การผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย ที่มีการส่งออกซึ่งนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยในแต่ละปีประมาณหกหมื่นล้านบาท ทั้งนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นรายได้จากการส่งออกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องความหอม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย โดยตรวจสอบพันธุ์ข้าวที่มีความหอมและไม่หอมได้แก่ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ข้าวเจ้าขาวเขาค้อ ข้าวเหนียวสันป่าตองและข้าวเหลืองอนันต์ โดยใช้ไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อยีน BADH2 ก่อนนำมาสกัดอาร์เอ็นเอ เพื่อใช้สังเคราะห์ดีเอ็นเอคู่สม และทำการคัดแยกดีเอ็นเอคู่สมของยีน BADH2 โดยใช้เทคนิค RT-PCR แล้วได้คัดเลือกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ข้าวเหนียวสันป่าตอง เป็นตัวแทนของการศึกษาพันธุ์ข้าวที่มีความหอมและไม่หอมตามลำดับ คัดแยกดีเอ็นเอคู่สมของยีน BADH2 ที่สนใจขนาด 300 คู่เบส เชื่อมต่อในพาหะ pGEM-T ก่อนตรวจสอบลำดับเบส แล้วจึงมีการเชื่อมต่อดีเอ็นเอคู่สมดังกล่าวกับพาหะ pMAL2c นำเข้าสู่เซลล์ E. coli BL21DE และชักนำให้มีการผลิตโปรตีน ตรวจสอบรีคอมบิแนนท์โปรตีนโดยเทคนิค SDS-PAGE เปรียบเทียบกับโปรตีนมาตรฐานขนาด 54 กิโลดาลตัน ------------------------------------------------------------------------------------------- Rice, a major economic crop of Thailand, is an export good which brings a country about 60,000 million baht of income each year. More than a haft of that number is an income from exportation of Khow Dork Mali 105 which has an outstanding characteristic in fragrant. The objective of this study is to produce recombinant proteins involving the quality of Thai Jasmine rice. Both fragrant and non-fragrant rice varieties; Khow Dork Mali 105, Khow Jow Kow Khao Koa, Sun Pha Thong and Laung Anan, were investigated. The result shows that Khow Dork Mali 105 and Sun Pha Thong can be used as the representatives of fragrant and non- fragrant rice, respectively. These varieties were chosen for RNA isolation and cDNA synthesis. The interesting 300 bp of cDNA BADH2 was isolated and ligated into pGEM-T vector for sequencinng,and then the cDNA was ligated to pMAL2c following transformation into E. coli bacterial cells. Once the recombinant protein was induced, SDS-PAGE was used for analyzing its product compared to that of 54 kD standard protein.
-
6369 การผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย /project/item/6369-2016-09-09-03-49-24เพิ่มในรายการโปรด