ฟันแท้ที่งอกใหม่ได้
มีหลายเหตุผลที่สนับสนุนถึงความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงฟัน สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำหลายชนิดสามารถสร้างฟันใหม่ขึ้นมาได้เองเรื่อย ๆ ฉลาม บางสายพันธุ์สามารถสร้างฟันชุดใหม่ขึ้นมาได้ถึง 2-3 พันซี่ในช่วงชีวิตของมัน แม้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะสูญเสียความสามารถนี้ไป แต่ยังมีโรคที่ผ่านการ สืบทอดทางพันธุกรรมบางอย่างที่ทำให้บางคนมีฟันพิเศษงอกเพิ่มขึ้นมาจาก จำนวนปกติ และการที่กระดูกซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับฟัน สามารถถูกสร้างขึ้นมาใหม่และสมานได้เองหลังจากแตกหัก
เหตุใดฟันถึงไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ในทำนองเดียวกันกับกระดูก?
จากองค์ประกอบของฟัน จะเห็นว่าฟันประกอบขึ้นด้วยเนื้อเยื่อต่าง ๆ กันหลายชนิด รวมทั้งเดนทีนและ ชั้นบางๆ ของอีนาเมลซึ่งเป็นสารที่แข็งที่สุดในร่างกาย กระบวนการสร้างฟัน ถูกกำหนดโดยการรับส่งสัญญาณระหว่างเซลล์เยื่อบุผิว (epithelial) ของเหงือกและ เซลล์มีเซนไคมัล (mesenchymal cells) ที่อยู่ข้างใต้
มีเซนไคมัลเซลล์ จะให้ โอดอนโทบลาสท์ (odontoblasts) ซึ่งเป็นเซลล์ที่สร้างเดนทีน (dentine-producing cells) ส่วนเซลล์เยื่อบุผิวจะกลายเป็นอะมีโลบลาสท์ (ameloblasts) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ สร้างอีนาเมล (enamel-producing cells) ข้างในฟันจะมีโพรงเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของ ประสาทฟัน (pulp chamber) ซึ่งมีเส้นประสาทและเส้นเลือดจากเหงือกมาหล่อเลี้ยง ส่วนของรากฟันจะถูกยึดอย่างแข็งแรงด้วยชั้นบาง ๆ ของสารคล้ายกระดูก ที่เรียกว่าซีเมนตัม (cementum) และเส้นใยขนาดเล็กจำนวนนับพันที่เรียกว่า periodontal ligament ซึ่งจะทำการยึดฟันให้ติดกับกราม
การเจริญของเนื้อเยื่อ เหล่านี้เป็นไปอย่างมีแบบแผน สอดคล้องและประสานกันตามลำดับสัญญาณ เคมีที่ซับซ้อน ซึ่งถ้าฟันงอกขึ้นมาใหม่จะต้องมีการทำเลียนแบบสัญญาณเหล่านี้ จะเห็นว่าการสร้างฟันให้สำเร็จได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการที่ละเอียด และซับซ้อน ถึงแม้จะมีความเป็นไปได้แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะเพาะเลี้ยงฟันมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อมีการพบ stem cells ในฟัน stem cells เป็นเซลล์ที่สามารถพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้หลายชนิด ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกคิดว่ามีอยู่เฉพาะในตัวอ่อนเท่านั้น ที่จริงแล้ว stem cells ยังคงพบอยู่ได้ในเนื้อเยื่อหลายชนิดแม้จะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ซึ่งถ้าเพียงแต่รู้ วิธีการแยกออกมา และจัดการเพื่อเปลี่ยนเซลล์นี้ไปเป็นเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ตาม ต้องการ เราก็จะสามารถสร้างอวัยวะต่าง ๆ ได้
การใส่ฟันปลอมก็ไม่สะดวกสบาย หรือแม้แต่การใช้รากฟันเทียมไทเทเนียม ซึ่งเป็น งานศัลยกรรมที่ใช้ฝีมือ ก็ยังไม่สามารถทดแทนได้เทียบเท่ากับฟันจริง การทำวิศวกรรมเนื้อเยื่อเพื่อเพาะเลี้ยงฟันขึ้นมา จึงเป็นอีกหนทางที่จะได้ฟันใหม่ งอกขึ้นมาทดแทนฟันที่หลุดไป จากการที่ฟันไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญในการ ดำรง ชีวิตเหมือนพวกตับหรือหัวใจ ดังนั้นถ้าฟันที่เพาะเลี้ยงไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ หมอฟันก็สามารถเอาออกและทำการปลูกถ่ายใหม่ได้ทันที ไม่มีอันตรายเหมือน การปลูกถ่ายตับที่ประสบความล้มเหลว
นอกจากนี้การปลูกถ่ายยังเป็นศัลยกรรม ที่ไม่ซับซ้อน เพียงผ่าเปิดไปยังบริเวณที่จะปลูกฟันเท่านั้น อีกประการ ที่เป็น เหตุผลในการดึงดูดให้เกิดงานวิจัยทางด้านนี้คือ ความรักสวยรักงามที่เป็น ธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งทำให้แน่ใจได้ว่าจะมีแหล่งเงินทุนจากบริษัทใหญ่ ๆ ให้การสนับสนุนงานวิจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้ในอีก 10 ปีข้างหน้า หมอฟันจะสามารถทำการปลูกให้ฟันงอกขึ้นมาในตำแหน่งที่ต้องการได้ โดยใช้เพียงเซลล์ของคนไข้ที่ผ่านการทำวิศวกรรมเนื้อเยื่อมาแล้ว
ความก้าวหน้าของงานวิจัยด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue engineering) อย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาสร้างความเป็นไปได้ ที่จะเพาะเลี้ยงอวัยวะขึ้นมาจากเซลล์ เพื่อมาทดแทนส่วนที่สึกหรอหรือล้มเหลวในการทำงาน หากจะกล่าวถึงงานวิจัยทางด้านนี้ ทุกคนคงจะนึกถึงงานที่เกี่ยวข้องกับตับ ไต หรือหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต และฟันคงเป็นอันดับสุดท้ายที่จะนึกถึง อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มนักวิจัยที่ให้ความสนใจ และกำลังพัฒนางานวิศวกรรมเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับทางทันตกรรม เป็นที่ทราบกัน อยู่แล้วว่าตราบจนทุกวันนี้ ยังไม่มีวิธีการใดที่จะรักษาฟันผุได้อย่างแท้จริง ฟันที่ผุต้องถูกถอนออกแล้วแทนที่ด้วยวัสดุอื่น ซึ่งทางเลือก ที่มีอยู่ก็ยังไม่ดีพอ
-
3298 ฟันแท้ที่งอกใหม่ได้ /article-biology/item/3298-2013-01-22-07-25-40เพิ่มในรายการโปรด