สารซาลิซิน ( SALICIN ) ในเปลือกของต้นหลิว
สารซาลิซิน ( SALICIN ) ในเปลือกของต้นหลิว
สุนทร ตรีนันทวัน
ในสมัยโบราณเคยมีบันทึกไว้ว่า ชาวกรีก อินเดียนแดง ชาวจีน และชาว อินเดีย ได้ใช้เปลือกไม้ของต้นไม้ชนิดหนึ่ง คือ ต้นหลิว (Willow) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuphea Hyssopifolia HBK. โดยเอาเปลือกของต้นหลิวสดๆมาเคี้ยวกิน รักษาอาการไข้ และแก้ปวดได้ แต่ตอนนั้นยังไม่ทราบว่าเพราะอะไร เปลือกของต้นหลิว สามารถรักษาอาการไข้ และ แก้ปวดได้ ซึ่งก็ใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 นานมาแล้ว (เรียกได้ว่าเป็นความดีส่วนหนึ่งของ หลิว จริงๆ)
จนกระทั่งใน ค.ศ. 1800 นักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบว่าเปลือกของต้นหลิว มีสารเคมีชนิดหนึ่ง เรียกว่า ซาลิซิน ( Salicin ) จึงได้สกัดสารนี้ออกมา ซึ่งสารนี้มีผลในการระงับอาการไข้ และ แก้ปวดได้ สารซาลิซินเป็นแหล่งกำเนิดของกรดชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า กรดอะซิทิล ซาลิไซลิค ( Acetyl salicylic acid ) ซึ่งใช้เป็นสารที่ใช้สำหรับทำยา แอสไพริน (Aspirin ) ใช้รักษาอาการไข้ แก้ปวด มานานแล้ว
ต่อมาอีกเกือบ 100 ปี นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถทำการสังเคราะห์ยาแอสไพรินขึ้นมาได้ มีคุณสมบัติเหมือนกับ สารซาลิซิน ในต้นหลิว
-
582 สารซาลิซิน ( SALICIN ) ในเปลือกของต้นหลิว /article-biology/item/582-salicinเพิ่มในรายการโปรด