ชา ชา ชา
...เรื่อง ชา ชา ชา...
เภสัชกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุภชัย ติยวรนันท์
ในฉบับ 148 และ 149 คุณผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์นี้คงจะได้ทราบถึงบทบาทและประโยชน์ของชาที่มีต่อร่างกายไปหลายข้อเลยทีเดียว ในฉบับนี้เราจะกล่าวถึงบทบาทและฤทธิ์ของสารที่มีอยู่ในใบชา ต่อจากฉบับก่อนกัน มาดูซิว่าชายังมีประโยชน์ต่อร่างกายในเรื่องใดอีกบ้าง
ผลของชาต่อความดันโลหิต ผลต่อการลดระดับไขมันในเลือดและการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (Blood pressure and Lipid-depressing Activity and Prevention of Coronary Heart Diseases)
ในเรื่องความดันโลหิตสูงนั้น ในประเทศจีนได้มีการสั่งจ่ายชาให้ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงดื่มเพื่อลดความดันโลหิต และ บำบัดอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี ทั้งนี้ได้มีการสำรวจข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มน้ำชากับการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วย ณ มหาวิทยาลัยการแพทย์เจ๋อเจียงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่าในผู้ป่วย 964 คน มีผู้ป่วยที่ดื่มชาเป็นประจำ ร้อยละ 6.2 ในขณะที่ผู้ป่วยที่ไม่ดื่มชาจะมีคนที่เป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 10.5 นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาทางคลินิก โดยสถาบันวิจัยการแพทย์อานฮุยแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน การศึกษาพบว่า การดื่มชาเขียวทุกวัน วันละ 10 กรัม เป็นเวลา 6 เดือนจะสามารถลดความดันโลหิตได้ถึงร้อยละ 30 ของความดันโลหิตเริ่มต้น
ฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตของชานั้นเกี่ยวข้องกับสารหลายชนิดที่มีในใบชา และกลไกในการออกฤทธิ์ลดความดันโลหิตของใบชานั้น ได้มีผู้พยายามทำการศึกษา โดยในปีพ.ศ. 2530 ฮารา และคณะ ได้ทำการศึกษาผลการยับยั้ง Angiotensin converting enzyme ของสารสกัดจากใบชาพบว่ามีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ได้ดีมากจึงเป็นข้อมูลที่ยืนยันการศึกษาทางคลินิกได้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับผลดีของการดื่มน้ำชาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
สำหรับผลที่มีต่อโรคหลอดเลือดโคโรนารี พบว่าข้อมูลจากการสำรวจของมหาวิทยาลัยการแพทย์เจ๋อเจียงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระบุว่า ประชากรที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีนั้น ร้อยละ 5.7 เป็นกลุ่มคนที่ไม่ดื่มชา ส่วนในกลุ่มที่ ดื่มชามีเพียงร้อยละ 1.07 เท่านั้นที่เป็นโรคหลอดเลือดโคโรนารี ทั้งนี้ในอดีตการแพทย์แผนจีนได้มีตำรับยาที่ใช้ในการบำบัดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี คือ รากต้นชาสกัดด้วยเหล้าโรง กินแก้อาการของโรคดังกล่าวได้
โรคหลอดเลือดโคโรนารีนั้นมีสาเหตุใหญ่มาจากภาวะไขมันในเลือดสูง และความไม่สมดุลของไขมันในกระแสเลือด รวมถึงภาวะของการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดที่ผิดปรกติ ภาวะความไม่สมดุลของไขมันจะแสดงออกมาให้เห็นได้ด้วยลักษณะภายนอกที่เรียกว่า “อ้วน” ซึ่งจากการทดลองในหนูพบว่าสารคาเทชินในชาจะส่งผลดีคือ ไปลดปริมาณน้ำมันที่จะสะสมให้เกิดความอ้วนได้ และยังส่งผลต่อไขมันในกระแสเลือดชนิดที่ส่งผลเสียแก่ร่างกาย คือ LDL และ VLDL ซึ่งมีนักวิจัยหลายคณะที่ทำการศึกษาและมีผลการศึกษาไปแนวทางเดียวกันคือ การดื่มชาทำให้ระดับไขมันดังกล่าวลดลง ในปีพ.ศ. 2538 นากาชิ และคณะ ได้รายงานผลการศึกษาของพวกเขาในการสำรวจประชากรที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ที่อาศัยในเมืองไซตาม่า จำนวน 8553 คน โดยศึกษาถึงรูปแบบการดำรงชีวิต โดยกำหนดปัจจัยไว้ 90 แบบ ในนั้นมีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มชาอยู่ด้วย ผลปรากฏว่าพฤติกรรมการดื่มชามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อระดับไขมันในกระแสโลหิต โดยผลการศึกษาที่เกี่ยวกับชานั้น คณะนักวิจัยได้ทำการตัดผลของปัจจัยด้านอื่นๆ ออก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการทางสถิติ ผลการศึกษาดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ระดับ HDL, LDL and VLDL และ atherogenic index กับพฤติกรรมการดื่มชา |
||||
|
พฤติกรรมการดื่มชา (แก้ว/วัน) |
|||
|
<3 |
4-9 |
>10 |
p-value |
จำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษา |
376 |
651 |
303 |
|
คอเลสเตอรอลชนิดดี HDL cholesterol (% of total lipoproteins) |
|
|
|
|
|
36.4+0.4 |
36.5+0.3 |
37.4+0.4 |
0.02 |
|
36.4+0.3 |
36.4+0.3 |
37.4+0.4 |
0.02 |
คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี LDL, VLDL cholesterol (% of total lipoproteins) |
|
|
|
|
|
62.6+0.3 |
62.6+0.3 |
61.7+0.4 |
0.02 |
|
62.5+0.3 |
62.6+0.3 |
61.0+0.3 |
0.02 |
Atherogenic index |
|
|
|
|
|
1.19+0.02 |
1.20+0.01 |
1.16+0.02 |
0.07 |
|
1.20+0.02 |
1.20+0.01 |
1.16+0.02 |
0.02 |
* Adjusted for age, cigarette smoking, alcohol consumption and relative body weight เป็นการปรับค่าอายุ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และ น้ำหนักตัวสัมพันธ์ โดยอาศัยวิธีทางสถิติเพื่อลดความคลาดเคลื่อน |
จากตารางจะเห็นว่า การดื่มชาปริมาณมากขึ้น จะทำให้ปริมาณไขมันดีในเลือดมากขึ้นและปริมาณไขมันไม่ดีในเลือดลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือดลง โดยดูได้จากค่าดรรชนีการเกาะกลุ่มหรืออุดตันของไขมันในหลอดเลือดแดง (atherogenic index) ที่มีค่าลดลง
ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย (Germicidal activity)
ในทางเดินอาหารของมนุษย์มีแบคทีเรียจำนวนมากส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่ก่อประโยชน์ และบางชนิดก็ก่อโทษแก่ร่างกาย ถ้าเมื่อใดก็ตามที่จำนวนของแบคทีเรียที่ก่อโรคมีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารก็จะเกิดตามมาทันที ได้แก่ อาการท้องอืด เรอ ลมในท้อง ท้องเสีย รวมถึงปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์
ในตำรายา และตำราแพทย์จีนโบราณได้มีบันทึกการใช้ใบชาในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ รวมถึงใช้ในการฆ่าเชื้อบิด จึงเป็นที่มาแห่งการศึกษาวิจัยในยุคสมัยปัจจุบันเพื่อหาคำตอบของคุณสมบัติดังกล่าว พบว่า สารสกัดจากชาสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งกรัมบวก และกรัมลบ โดยเฉพาะที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วง และยังมีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียก่อโรคที่มาพร้อมอาหาร ได้แก่ Staphylococcus aureus, S. epidermidis, Vibrio cholea, V. fluvialis, V. minicus, V. parachaemolyticus, Bacillus cereus, Klebsiella aerogenes, Aeromonas hydrophila subsp. hydrophila, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli, Camphylobacter jejuni, Plesiomonas shigelloides, Salmonella enteritidis, S. typhimurium, Proteus milabilis, Clostridium botulinum เป็นต้น โดยฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของชาแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป เช่น ชาดำ และ ชาอูหลง จะมีฤทธิ์ฆ่า Staphylococcus aureus ที่สูงกว่าชาเขียว ในขณะที่ ชาเขียว จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Vibrio cholera สูงกว่าชาดำ และชาอูหลง
ฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันเบาหวาน
(Blood-Glucose Depressing Activity and Prevention of Diabetes)
ความสนใจที่จะใช้ชาในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2476 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอาทิตย์อุทัย การศึกษาพบว่าน้ำชาสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยสารเคมีที่มีบทบาทสำคัญคือสารคาเทชินชนิดต่างๆ ในปีพ.ศ. 2537 พบว่าการลดน้ำตาลในเลือดนั้นออกฤทธิ์ผ่านกลไกการยับยั้งเอนไซม์ย่อยน้ำตาลในทางเดินอาหารที่ชื่อว่า a-amylase และ sucrase โดยเฉพาะที่พบในลำไส้ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด จากการศึกษายังพบว่าสารสกัดคาเทชินที่แยกออกมาจากใบชา จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ได้ดีกว่าน้ำชาที่ได้จากชาอูหลง แต่น้ำชาที่ได้จากชาอูหลงสามารถยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ได้ดีกว่าสารสกัดคาเทชินจากใบชา แสดงให้เห็นว่าในน้ำชาอูหลงจะต้องมีองค์ประกอบอื่นใดนอกเหนือจากคาเทชินที่ส่งผลดีต่อการยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ด้วย ซึ่งต่อมาได้มีการศึกษาอีกมากมายจนได้ข้อสันนิษฐานว่าสารสำคัญที่ส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของน้ำชานั้นน่าจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง คาเทชิน (โดยเฉพาะ EGCG) ธีอาฟลาวิน (TFs โดยเฉพาะ TF digallate) ธีอารูบีจิน (TR) ไดเฟนิลเอมีน และ โพลีแซคคาไรด์
ฤทธิ์ต้านสารก่อมะเร็ง และ การป้องกันมะเร็ง
(Anticarcinogenic Activity and Prevention of Cancer)
ผลต้านมะเร็งของชาได้มีการเริ่มการศึกษามาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 เป็นต้นมา และพบว่าชาชนิดต่างๆ ส่งผลต้านมะเร็งได้อย่างน่าพอใจ โดยมีผลต่อมะเร็งต่างชนิดกัน ดังแสดงค่าในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ผลของชาต่อการยับยั้งมะเร็งชนิดต่างๆ |
||||
ชนิดมะเร็ง |
สัตว์ทดลอง |
สารทดสอบ |
สารก่อมะเร็งที่ใช้ |
ร้อยละการยับยั้งเซลมะเร็ง |
ผิวหนัง |
Mice |
GT polyphenol |
3-MC |
50 |
Mice |
GT polyphenol |
DMBA/TPA |
42-44 |
|
Rat |
Catechins |
Cancer cell |
24.5-46.3 |
|
Mice |
GT extracts |
Urethane |
41 |
|
Mice |
GT extracts |
NaNO2 |
45-61 |
|
Mice |
GT polyphenol |
TPA |
15-38 |
|
Mice |
Tea polyphenol |
UV-B |
20-41 |
|
Mice |
Tea polyphenol |
TPA |
23-82 |
|
Mice |
Tea polyphenol |
DMBA-TPA |
62-94 |
|
Mice |
EGCG |
TPA |
31-84 |
|
Mice |
GT polyphenol |
DMBA/TPA |
40 |
|
Mice |
GT polyphenol |
PAH |
42-44 |
|
Mice |
GT polyphenol |
TPA |
38 |
|
Mice |
BT,GT, Decaffeinated GT & BT |
UVB-DBA |
70-77 |
|
|
Mice |
EGCG |
Teleocidin |
95 |
มะเร็งกระเพาะอหาร |
Mice |
OT |
MNNG |
84.7 |
Mice |
Tea polyphenol |
DENA, B&P |
71-80 |
|
มะเร็งปอดและทางเดินอาหารส่วนต้น |
Mice |
GT water extract |
DENA |
55-70 |
Mice |
GT polyphenol |
Nitrosodiethylamine, B&P |
25-85 |
|
Mice |
GT |
DENA |
60-63 |
|
มะเร็งปอด |
Mice |
OT,JT,GT |
DENA |
18.8-48.2 |
Mice |
OT,JT extract |
DENA |
55 |
|
Mice |
GT,BT extract |
NNK |
67-85 |
|
Mice |
GT polyphenol |
Nitrosoamine |
30-45 |
|
Mice |
GT,BT |
NNK |
54 |
|
Mice |
GT polyphenol |
DENA , B&P |
39-41 |
|
มะเร็งทางเดินอาหารและกระเพาะอาหาร |
Mice |
GT |
NMBzA |
58.9 |
Rat |
2%tea infusion |
NMBzA |
26-53 |
|
มะเร็งทางเดินอาหาร |
Rat |
GT,BT |
NMBzA |
80-95 |
Rat |
GT water extract |
NMBzA |
40-60 |
|
มะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) |
Mice |
GT extract |
DENA |
63-75 |
มะเร็งลำไส้เล็ก |
Rat |
GT extract |
DENA, NNK |
87 |
มะเร็งลำไส้ใหญ่ |
Rat |
GT extract |
AOM |
53-60 |
มะเร็งตับ |
Rat |
GT |
AFB1 |
28.2-62.5 |
Rat |
GT |
AFB1 |
43 |
|
Rat |
GT |
NDEA |
30-40 |
|
Rat |
GT extract |
AFB1 |
48.6-77.6 |
|
GT=green tea, OT= oolong tea, BT=black tea, JT=Jasmine tea (ชาผสมดอกมะลิ), extract=สารสกัด AFB1=aflatoxin, B&P= Benzopyrene, DBA= dibenzanthracene, DENA= diethylnitrosamine, DMBA= dimethyl benzanthracene, 3-MC= methylcholanthrene, MNNG= N-methyl-N’-nitrosoguanidine, PAH= Polycyclic aromatic hydrocarbon, TPA= 12-O-tetradecanoyl-phorbol-13-acetate, UV-B= Ultraviolet light-B |
บทสรุป
จากรายงานการศึกษาต่างๆ ที่ผ่านมาพอจะสรุปได้ว่าเครื่องดื่มที่ได้จากใบชาทั้งสามชนิดล้วนแล้วแต่มีจุดเด่น และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เด่นต่างกัน ได้แก่ ชาอูหลง จะมีฤทธิ์ด้านการต้านออกซิเดชั่นมากที่สุด เมื่อเทียบกับชาชนิดอื่นๆ ส่วนชาดำ จะมีฤทธิ์ดับกลิ่นที่ดีกว่าชาชนิดอื่น ในขณะที่ชาเขียวจะมีฤทธิ์เด่นด้านการลดความดันและไขมันในเลือด ในภาพรวมแล้วการดื่มชาในปริมาณที่พอเหมาะและถูกวิธีจึงเป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวม
ในปัจจุบันกระแสความนิยมชาเขียวกำลังพุ่งสูง มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่มีชาเขียวมาเป็นตัวชูผลิตภัณฑ์ให้เด่น แต่ผลที่จะมีต่อร่างกายนั้นต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากการวิจัยประกอบ แต่กระนั้นก็ตาม ข้อมูลการวิจัยส่วนใหญ่ยังเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในสัตว์ทดลอง ยังคงขาดข้อมูลการวิจัยทางคลินิกอีกมากที่จะเป็นตัวยืนยันผลที่จะมีต่อมนุษย์จริงๆ แต่สำหรับสรรพคุณบางอย่าง เช่น การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และส่งผลดีต่อคนที่ท้องเสียจากบิดโดยทำให้อาการถ่ายท้องและปวดบิดลดลงซึ่งเคยมีการใช้มาแต่บรรพกาล ก็สามารถยืนยันสรรพคุณได้โดยอัตโนมัติ แม้ไม่ได้มีการทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยในปัจจุบัน
ภาพโดย: http://learners.in.th/blog/m-m-a-y/200199
-
1327 ชา ชา ชา /article-biology/item/1327-tea523เพิ่มในรายการโปรด