การเปรียบเทียบความสามารถของสารสกัดจากใบทับทิม (Punica graatum L.) ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli และ Staphyllococcus aureus
ทับทิมเป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกกันโดยทั่วไป นอกจากสามารถนำผลมารับประทานแล้วยังมีการนำเปลือกของผล เปลือกของลำต้น เปลือกของราก สำหรับโครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นศึกษาสารสกัดจากส่วนใบของทับทิม โดยศึกษาความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียด้วยสารสกัดจากใบทับทิม เพื่อหาแนวทางในการนำใบทับทิมมาใช้ประโยชน์ และอาจสามารถนำไปสูการพัฒนาเป็นสมุนไพรสำหรับระชาชน โดยทั่วไปได้ ในการทดลองนี้ ทำโดยการนำเอาใบอ่อนและใบแก่ของทับทิมมาบดให้ละเอียด สกัดด้วยเมทานอล เอทานอล กรดอะซีติก น้ำ เฮกเซน และเอทิลอะซิเตต จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4, 30 และ 100 เป็นเวลา 1,2 และ 3 วันตามลำดับ จากนั้นไปทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นกับเชื้อแบคทีเรียแกรมลบคือ Escherichia coliและแกรมบวกคือ Staphyllococcus aureusซึ่งเป็นแบคทีเรียมาตรฐานที่นิยมใช้ในการทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย โดยสารปฏิชีวนะพบว่า สารสกัดจากใบแก่ของทับทิมมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียดีกว่าดีกว่าใบอ่อน อุณหภูมิที่เหมาะในการเก็บทับทิมเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนการสกัดคือ 30 สารสกัดจากสารละลายเมทานอล เอทานอล กรดอะซีติกและน้ำมีฤทธิ์ดีกว่าเข้มข้นเล็กน้อย แต่กรดอะซีติก 5% ดีกว่า 10% และ 2.5% อุณหภูมิที่มีเหมาะในเก็บสารสกัดเป็นเวลา 20นาที ก่อนนำไปเก็บที่ 4 คือ 4 และสารสกัดจากใบทับทิมที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายคงสภาพได้ดีเป้นเวลานานกว่าสารละลายชนิดอื่น ซึ่งเป็นไปได้ว่า ควรสกัดสารยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียด้วยน้ำกลั่นเพราะมีฤทธิ์ยับยั้งมากและไม่มีสารตกค้างเหมือนตัวทำละลายชนิดอื่นๆ และเหมาะที่จะนำเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป หากศึกษาฤทธิ์ข้างเคียงอื่นๆ เรียบร้อยแล้ว
-
4885 การเปรียบเทียบความสามารถของสารสกัดจากใบทับทิม (Punica graatum L.) ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli และ Staphyllococcus aureus /project/item/4885-punica-graatum-l-escherichia-coli-staphyllococcus-aureusเพิ่มในรายการโปรด