ฝึกหมาให้ตรวจหามะเร็ง
พงษ์ ทรงพุฒิ
พฤติกรรม ของสุนัขที่เราพบได้บ่อยๆ ก็เห็นจะเป็นเรื่องการดมกลิ่นฉี่ (ยูรีน) ของสุนัขตัวอื่นและมีการฉี่ทับเพื่อแสดงอาณาเขตของตนเอง และจากพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดในเรื่องนี้นี่เอง ที่ทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์และทีมคนฝึกสุนัขหันมาจับมือเพื่อทำงานสำคัญร่วมกัน โดยหันมาฝึกให้สุนัข "ดมกลิ่นฉี่ของมนุษย์" เพื่อตรวจหาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คิดได้ไงเนี่ย??? [@_?]
จริงๆ ถ้าจะพูดให้ดูเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นหน่อยก็คือสุนัขมีจมูกที่ไวต่อสารเคมี ต่างๆ มากๆ ทีมวิจัยเลยนำเอาข้อได้เปรียบในเรื่องนี้มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัย โดยทีมวิจัยมีความหวังว่าการวิเคราะห์และจำแนกกลิ่นของสารเคมีต่างๆ ที่ได้ในเบื้องต้นนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการตรวจหามะเร็งกระเพาะปัสสาวะในแบบที่ปลอดภัย สำหรับการตรวจหาเบื้องต้นต่อไปในอนาคต
“มี เรื่องเล่าจากผู้ป่วยที่เลี้ยงสุนัขไว้มากมายเลยทีเดียว ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้ามาดมกลิ่นของสุนัข มันจะเข้ามาดมในบริเวณที่กำลังจะเกิดเนื้อร้ายหรือมะเร็งที่ตัวเจ้าของ พอได้ยินเรื่องนี้ฉันเองก็รู้สึกสงสัยขึ้นมาเลยทีเดียว และคิดว่าน่าจะลองออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ดูว่ามันจะจริงแค่ไหน กันเชียว” Carolyn Willis หัวหน้าทีมวิจัยจากโรงพยาบาล Amersham Hospital จาก UK กล่าว
แล้ว มันก็ดูไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่นัก ถ้าเกิดเราจะนำเอาสุนัขมาฝึกให้ตรวจหามะเร็งผิวหนังโดยใช้วิธีการตัดเนื้อ ร้ายออกมา แล้วเอามาให้สุนัขดม เลยทำให้คุณ Carolyn Willis และทีมวิจัยต้องพยายามเลือกหาชนิดของมะเร็งที่สุนัขน่าจะตรวจพบได้ง่ายที่ สุด สำหรับการออกแบบการทดลองในครั้งแรก ว่าแล้ว...ก็เลยเลือกใช้มะเร็งกระเพาะปัสสาวะก่อน เพราะง่ายที่สุดและใช้แค่ตัวอย่างฉี่แทนการใช้วิธีการตัดเนื้อเยื่อที่เป็น มะเร็งออกมาให้สุนัขดม ทีมวิจัยได้ใช้ตัวอย่างฉี่จากคนไข้ที่เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 36 คน และตัวอย่างฉี่คนที่ไม่เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะอีก 108 ตัวอย่าง
และ ก็ใช้สุนัข 6 ตัว ที่มีอายุและสายพันธุ์ต่างกัน และได้รับการฝึกหลักสูตรการตรวจมะเร็งมาแล้วเป็นระยะเวลา 7 เดือน จากครูฝึกที่ศูนย์การฝึกสุนัขสำหรับคนหูหนวก (Hearing Dogs for the Deaf) (ข้อเน้นว่า... ต้องผ่านการฝึกก่อนนะ ไม่งั้นก็ถ้าเอาฉี่มาให้สุนัขดม มันก็อาจจะฉี่ทับ ใส่ตัวอย่างฉี่ที่ดมก็ได้ :D ใครจะไปรู้)
เลือด และ โปรตีน
“เรา ต้องการที่จะให้ผลมันชัดเจนจริงๆ ว่าสิ่งที่สุนัขดมนั้นมันคือมะเร็ง ไม่ใช่เป็นอย่างอื่น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาว่าฉี่ของคนที่นำมาใช้จะมีโรคอื่นๆ ปนมา ดังนั้นเราจะควบคุมตัวอย่างที่นำมาใช้ด้วยการตรวจเลือด ตรวจระดับโปรตีน ตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาว และตรวจหาลักษณะที่ผิดปกติอื่นๆ แล้วก็ใช้ฉี่จากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเลย” คุณ Carolyn Willis เล่าให้ฟัง
และ ท้ายที่สุด เราก็จะนำสุนัขมาทำการทดสอบในขั้นสุดยอด โดยจะทำการทดสอบซ้ำ 9 ครั้ง โดยแต่ละครั้งก็จะให้สุนัขดมตัวอย่างฉี่ ที่นำมาเรียงเป็นแถวเอาไว้ โดยมี 7 แบบ ที่แตกต่างกัน (ไม่ซ้ำกันเลยทั้ง 9 ครั้ง) จากนั้นถ้าตัวอย่างไหนเป็นตัวอย่างของคนที่เป็นมะเร็ง เมื่อสุนัขตรวจพบ ก็จะถูกฝึกให้นั่งอยู่หน้าตัวอย่างนั้น ผลการศึกษาพบว่า จากตัวอย่างทั้งหมดที่ทำ มีตัวอย่างฉี่ของผู้ป่วยมะเร็งปะปนอยู่ด้วยทั้งหมด 54 ตัวอย่าง สุนัขสามารถตรวจได้ถูกต้อง 22 ตัวอย่าง คิดเป็น 41% เลยทีเดียว ซึ่งแต่แรกคาดการณ์ไว้ว่าน่าจะตรวจได้เพียง 14%
นัก วิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่า “สุนัขมีความสามารถในการดมกลิ่นซึ่งในกรณีนี้ จะเกี่ยวข้องกับกลิ่นของสารเคมีที่สร้างขึ้นโดยเซลล์มะเร็ง และกลุ่มของสารอินทรีย์ที่มีกลิ่นดังกล่าว ก็น่าจะรวมไปถึงสารในกลุ่มที่เรียกว่าอัลเคนและอัลคีน (Alkanes and Alkenes – เป็นชื่อเรียกประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน – สารที่มีธาตุไฮโดรเจรและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ อ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม เคมี เล่ม 5 หน้า 25-45 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2548 ของ สสวท.)
“ใน ขณะนี้ แม้ค่าทางสถิติจากผลการทดลองจะแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ของการตรวจหามะเร็งก็ตาม แต่ถ้าจะมองถึงเรื่องของความแม่นยำของสุนัขในการตรวจหามะเร็ง ก็ถือว่ายังห่างไกลความเป็นจริง ถ้าจะนำมาใช้” คุณ Carolyn Willis บอกให้ New Scientist ฟัง “แต่ ถ้าเราสามารถค้นหารูปแบบของสารเคมีต่างๆ ที่สุนัขตรวจพบ และดมกลิ่นได้ละก็ เราก็จะสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดไปสู่วิธีการตรวจหามะเร็งจากกระเพาะปัสสาวะได้ อย่างแน่นอน”
มีสิ่งที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง (สำคัญและน่าแปลกใจเลยทีเดียว) ขณะที่ทำการทดลอง มีตัวอย่างควบคุม (Control group) อยู่ 1 ตัวอย่างที่สุนัขมักจะเลือกอยู่เสมอและพยายามจะบอกเราว่า นี่เป็นมะเร็งนะ ตัวอย่างฉี่นี้เราได้มาจากผู้บริจาคที่ทดสอบแล้วว่าไม่เป็นมะเร็งกระเพาะ ปัสสาวะ หลังจากการทดลองแล้ว เราเลยทำการตรวจสอบฉี่ของคนคนนั้นอีกครั้ง ผลปรากฏว่าผู้บริจาคฉี่รายนั้นมีเนื้องอกอยู่ที่ไต (a kidney tumor) สิ่งนี่เองที่ทำให้เราแปลกใจและประทับใจมาก ว่าสุนัขมันรู้ได้อย่างไร
มะเร็ง กระเพาะปัสสาวะ มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า โรคนี้สามารถตรวจหาได้โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า “Cystoscopy” – เป็นการตรวจโดยการสอดสายเล็กๆ (fiber optic) ที่มีกล้องที่มีขนาดเล็กติดอยู่ มีไฟติดที่ปลายกล้องด้วย เพื่อตรวจหาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติภายในกระเพาะปัสสาวะ และถ้าตรวจพบเนื้อเยื่อต้องสงสัย แพทย์ก็จะใช้มีดเล็กๆ ที่ติดอยู่ที่ปลายกล้องตัดเอาเนื้อเยื่อนั้นๆ มาตรวจสอบอีกครั้งในห้องทดลอง
ดูภาพประกอบเรื่องการตรวจที่เรียกว่า Cystoscopy ได้จากเว็บ WebMD (พร้อมภาพประกอบ) http://www.webmd.com/hw/blood_disorders/hw210556.asp
เห็น อย่างนี้แล้วก็อยากจะเอาเจ้าตูบ ที่นั่งๆ นอนๆ ทำหน้าแป้นแล้น ที่เลี้ยงอยู่ที่บ้าน จับเอาไปฝึกให้มาตรวจหามะเร็งบ้างซะแล้วสิ....
แปลและเรียบเรียงจาก
1. Dogs trained to sniff out bladder cancer – NewScientist.com news service. 24 Sep 2004.
(Online). Available: http://www.newscientist.com/article.ns?id=dn6440
(Retrieved 23/08/06).
ภาพประกอบ
Pictures - by !-- var prefix = 'ma' + 'il' + 'to'; var path = 'hr' + 'ef' + '='; var addy31418 = 'spong' + '@'; addy31418 = addy31418 + 'ipst' + '.' + 'ac' + '.' + 'th'; var addy_text31418 = 'spong' + '@' + 'ipst' + '.' + 'ac' + '.' + 'th'; document.write( '' ); document.write( addy_text31418 ); document.write( '' ); //-->\n // -->
-
308 ฝึกหมาให้ตรวจหามะเร็ง /article-biology/item/308-dogเพิ่มในรายการโปรด