สัตว์หน้าดิน
สัตว์หน้าดิน
นางสาววิลาส รัตนานุกูล
สัตว์หน้าดินเป็นสัตว์ที่อาศัยและหากินตามพื้นผิวหน้าดิน หรือดำรงชีวิตอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ และรวมถึง สัตว์กลุ่มที่เกาะหรืออาศัยอยู่ตามกองหิน โขดหิน ขอนไม้ในน้ำ หรือแม้แต่พืชน้ำที่พบได้ในระบบนิเวศแหล่งน้ำ สัตว์หน้าดินบางชนิดมีช่วงชีวิตทั้งหมดอยู่ในน้ำ เช่น ไส้เดือนน้ำ บางชนิดเจริญเติบโตอยู่ในน้ำเพียงบางช่วง อายุ เช่น ตัวอ่อนแมลงปอ ตัวอ่อนแมลงปอเข็ม ตัวอ่อนแมลงชีปะขาว หนอนแมลงวันแมงมุม เป็นต้น สัตว์หน้าดินบางชนิดมีการใช้วัสดุต่าง ๆ สร้างเกราะปกป้องตัวอ่อน เช่น ปลอก (cases) ท่อ (tubes) หรือรัง (nets) เช่น ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ ในขณะที่บางชนิดจะฝังตัวอย่างอิสระในตะกอนดิน เช่น ไส้เดือน ปลอกแดง สัตว์หน้าดินเป็นผู้บริโภคอันดับแรก ๆ ของโซ่อาหารและเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำขนาด ใหญ่อื่น ๆ เนื่องจากพวกมันให้คุณค่าทางโภชนาการสูงทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งสัตว์หน้าดิน บางชนิด เช่น หนอนริ้นน้ำจืดแดงมีส่วนช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ โดยเป็นผู้บริโภคเศษซากพืชซากสัตว์ ในแหล่งน้ำเป็นอาหาร
สัตว์หน้าดินเป็นดัชนีตัวชี้วัดคุณภาพน้ำทางด้านชีวภาพ (Biological indicators) ได้เนื่องจากมีวงจร ชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำ ทำให้สามารถติดตามตรวจวัดคุรภาพน้ำจากสัตว์หน้าดินได้อย่างต่อเนื่อง สัตว์หน้าดินแต่ละ ชนิดมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้แตกต่างกัน บางชนิดต้องอาศัยอยู่ในน้ำสะอาด ใน ขณะที่บางชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำที่เน่าเสียมากๆ ซึ่งความหลากหลายของชนิดและปริมาณของ สัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันนี้สามารถเป็นตัวดัชนีบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของ แหล่งน้ำและคุณภาพน้ำได้ หากแหล่งน้ำใดมีชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินมากย่อมมีผลผลิตสัตว์น้ำสูง พบว่า ประเทศในเขตร้อนจะมีชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินที่สูงกว่าประเทศในเขตอบอุ่น เนื่องจากมีอุณหภูมิที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์หน้าดินได้ตลอดทั้งปี
แต่การนำสัตว์หน้าดินมาเป็นดัชนีวัดคุณภาพน้ำก็มีข้อจำกัด คือ สัตว์หน้าดินไม่สามารถตอบสนองต่อ สภาพมลพิษได้ทุกชนิด เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วสัตว์หน้าดินจะไวต่อการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ นอกจากนี้ชนิด การแพร่กระจายและความชุกชุมของสัตว์หน้าดิน ในแหล่งน้ำ ต่าง ๆ นั้นมิได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม อื่น ๆ เช่น ลักษระของแหล่งที่อยู่อาศํยของสัตว์หน้าดินแต่ละชนิด ความเร็วและความแรงของกระแสน้ำ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ระดับความลึกของแหล่งน้ำ เป็นต้น ตัวอย่างสัตว์หน้าดินที่สามารถพนำมาใช้เป็น ดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำทางด้านชีวภาพ เช่น ตัวออนชีปะขาวหัวเหลี่ยม ซึ่งสามารถพบได้ในอหล่งน้ำที่มีความ สะอาดสูงมากและมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำสูง จะสังเกตได้ว่าในแหล่งน้ำมีความสะอาด จะพบว่ามี สัตว์หน้าดินจำพวกตัวอ่อน แมลงชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่ เช่น ตัวอ่อนชีปะขาวตัวแบน ตัวอ่อนชีปะขาวว่ายน้ำ ตัวอ่อนชีปะขาวเหงือกกระโปรง ตัวอ่อนชีปะขาวขุดรู ตัวอ่อนชีปะขาวเหงือกบนหลัง ส่วนใน แหล่งน้ำที่มี ปริมาณออกซิเจนน้อย น้ำเน่าเสียหรือมีความสกปรกก็จะพบสัตว์หน้าดินชนิดอื่น ๆ เช่น หนอนริ้นน้ำจืดแดง เป็นต้น
ตัวอย่างสัตว์หน้าดิน
ตัวอ่อนชีปะขาวหัวเหลี่ยม
|
ตัวอ่อนชี ปะขาวตัวแบน |
ตัวอ่อนชีปะขาวเหงือกบนหลัง |
ตัวอ่อนชีปะขาวเหงือกกระโปรง
|
ตัวอ่อนชีปะขาวว่ายน้ำ
|
ตัวอ่อนชีปะขาวขุดรู
|
ตัวอ่อนชีปะขาวเหงือกขนนก |
ตัวอ่อนชีปะเหงือกแฉก
|
ตัวอ่อนแมลงปอหางโป่ง |
หนอนริ้นน้ำจืดแดง
|
หนอนแมลงวันแมงมุม |
ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำซิโก้ก้ |
ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ |
ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ |
ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ |
|
เอกสารอ้างอิง
อุทัยวรรณ โกวิทวที และ สาธิต โกวิทวที. 2547. การเก็บรักษาตัวอย่างพืชและสัตว์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร.
http://www.seanet.com/~leska/Online/Guide.html
http://www.dnr.state.md.us/naturalresource/winter2004/streamwaders.html
http://www.dnr.state.md.us/bay/cblife/insects/index.html
-
305 สัตว์หน้าดิน /article-biology/item/305-animalเพิ่มในรายการโปรด