ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไฟโคไซยสนินของสาหร่าย spirulina platensis
ไฟโคไซยานิน ซึ่งเป็นรงควัตถุสีน้ำเงินม่วง หรือน้ำเงินเข้ม จึงสามารถนำมาผลมในแคปซูลยาที่ต้องการให้เกิดสีน้ำเงินหรือฟ้า หรือผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมหรือฝุ่นทาตา ทำให้มีสีน้ำเงิน สีเทา หรือสีดำ ซึ่งรงควัตถุ เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ให้ความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากกว่าสีสังเคราะห์ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากรงควัตถุธรรมชาตินี้มีราคาสูง จากการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไฟโคไซยานินของสาหร่าย Spirulina platensis โดยศึกษาจากสูตรอาหาร Zarrouk และสูตรอาหารอย่างง่าย ที่มีผลต่อการผลิตไฟโคไซยานินจากสาหร่าย Spirulina platensis ที่ pH เท่ากับ 8, 9, 10 และ 11 ของห้องปฏิบัติการวิจัยสาหร่ายประยุกต์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลที่ได้คือ สูตรอาหารอย่างง่าย มีผลต่อการผลิตไฟโคไซยานินของสาหร่าย Spirulina platensis กับสูตรอาหาร Zarrouk ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และพบว่า ที่ pH9 ในสูตรอาหารอย่างง่ายให้ปริมาณไฟโคไซยานินสูงที่สุด ดังนั้นจึงใช้สูตรอาหารอย่างง่ายในการทดลองซึ่งมีราคาถูกกว่าในการทดลองผลของ ที่ความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 1.5g/l ต่อการผลิตไฟโคไซยานินของสาหร่าย พบว่าที่ความเข้มข้น 1.5 g/l ให้ผลผลิตสูงที่สุด แต่ทั้งสามความเข้มข้นไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 จากการทดลองจึงสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง และประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina platensis เพื่อผลิตไฟโคไซยานินในระดับอุตสาหกรรมต่อไป
-
5081 ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไฟโคไซยสนินของสาหร่าย spirulina platensis /project/item/5081-spirulina-platensisเพิ่มในรายการโปรด