การเกิดสีของดอก Pereskia bleo
สีของดอกไม้เป็นสารทุติยภูมิ หรือที่เรียกว่า secondary metabolite โดยการสร้างขึ้นกับ ชนิดของพืชอวัยวะที่สร้าง ระยะของการเจริญเติบโตและพัฒนา และสภาพแวดล้อมภายนอก การศึกษาปัจจัยทางกายภายนอกที่มีผลต่อสภาพทางสรีรวิทยาภายในของต้นพืชที่ทำให้เกิดการเกิดสีของดอกไม้ จะช่วยเสริมองค์ความรู้ความเข้าใจในกลไกการแสดงออกของยีนที่ตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพภายนอก และส่งผลต่อการตอบสนองของพืชตามกระบวนการทางชีวโมเลกุลในระดับเซลล์ อันจะนำไปสู่ความเข้าใจในการศึกษารูปแบบการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องต่อการสร้างสาร metabolites ต่างๆ ในเซลล์พืช ต้น Pereskia bleo หรือกุหลาบพุกาม สามารถให้ดอกสีต่างกันตามสภาพอากาศ โดยดอกหนึ่งดอกจะให้สีเดิมตลอดตั้งแต่บานจนหุบ ได้ทำการศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อสีดอก โดยบันทึกสีดอกในธรรมชาติในรอบปีเทียบกับปริมาณน้ำฝน ช่วงแสง และอุณหภูมิ หาดัชนีการเจริญและพัฒนาและการสร้างสีในดอกธรรมชาติ และทำการทดลองในสภาพแวดล้อมควบคุมเพื่อดูผลของอุณหภูมิต่อสีดอก วัดผลโดยการวัดสีของดอกด้วย Color Chart และ Colorimeter และปริมาณ Total Anthocyanin ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิที่ลดลงทำให้เฉดสีดอกเปลี่ยนจากสีส้มไปทางสีชมพู-ม่วง และมีปริมาณ Anthocyanin เพิ่มขึ้น สำหรับดอกในธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงสุดของวันที่ต่ำ นอกจากนี้ยังชักนำต้นที่เพาะไว้ 30 ต้น ด้วยรังสีแกมมา เพื่อศึกษาแสดงออกของสีดอกในตัวอย่างพืช ที่มีการชักนำให้กลายพันธุ์ ซึ่งจะนำไปสู่การขยายองค์ความรู้ ด้านยีนที่ควบคุมการสร้างสีดอกใน mutant และนำมาเปรียบเทียบระดับการแสดงออก ของยีนและเอนไซม์ที่สำคัญได้ในอนาคต
-
5142 การเกิดสีของดอก Pereskia bleo /project/item/5142-pereskia-bleoเพิ่มในรายการโปรด