รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋ ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ครอบคลุมการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท/สภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น/ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ใช้ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย รวมทั้งสิ้น 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 โดยมีขั้นตอนตั้งแต่การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋ การศึกษาค้นคว้าตำราทางวิชาการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการสร้างเครื่องมือและการกำหนดรูปแบบการประเมินการตรวจคุณภาพเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเพื่อการประเมินโครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋ จำนวน 4 ฉบับ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนจากชุมชน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปผล ดังนี้ 1.การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลโครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋ ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.73 และเมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านบริบท/สภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น/ ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเห็นต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.64 4.81 ผลการประเมินแยกเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้ 1.1ด้านบริบท/สภาพแวดล้อม ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.80 และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น แยกตามกลุ่มของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการฯ ด้านบริบท/สภาพแวดล้อม อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.72 4.89 โดยเห็นว่า โครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋มีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของชุมชนบ้านป่าแป๋ ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีความชัดเจนและเป็นไปได้ สอดรับกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน และมีความสำคัญและจำเป็นต่อการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียน ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการดำรงชีวิต วัตถุประสงค์ของโครงการฯ สอดรับกับแนวทางจัดการศึกษา นโยบายด้านการบริหาร และแผนพัฒนาท้องถิ่น 1.2ด้านปัจจัยเบื้องต้น/ปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.68 และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น แยกตามกลุ่มของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการฯ ด้านปัจจัยเบื้องต้น/ปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.60 4.72 โดยเห็นว่า คณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมีการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอและทั่วถึง ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ดูแลโครงการ งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ 1.3ด้านกระบวนการ ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.64 และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น แยกตามกลุ่มของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ประสิทธิภาพของ การดำเนินโครงการฯ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.62 4.67 โดยเห็นว่า การดำเนินโครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา ชุมชนและท้องถิ่น มีการพัฒนารูปแบบและวิธีดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ มีการวางแผนดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินโครงการอย่างชัดเจน 1.4ด้านผลผลิต ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.81 และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น แยกตามกลุ่มของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ประสิทธิผลของการดำเนินโครงการฯ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.80 4.82 โดยเห็นว่าโครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋ ส่งผลให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้และพัฒนาอาชีพในชุมชน ชุมชนเข้มแข็ง เกิดการมีส่วนร่วมและการพัฒนาที่ยั่งยืน โรงเรียนบ้านป่าแป๋เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน ครูได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ และนักเรียนได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้และนำประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนและการดำรงชีวิต 2.แนวทางสำหรับการพัฒนาโครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋ ควรส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของชุมชน วิถีการดำเนินชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน มีการสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างเพียงพอและทั่วถึง ผลักดันให้โรงเรียนบ้านป่าแป๋เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนอย่างแท้จริง และควรเพิ่มการวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟดอยป่าแป๋ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่าย ให้เกิดวงจรของผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน มีคุณภาพเป็นที่ต้องการและมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับตลาดและผู้บริโภค สามารถจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้และการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ควรดำเนินโครงการโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง ให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งพัฒนาแบบองค์รวม พัฒนาคนและสังคม เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมการประกอบอาชีพของคนในชุมชน เกิดการรวมกลุ่มของชุมชน ชุมชนเข้มแข็ง เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดรับกับแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาของท้องถิ่น ที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
-
6493 รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋ /project/item/6493-2016-09-09-03-51-15-6493เพิ่มในรายการโปรด