การชักนำพอลิพลอยด์ของต้นอนูเบียส (Anubias barteri var. nana) โดยคอลชิซินในหลอดทดลอง
นำส่วนปลายยอดที่ปลอดเชื้อของต้นอนูเบียส (Anubias barteri var. nana) มาเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ที่มี 2iP ความเข้มข้น 0 5 7 และ9 มก./ล. ร่วมกับไคโตซานความเข้มข้น 0 5 10 และ15 มก./ล. หลังจากเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่ามียอดเกิดขึ้นในทุกชุดการทดลองโดยปลายยอดที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS + 2iP 5 มก./ล. + ไคโตซาน 0 มก./ล. และสูตร MS + 2iP 7 มก./ล. + ไคโตซาน 0 มก./ล. มีจำนวนยอดเฉลี่ยเกิดขึ้นมากที่สุดคือ 3.6 ± 1.7 และ 3.6 ± 2.7 ยอด ตามลำดับ ยอดที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS + 2iP 7 มก./ล. + ไคโตซาน 15 มก./ล. มีจำนวนใบต่อยอดมากที่สุดคือ 4.3 ± 2.1 ใบต่อยอด การชักนำพอลิพลอยด์ทำได้โดยการแช่ปลายยอดลงในสารละลายคอลชิซินความเข้มข้น0.01 0.05 และ0.1 % (น้ำหนัก/ปริมาตร) ระยะเวลา 24 48 และ72 ชั่วโมง แล้วนำไปเพาะเลี้ยงต่อบนอาหารแข็งสูตร MS ที่มี 2iP ความเข้มข้น 5 มก./ล. เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าปลายยอดทุกชุดการทดลองสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ โดยมีจำนวนใบเฉลี่ยและรากเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนจำนวนยอดเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกัน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมโดยทุกชุดการทดลองยังคงมีจำนวนโครโมโซมเป็น 2n = 48 จำนวนปากใบ ความกว้างเฉลี่ยของปากใบในแต่ละชุดการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีความยาวเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน การตรวจสอบโดยวิธีข้างต้นยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าพืชต้นใดมีลักษณะเป็นพอลิพลอยด์
-
5417 การชักนำพอลิพลอยด์ของต้นอนูเบียส (Anubias barteri var. nana) โดยคอลชิซินในหลอดทดลอง /project/item/5417-anubias-barteri-var-nana-5417เพิ่มในรายการโปรด