การเติบโตของต้นโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) ที่ระยะปลูกแตกต่างกัน
จากการศึกษาการเติบโตของต้นโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) ในแปลงปลูกอายุ 14 ปี บริเวณอ่าวคุ้งกระเบนที่มีระยะปลูก 1 × 1 เมตรและ 0.5 × 0.5 เมตรร่วมกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว (อายุ 1,8และ12ปี) พบว่าอัตราการรอดชีวิตของต้นโกงกางใบใหญ่ต่ำในช่วงต้นกล้าที่อายุ 1 ปี ต่อมาจึงค่อนข้างคงที่การเติบโตทางด้านความโต ด้านความสูงและมวลชีวภาพเฉลี่ยต่อต้นพบว่า ต้นโกงกางใบใหญ่ที่ระยะปลูก1 × 1 เมตรมีการเติบโตมากกว่าที่ระยะปลูก0.5 × 0.5เมตรอย่างมีนัยสำคัญ ในทุกช่วงอายุ แต่เมื่อคำนวณพื้นที่หน้าตัดรวมและผลผลิตต่อพื้นที่แล้วพบว่า ที่ระยะปลูก 0.5 × 0.5 เมตรให้พื้นที่หน้าตัดรวมและผลผลิตต่อพื้นที่มากกว่าการปลูกที่ระยะปลูก 1 × 1 เมตร ในทุกช่วงอายุเช่นกัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าระยะปลูกหรือความหนาแน่นมีผลต่อการเจริญเติบโตของสวนป่าโกงกางใบใหญ่ และความสามารถในการรอดชีวิตของต้นโกงกางใบใหญ่ที่ปลูกในระดับความหนาแน่นสูงมาก แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการเติบโตของไม้ป่าชายเลนที่ปลูกด้วยความหนาแน่นสูง อันจะช่วยเพิ่มการเก็บกักคาร์บอนต่อหน่วยพื้นที่ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------- Abstract: Growth measurement was done for 14 year-old Rhizophora mucronata plantation. (1 × 1 m2and 0.5 × 0.5m2 of planting space). Analyzed together with former data on 1,8and 12 years old, the result showed that the survival rate was low in 1 year-old- plantation and then become stable. Average stem diameter, height, and biomass per tree of trees in 1 × 1 m2 were lower than those of 0.5 × 0.5m2 plantation. On the other hand, total basal area and yield were high in 0.5x0.5m2 plantation. The result indicated that planting space and density affected on growth of plantation. Moreover, it is obvious that high density plantation can be applied in mangrove area where may give a benefit as a major carbon sink
-
6054 การเติบโตของต้นโกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) ที่ระยะปลูกแตกต่างกัน /project-physics/item/6054-rhizophora-mucronataเพิ่มในรายการโปรด