ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความมั่นคงในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานและความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน ผลการปฏิบัติงาน และความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน ศึกษาเปรียบเทียบความทุ่มเทในการทำงานของพนักงานจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความมั่นคงในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความมั่นคงในการทำงานกับความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พนักงานบริษัท ฮิตาชิ อินดัสเตรียล เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมีการรับรู้ความมั่นคงในการทำงานระดับปานกลาง ผลการปฏิบัติงานและความทุ่มเทในการทำงานระดับสูง พนักงานที่มีลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศแตกต่างกัน มีความทุ่มเทในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พนักงานที่มีลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ รายได้ อายุการทำงาน และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความทุ่มเทในการทำงานไม่แตกต่างกัน การรับรู้ความมั่นคงในการทำงานมีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
-
6505 ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความมั่นคงในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานและความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน /project-physics/item/6505-2016-09-09-03-51-18-6505เพิ่มในรายการโปรด