การศึกษาความเป็นพิษ(Phytotoxicity)ของสารสกัดสะเดาต่อการงอกของเมล็ดพืชและการเจริญของต้นกล้า
ชื่อผู้ทำโครงงาน
อารีย์ หมั่นพัฒนาการ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ผศ. วิไลภรณ์ บุญญกิจจินดา
สถาบันการศึกษา
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ระดับชั้น
ปริญญาโทขึ้นไป
หมวดวิชา
ชีววิทยา
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อ
ศึกษาความเป็นพิษ (Phytotoxicity) ของสาร azadirachtin (Aza) ในสารสกัดสะเดา(Neem extracts) ต่อการงอกของเมล็ดพืชและการเจริญของต้นกล้าพืช5ชนิดคือ ข้าวโพด (Zea mays),แตงกวา(Cucumis sativus ),มะระจีน (Momordica charantia ),ข้าวฟ่า(Sorghum bicolor)และกระถิน(leucaena leucocephala.) โดยระบบไฮโดรโพนิกส์ในสารละลาย Hoagland ที่มีสารสกัดสะเดาความเข้มข้นต่างๆ (0 ,1.0 , 2.5 , 5.0 , 7.5 และ10 ppm ) พบว่าสารสกัดสะเดาที่ 10 ppm มีผลต่อการงอกของข้าวโพดมากที่สุดคือ งอกเพียง 32.31% ในขณะที่เปอร์เซ็นต์การงอกของข้าวฟ่าง กระถิน แตงกวา และมะระจีนคิดเป็น 81.08% ,72.90% , 65.57% และ 43.84% ตามลำดับเมื่อเทียบกับชุดควบคุม และพบว่าความยาวรากของข้าวโพดลดลงมากที่สุดคิดเป็น 4.39% ในขณะที่น้ำหนักแห้งรากของพืชอื่นๆยกเว้นแตงกว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม
คำสำคัญ
พิษ,สาร,สกัด,สะ,เดา,งอก,เมล็ด,พืช,เจริญ,ต้น,กล้า
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
อารีย์ หมั่นพัฒนาการ
ระดับชั้น
ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
5807 การศึกษาความเป็นพิษ(Phytotoxicity)ของสารสกัดสะเดาต่อการงอกของเมล็ดพืชและการเจริญของต้นกล้า /project/item/5807-phytotoxicityเพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (83332)
ให้คะแนน
โครงงานนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับหลักการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทั่วๆไปและศึกษา ...
Hits (72810)
ให้คะแนน
ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาก ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย ...
Hits (73081)
ให้คะแนน
น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่นจากใบสาบแมวด้วยไอน้ำ เมื่อนำมาทดสอบผลต่อลูกน้ำยุง และตัวยุงเต็มวัย ...