สารพิษ เตตราโดท๊อกซิน ( Tetradotoxin ) ในปลาปั๊กเป้า
สารพิษ เตตราโดท๊อกซิน ( Tetradotoxin )ในปลาปั๊กเป้า
สุนทร ตรีนันทวัน
http://www.navy34.com/board342550/index.php?topic=378.msg7912
ปลาปั๊กเป้า มีทั้งปลาน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาปั๊กเป้าน้ำเค็มจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาปั๊กเป้าน้ำจืด ในเมืองไทยมีปลาปั๊กเป้าน้ำจืดมากกว่า 20 ชนิด
สารพิษในปลาปั๊กเป้า เรียกว่า เตตราโดท๊อกซิน ( Tetradotoxin ) ซึ่งพบอยู่ใน ผิวหนัง ตับ ลำไส้ น้ำดี และ ไข่ปลา สารพิษนี้จะมีมากที่สุดในตับ และ ไข่ ของปลาปั๊กเป้า ช่วงฤดูที่ปลาวางไข่
อาการ สารพิษนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ก็จะแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย และจะเริ่มออกฤทธิ์ ภายในเวลา 20 นาที คือจะออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาท และ กล้ามเนื้อ จะมีอาการ คือ
- รู้สึกชาที่ริมฝีปาก และ ปลายนิ้ว
- กล้ามเนื้อเริ่มเป็นอัมพาต เคลื่อนไหวลำบาก
- แขน ขา ไม่มีแรง เดิน ยืน ยกแขน ขา ไม่ได้ เพราะสารพิษ
ขัดขวางการทำงานของระบบประสาท สั่งงานให้กล้ามเนื้อทำงานไม่ได้
- พูดลำบาก เพราะลิ้นเริ่มแข็ง
- กล้ามเนื้อที่ช่วยสำหรับการหายใจไม่ทำงาน หายใจขัด ต่อมาจะหยุดหายใจ และ ตาย ภายในเวลาไม่เกิน 3 - 6 ชั่วโมง
สารพิษ เตตราโดท๊อกซิน สามารถที่จะทนความร้อนได้ดีมาก อุณหภูมิ 100 องศาเซลเสียส ก็ยังไม่สลายตัว
ประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับที่ 264 พ.ศ. 2550 ห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายปลาปั๊กเป้าทุกชนิด รวมทั้งอาหารที่มีเนื้อปลาปั๊กเป้าเป็นส่วนผสม
-
583 สารพิษ เตตราโดท๊อกซิน ( Tetradotoxin ) ในปลาปั๊กเป้า /article-biology/item/583-tetradotoxinเพิ่มในรายการโปรด