การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกและมะเร็งเนื้อรก
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกและมะเร็งเนื้อรก (Gestational trophoblastic disease)
นายแพทย์อยู่ยง อนันตโชค
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกและมะเร็งเนื้อรก (Gestational trophoblastic disease) เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของ trophoblastic cell ที่ outer cell mass ในระยะ preimplantation ของเอ็มบริโอ ลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่าจะพบ mole เป็นเม็ดใสคล้ายเม็ดสาคูรวมตัวคล้ายพวงองุ่นเต็มโพรงมดลูก แบ่งได้เป็น hydatidiform mole, invasive mole, placental-site trophoblastic tonor และ gestational choriocarcinoma ตาม pathology
ในที่นี้จะขอกล่าวถึง Hydatidiform mole, Invasive mole และ gestaticnal carcinoma
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy)
เป็นภาวะแทรกซ้อนในระยะครรภ์ 3 เดือนแรกที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจ ฐานะยากจน และการตั้งครรภ์เมื่อแม่มีอายุมาก ลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่าจะพบ mole เป็นเม็ดใสคล้ายเม็ดสาคูรวมตัวคล้ายพวงองุ่นเต็มโพรงมดลูก แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. Complete mole คือ มีแต่เนื้อเยื่อของรก ซึ่งเป็นเม็ด mole กระจายเต็มหมด โดยไม่พบเนื้อเยื่อของทารก ซึ่งมีโอกาสจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งชนิด trophoblastic ได้
2. Incomplete mole คือ มีเนื้อรกที่ผิดปกติร่วมกับเนื้อรกปกติ และเนื้อเยื่อของทารกร่วมด้วย ซึ่งทารกที่เกิดร่วมกับ mole นี้จะมีความพิการมากและมักจะไม่มีชีวิตรอด
ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการขาดประจำเดือนเหมือนการตั้งครรภ์ปกติ และมักมีอาการขนาดมดลูกไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ เลือดออกผิดปกติหรืออาจมีเม็ด mole หลุดออกมาทางช่องคลอด มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก เป็นต้น ร่วมกับมีระดับ hCG ในเลือดสูงผิดปกติ
การรักษา
ทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงและรักษาภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดร่วม ซึ่งภาวะที่สำคัญ คือ การเกิดมะเร็งเนื้อรกหลังจากการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก ซึ่งจะต้องตัดตามการรักษากับแพทย์สูติ-นรีเวชอย่างต่อเนื่อง
มะเร็งเนื้อรก ที่ควรรู้จัก คือ
2.1 Invasive mole เกิดขึ้นตามหลังการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก มีการกระจายของเนื้อเยื่อไปนอกตำแหน่งของที่รกเกาะ เช่น กล้ามเนื้อมดลูก หรือเข้าสู่กระแสเลือดแล้วกระจายไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่าง หรือปอด
2.2 Gestational carcinoma เกิดตามหลังการคลอดหรือการแท้ง จะมีเซลล์ของมะเร็งเข้าสู่ กระแสเลือดแล้วแพร่กระจายไปส่วนอื่น ๆ ได้ เช่น ปอด ช่องคลอด ตับ หรือสมอง เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกันแล้วแต่ตำแหน่งของมะเร็งที่กระจายไป
การรักษา
จะต้องแบ่งระยะของโรค และให้เคมีบำบัดอาจร่วมกับการผ่าตัดรักษา
เอกสารอ้างอิง
1. ตำรานรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
2. เวชศาสตร์ฉุกเฉิน วิทยาศาสตร์แพทย์ศาสตร์พระมงกุฏเกล้า
เว็บไซต์สำหรับศึกษาเพิ่มเติม (search by spong@)
1. http://medlib.med.utah.edu/WebPath/PLACHTML/PLAC063.html
Placental Pathology คำอธิบายพร้อมภาพประกอบ
2. http://www.cytology.com/gyncd/html/ut.htm
UTERINE PATHOLOGY - โรคต่างๆ ที่เกิดในมดลูก คำอธิบายและมี link ไปยังภาพประกอบ
3. http://www.thedoctorsdoctor.com/diseases/gestationaltrophoblasticdisease.htm
Gestational Trophoblastic Disease - พร้อม internet link
-
328 การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกและมะเร็งเนื้อรก /article-biology/item/328-gestationalเพิ่มในรายการโปรด