ศึกษาพาหะของ YHV ( Yellow Head Virus ) ในกุ้งกุลาดำในแหล่งน้ำจืด ด้วยวิธีImmunocytochemistry
โครงงานนี้เป็นการตรวจหาพาหะของเชื้อ YHV ( Yellow Head Virus ) ซึ่งได้แพร่ระบาดจากพื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำน้ำเค็ม เข้าสู่พื้นที่เลี้ยงเขตน้ำจืด โดยในการทดลองนี้จะตรวจเฉพาะกุ้งที่พบปะปนในบ่อกุ้งเขตน้ำจืดเท่านั้น เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่าพนหะเชื้อจากทั้งสองเขตน่าจะเป็นคนละชนิดกัน เพราะความแตกต่างในเรื่องความเค็มของน้ำ และสภาพแวดล้อมต่างๆ มากมาย สำหรับเชื้อ YHV นี้จะก่อโรคหัวเหลืองในกุ้งกุลาดำ( Penaeusmonodon ) กรรมวิธีที่ใช้ตรวจ คือเทคนิค Immunocytochemistry ( 4 ) โดยอาศัยหลักการทำงานของ Monoclonal antibody รหัส V3-2B ( 6 ) ที่จำเพาะต่อเปลือกของไวรัสหลังจากนั้นจึงใส่ antibody ตัวที่สอง ( GAMHRP) ที่จำเพาะกับ antibody ตัวแรกใน antibody ตัวที่หลังนี้จะติดด้วย exzyme Horse radish peroxidase จากนั้นจึงใส่ substrate ประกอบด้วย DAB ( Diaminoben-zidine ) 0.03% และ Hydrogen peroxide 0.006% ( 4 )Enzyme จะเร่งปฏิกิริยาให้ DAB เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจับส่วนที่มีไวรัสอยู่ โดยใช้กระบวนการเหล่านี้ตรวจสอบกุ้งทดลองจำนวน 2 ชนิดคือ กุ้งกะปิ ( Cardina sp ) กุ้งฝอย ( Macrobranchium lanchesteri ) ซึ่งพบได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำเขตน้ำจืด ผลการทดลองพบว่าหลังจากให้อาหารมีเชื้อ แก่กุ้งกะปินาน 5 วันแล้ว สามารถตรวจพบซื้อได้ในหลายอวัยวะ เช่น เหงือก ตา ขาHapatopancreas midgut ฯลฯ ในกรณีของกุ้งฝอยพบว่ามีเชื้อติดมาจากธรรมชาติอยู่แล้วเล็กน้อย แต่เมื่อทำการ infect เชื้อในห้องปฏิบัติงานพบว่าเชื้อสามารถเพิ่มจำนวนในส่วนต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัดเช่น antennal gland Ovary ตาฯลฯ โดยไม่มีความผิดปกติใดๆ จากการที่กุ้งทั้งสองชนิดนี้สามารถติดเชื้อ YHV ได้แต่ไม่แสดง อาการและยังดำรงชีวิตได้ตามปกติ จึงสรุปได้ว่าทั้งสองชนิดอาจเป็นพาหะเชื้อ YHV จริง สำหรับตำแหน่งอวัยวะต่างๆ ที่ตรวจพบเชื้อ และความสำเร็จในการ infect เชื้อในห้องปฏิบัติการสามารถเป็นข้อมูลในการสันนิษฐาน กลไกการระบาดต่อไปได้
-
5157 ศึกษาพาหะของ YHV ( Yellow Head Virus ) ในกุ้งกุลาดำในแหล่งน้ำจืด ด้วยวิธีImmunocytochemistry /project/item/5157-yhv-yellow-head-virus-immunocytochemistryเพิ่มในรายการโปรด