การเคลื่อนที่ของอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์
งานวิจัยนี้ศึกษาโดยการจำลองการกระจายตัวของอนุภาคพลังงานสูงที่ปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์โดยใช้สมการขนส่งของ Ruffolo (1998) ด้วยวิธีเชิงตัวเลข (Numerical Method) ร่วมกับการวิเคราะห์รูปแบบการกระจายตัวของอนุภาคโดยใช้โปรแกรม IDL (Interaction Data Language) และ Origin7 สำหรับเหตุการณ์การปะทุ ณ วันที่ 7 กันยายน 2548 ผู้วิจัยเปรียบเทียบผลการจำลองกับข้อมูลจริงที่ได้จากเครื่องมือ SIS (Solar Isotropic Spectrometer) บนยานอวกาศ ACE (Advanced Composition Explorer Spacecraft) ซึ่งพบว่าพัลส์ความหนาแน่นของอนุภาคจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ออกจากดวงอาทิตย์อย่างรวดเร็วเข้าไปในบริเวณที่มีการโฟกัส (focusing) อย่างแรงบริเวณใกล้ดวงอาทิตย์ และจะสลายตัวอย่างช้าๆ พร้อมทั้งมีการฟุ้งกระจายของอนุภาคมากขึ้นตามการเพิ่มของระยะทางจากดวงอาทิตย์ แนวโน้มของเส้นอิสระเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเมื่อระดับพลังงานและช่วงระยะการกระจายตัวของอนุภาคตามเส้นสนามแม่เหล็กมีค่า 0.298 AU ถึง 2.38 ------------------------------------------------------------------------------------------ We simulate the propagation of solar energetic particle released from the Sun by the transport equation of Ruffolo (1998) with the numerical method, and we analyze the distribution profile of particle with IDL (Interaction Data Language) and Origin7 for the solar event on September 7,2005. We compare the simulation results with the read data from SIS/ACE (Solar Isotopic Spectrometer/Advanced Composition Explorer Spacecraft). We find the dense pulses of particle rapidly propagate outward in the strong focusing region near the Sun, then they slowly decay and more diffusion with increasing distance from the Sun. We found trend of the mean free path increase as energy and the range of propagation distance along the magnetic field line is 0.298 AU to 2.38 AU.
-
6329 การเคลื่อนที่ของอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ /project/item/6329-2016-09-09-03-49-12-6329เพิ่มในรายการโปรด