การศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีความเสถียรภาพของอากาศจากข้อมูลการหยั่งอากาศช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อนในสถานี ตรวจอากาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีความเสถียรภาพอากาศช่วงเปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน ในสถานีตรวจอากาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าดัชนี Showalter Stability index(SI) และ Lift index (LI) มีค่าเฉลี่ยต่ำลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนดัชนี K-index (KI) Total total index (TTI), Convective available potential (CAPE) และ Convective inhibition (CIN) มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นตามอุณหภูมิ โดยในเดือน กุมภาพันธ์ ช่วงวันที่ 16 ถึง 28 ส่วนใหญ่เป็นการเกิดฝนฟ้าคะนองและวาตภัย ในเดือน มีนาคม ช่วงวันที่ 14 ถึง 31 ส่วนใหญ่เป็นการเกิดฝนฟ้าคะนอง และเดือนเมษายนช่วงวันที่ 1 ถึง 4 และ วันที่ 9 ถึง 30 ส่วนใหญ่เป็นการเกิดฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีทางทฤษฎีกับดัชนีจากการหยั่งอากาศเทียบกับรายงานการเกิดฝนจริง พบว่า ค่าดัชนี SI, KI, TTI และCAPE-CIN มีความสัมพันธ์กันระหว่างค่าดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประกอบการพยากรณ์การเกิดฝนฟ้าคะนองได้
-
5615 การศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีความเสถียรภาพของอากาศจากข้อมูลการหยั่งอากาศช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อนในสถานี ตรวจอากาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ /project/item/5615-2016-09-09-03-39-33-5615เพิ่มในรายการโปรด