คุณภาพชีวิตสัตว์ป่า : ศึกษากรณีรังนกปากห่าง
ได้ศึกษาคุณภาพชีวิตสัตว์ป่า : ศึกษากรณีรังนกปากห่าง ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม จากข้อสังเกตเปรียบเทียบที่นกเดินทางมาถึงใหม่ๆ มีเวลาพักผ่อนน้อยต้องผสมพันธุ์วางไข่ การทำรังของนกจะขาดความแน่นหนาทำให้ไข่นก ลูกนก ตกลงมาตายเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น ที่อยู่อาศัยจึงมีความสำคัญมาก คณะผู้ดำเนินงานได้สุ่มตัวอย่างศึกษารังนกได้ 10 ตัวอย่าง นำมาวัดความยาวของกิ่งไม้ ความก้าวหน้าของเส้นผ่าศูนย์กลางแบ่งได้ 5 ช่วง พบว่ากิ่งไม้ที่มีขนาดยาวน้อยกว่า 30 เซนติเมตร และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.4 เซนติเมตร เป็นขนาดที่นกปากห่างเลือกมาทำรังมากที่สุด การทดลองเพื่อชี้วัดคุณภาพชีวิตนกปากห่างทำโดยเชิญชวนให้เพื่อนเยาวชนได้มีส่วนร่วมนำกิ่งไม้มาด้วย 5 โรงเรียน ได้กิ่งไม้ 17,600 กิ่ง แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 8,800 กิ่ง ทดลองในบล็อกขนาด 7 คูณ 7 เมตร บริเวณ A และ B ระยะเวลาวางทดลอง 4 เดือนเพื่อให้นกนำไปทำรัง จึงตรวจนับกิ่งไม้ปรากฏว่า นกนำกิ่งไม้ไปทำรังรวม 15,600 กิ่ง คิดเป็นร้อยละ 88.64 แสดงถึงสถานภาพนกปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤติ นกจะลดจำนวนลงยิ่งขึ้นกว่าเดิม หรืออาจจะไม่อยู่ที่วัดไผ่ล้อมอีกในปีต่อๆ ไป
-
6556 คุณภาพชีวิตสัตว์ป่า : ศึกษากรณีรังนกปากห่าง /project-physics/item/6556-2016-09-09-03-51-36-6556เพิ่มในรายการโปรด