ลักษณะเฉพาะเชิงโมเลกุลของเส้นใยรังมดและเส้นใยแมงมุม ศึกษาโดยเอทีอาร์เอฟทีไออาร์ ไมโครสเปกโทรสโกปี
ในช่วงที่ผ่านมาการศึกษาลักษณะเฉพาะเชิงโมเลกุลของเส้นใยแมงมุมนั้นได้มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากสนใจศึกษาทั้งโครงสร้าง องค์ประกอบทางเคมี ความเป็นผลึก และสมบัติเชิงกล แต่ในขณะที่การวิจัยเกี่ยวกับเส้นใยจากรังมดเกือบไม่มีเลย ความน่าสนใจของมดอยู่ที่การสร้างรังอย่างประณีตและรังมดมีอายุการใช้งานเป็นปีและบางชนิดมีอายุถึง 10 ปี งานวิจัยนี้ทำการเปรียบเทียบองค์ประกอบเชิงโมเลกุลของเส้นใยรังมดและเส้นใยแมงมุม โดยศึกษาข้อมูลเชิงโมเลกุลที่ได้จากเอทีอาร์เอฟทีไออาร์สเปกตรัม จากสเปกตรัมของเส้นใยเดี่ยวที่วิเคราะห์ได้โดยใช้เจอร์มาเนียมไมโครไออาร์อี พบว่าเส้นใยทั้งสองชนิดมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นโปรตีน แต่โครงสร้างเชิงโมเลกุลของเส้นใยทั้งสองนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจากการที่เส้นใยแมงมุมมีปริมาณโครงสร้างแบบแผ่นจีบบีตาสูง (ทำให้มีความเป็นผลึกสูงกว่า) ดังนั้นเส้นใยแมงมุมจึงมีความแข็งแรงและความเหนียวมากกว่าเส้นใยรังมด ------------------------------------------------------------------------------------------- Recent studies of molecular characteristic of spider silk have been interested by many scientists in many aspects such as the structure, chemical composition, crystalline index, and mechanical properties. In contrast, only few studies of ant silk have been found. Ants are interested in a delicate nest construction and a long lifetime of a nest up to ten years. This research work compared molecular compositions of ant silk with spider silk based on the observed molecular information obtained from ATR FT-IR spectra. ATR FT-IR spectrum of a single silk fiber (spider silk or ant silk) was collected by the novel homemade germanium µIRE. Although both silk fibers are made of proteins, their molecular structures are drastically different. Due to the higher β-sheet content (i.e. higher crystalline) of the spider silk, it is stronger and tougher than the ant silk.
-
6265 ลักษณะเฉพาะเชิงโมเลกุลของเส้นใยรังมดและเส้นใยแมงมุม ศึกษาโดยเอทีอาร์เอฟทีไออาร์ ไมโครสเปกโทรสโกปี /project/item/6265-2016-09-09-03-48-53-6265เพิ่มในรายการโปรด