พืชกินพืช...ตอน 1
พืชกินพืช ตอน 1
สุนทร ตรีนันทวัน
เราทราบกันแล้วนะครับว่า การปลูกพืชตาง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พวกไม้ยืนต้นที่มีอายุนาน ๆ หลายปี ไม้ผลต่าง ๆ เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ มะพร้าว ต้นสัก หรือพืชล้มลุก พืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นพวก แตงโม แตงกวา ผักบุ้ง ผักกาด ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ต้นหอม ผักชี กะหล่ำปลี ฟักทอง มะเขือเทศ กระเพรา โหระพา สะระแหน่ พริก หรือไม้ดอกต่าง ๆ และอีกหลาย ๆ อย่าง ซึ่งการปลูกจะต้องมีการเตรียมดิน เตรียมร่อง ขุดหลุม เรียกได้ว่าต้องปลูกในดินนั่นเอง
วันนี้ผมมีเรื่องมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการปลูกพืชที่ไม่ต้องใช้ดิน ซึ่งคนละอย่างกับการปลูกพืชที่เรียกว่า ไฮโดรโพนิค (Hydroponic) คือผมได้ไปเห็นไปศึกษาการปลูกพืชในพืช หรือโครงการ พืชกินพืช ที่สถาบันราชภัฏอุดรธานี หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในปัจจุบันนี้นั้นเองครับ โครงการนี้ไม่ได้ปลูกพืชลงไปในดินครับ
สนใจนะครับ พืชกินพืช ซึ่งโครงการนี้ได้เริ่มต้นด้วยการศึกษาค้นคว้า วิจัยเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและหลีกเลี่ยงสภาพดินมีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทราย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นการนำวัสดุเหลือใช้หรือพวกวัชพืชบางอย่าง เช่น ผักตบชวา เพื่อใช้เป็นตัวกลางในการเพาะปลูก โดยเฉพาะพืชล้มลุก อายุเก็บเกี่ยวสั้น นับว่าเป็นการแก้ปัญหาและสร้างประโยชน์ได้ในเวลาเดียวกัน การปรับสภาพแวดล้อมของตัวกลางที่ใช้สำหรับเพาะปลูกคือผักตบชวา ให้มีความเหมาะสมแก่การเจริญเติบโต มีอุณหภูมิพอเหมาะ การระบายอากาศที่ดีและสามารถอุ้มน้ำและปุ๋ยได้ดี ซึ่งมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว ประหยัดเวลา ประหยัดปุ๋ยและพืชสามารถดูดซับไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่
ชพืชที่ใช้ เช่น พวกผักตบชวา ต้นกล้วย ต้นมะละกอ ซังข้าวโพด ฟางข้าว ใบไม้ จอก แหน เป็นต้น หรือ วัชพืชที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
ก่อนที่ผมจะพูดถึงขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการ พืชกินพืช ว่าจะต้องทำอย่างไรนั้น ผมจะบอกถึงผลผลิตที่ได้จากการปลูกมะเขือเทศที่ปลูกบนผักตบชวานะครับ จากต้นมะเขือเทศ 150 ต้น ใช้เวลาปลูก (อายุการเก็บเกี่ยวคือประมาณ 4 เดือนครึ่ง) สามารถเก็บผลมะเขือเทศได้ถึง 10,000 ลูกเศษ ผลมะเขือเทศเนื้อแน่น สมบูรณ์รสชาติดี และสิ่งที่สำคัญคือ ต้นมะเขือเทศที่เก็บผลหมดแล้ว หมดอายุก็ไม่ต้องเอาไปทิ้ง แต่สับเป็นท่อน ๆ เอาใส่ลงในที่ปลูกตามเดิม แล้วปลูกผักอย่างอื่น หรือมะเขือเทศรุ่นต่อไปได้อีก คือใช้เป็นอาหารของพืชอื่นอีกนั่นเอง เรียกว่า พืชกินพืช
โครงการ พืชกินพืช นับว่าได้ผลมาก มีหน่วยงานต่าง ๆ มาศึกษาดูงานและนำไปทำเช่นเดียวกัน เช่น
- สถาบันราภัฏ แทบทุกแห่งได้นำโครงการนี้ไปขยายผล ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ให้นักเรียน นักศึกษา ได้ลงมือปฏิบัติ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
- กลุ่มเกษตรกร ชาวบ้าน โรงเรียนต่าง ๆ ได้นำโครงการนี้ขยายออกไปสู่ตำบล หมู่บ้านแสิ่งทสำคัญคือเป็นการช่วยกำจัดผักตบชวาในแหล่งน้ำต่าง ๆ เพราะเอาผักตบชวามาเป็นตัวกลางในการปลูก เพราะสามารถอุ้มน้ำได้ดี.
-
549 พืชกินพืช...ตอน 1 /article-biology/item/549-hydroponic1เพิ่มในรายการโปรด