกุ้งกุลาดำ
-
6013 การโคลนและวิเคราะห์ลักษณะของยีนที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของไข่และรังไข่ของกุ้งกุลาดำ /project-physics/item/6013-2016-09-09-03-43-45-6013เพิ่มในรายการโปรด