ความป่วยจิตที่ทุกคนควรรู้
ความป่วยทางจิต มีผลต่อมนุษย์ทุกคน สำหรับในปัจจุบันถือเป็นความโชคดีที่เรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากสังคม และสามารถเปิดเผยเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นได้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของนักสุขภาพจิต แต่ถึงเช่นนั้นยังคงมีอีกหลายการศึกษาที่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงอีกมากมาย และนี่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความป่ายทางจิตที่ควรรู้
ภาพประกอบบทความเกี่ยวกับอาการความเศร้า
ที่มา https://pixabay.com , GDJ
ความวิตกกังวล เป็นความเจ็บป่วยทางจิตที่พบบ่อยที่สุด
โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) มีหลายรูปแบบ เช่น โรควิตกกังวลทั่วไป generalized anxiety disorder (GAD) โรควิตกกังวนต่อการเข้าสังคม Social Anxiety Disorder (SAD) โรควิตกกังวลเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) โรคตื่นตระหนก Panic Disorder (PD)
โรคย้ำคิดย้ำทำ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD) รวมไปถึงโรคโฟเบีย หรือโรคกลัว (Phobia) ทั้งนี้ มีการรายงานว่า ร้อยละ 18.1 ของวัยผู้ใหญ่ซึ่งผ่านประสบการณ์ความวิตกกังวลมาแล้วในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งข้างต้น ทำให้ความผิดปกติในด้านความวิตกกังวลเป็นโรคทางจิตที่พบมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดีภาวะซึมเศร้าเป็นอันดับรองลงมา และส่งผลกระทบในวัยผู้ใหญ่ถึงร้อยละ 6.9 ในทุกปี
ประมาณครึ่งหนึ่งของความผิดปกติทางจิตเกิดขึ้นก่อนอายุ 14 ปี
การพัฒนาสุขภาพจิตตั้งแต่ในวัยเด็กอาจเป็นสิ่งที่สมควรกระทำ เนื่องด้วยสุขภาพจิตของเยาวชนมีแนวโน้มที่แย่ลง หรืออย่างน้อยที่เห็นได้ชัดคือ ปัญหาสุขภาพจิต อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสพติดสมาร์ตโฟน ทั้งนี้ในกรณีของภาวะซึมเศร้า ข้อมูลจาก Mental Health America พบว่าร้อยละ 8.2 ของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงในปี 2558 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในปี 2555 หรือโดยรวมแล้วคิดว่าประมาณร้อยละ 20 ของเยาวชนทั่วโลกกำลังประสบปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง หรือกล่าวอีกนัยน์หนึ่งก็คือ ความเจ็บป่วยทางจิตสามารถโจมตีทุกคนได้ตลอดเวลา และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ผ่านปัจจัยเสี่ยงเฉพาะ เช่น ประวัติครอบครัว การบาดเจ็บ รวมทั้ง IQ สูง ยิ่งมีความคิดที่จะทำให้มีโอกาสมากขึ้น
ความเจ็บป่วยทางจิตไม่เพียงเจ็บป่วยในความคิด แต่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
แม้ว่าจะมีการดูแลรักษาสุขภาพจิตที่ช่วยแนะนำแนวทางในการจัดการชีวิต แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้จำได้ขึ้นใจ จากการศึกษาพบว่า ความเจ็บป่วยทางจิตสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้มากกว่าการสูบบุหรี่อย่างหนัก และความเจ็บป่วยทางจิตยังทำให้เหน็ดเหนื่อย และส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ดี การศึกษาก่อนหน้าหลายการศึกษายังเชื่อมโยงความป่วยทางจิตกับภาวะแทรกซ้อนทางกายภาพที่รุนแรง เช่น ความผิดปกติของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย
ความคิดผิดๆ ที่เชื่อว่า ความเจ็บป่วยทางจิตเป็นความผิดพลาด
การเผชิญกับสิ่งที่มนุษย์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยการสำรวจของโพล Kaiser Permanente พบว่า มากกว่าครึ่งของผู้ใหญ่เชื่อว่า ความเจ็บป่วยทางจิตเป็นส่วนหนึ่งที่อธิบายความอ่อนแอหรือความบกพร่องส่วนตัว อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ต่างมีปัจจัยที่ซับซ้อนที่มีบทบาทต่อสภาพจิตใจที่ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีในแง่ของความรุนแรงเป็นปริศนาด้วยความคิดที่ว่า คนที่มีอาการป่วยทางจิตอาจเป็นอันตรายและรุนแรง แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขามีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อมากกว่าผู้ที่กระทำความผิดร้ายแรง
ผู้หญิง มีแนวโน้มที่จะประสบกับอาการป่วยทางจิตมากกว่าผู้ชาย ในขณะที่ผู้ชายมีแนวโน้มฆ่าตัวตาย
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ ( British Medical Journal) พบว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มมากกว่าผู้ชายที่จะได้รับการวินิจฉัยว่า มีความเจ็บป่วยทางจิต โดยเฉพาะในช่วงวัยสาว (young women) อย่างไรก็ตาม การศึกษาอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย ทั้งนี้ในปัจจุบัน สาเหตุการฆ่าตัวตายของประชากรไทยอยู่อันดับที่ 28 โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 16 คนต่อประชากร 1 แสนคน แต่ก็นับเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในอาเซียนและจากการรายงานขององค์กรด้านสุขภาพจิต National Alliance on Mental Illness พบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายก็แสดงอาการป่วยทางจิต
การเจ็บป่วยทางจิตจึงเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่เราเองควรให้ความสำคัญทั้งกับตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งแนวทางที่ดีก็คือการป้องกันมากกว่าการแก้ไขนั่นเอง
แหล่งที่มา
Rosie McCall. (2019, March 19). Seven Facts About Mental Health That Everyone Needs To Know. Retrieved April 30,2019, From https://www.iflscience.com/health-and-medicine/seven-facts-about-mental-health-that-everyone-needs-to-know--2/
Mental Illness Associated With Shorter Lifespan More Than Heavy Smoking. Retrieved April 30,2019, From https://www.iflscience.com/health-and-medicine/mental-illness-associated-shorter-lifespan-more-heavy-smoking/
Character flaw. Retrieved April 30,2019, From https://en.wikipedia.org/wiki/Character_flaw
-
10123 ความป่วยจิตที่ทุกคนควรรู้ /article-biology/item/10123-2019-04-19-07-22-12เพิ่มในรายการโปรด