เห็ดมีพิษ ในสกุล อะมานิต้า ( Amanita ) ตอนที่ 1
เห็ดมีพิษ ในสกุล อะมานิต้า ( Amanita ) ตอนที่ 1
สุนทร ตรีนันทวัน
เห็ดที่ขึ้นในธรรมชาติ บางชนิดเป็นเห็ดมีพิษ คือมีสารที่เป็นพิษอยู่ในเนื้อเยื่อของเห็ดนั้นๆ เห็ดมีพิษพวกนี้ที่จัดว่ามีพิษมาก เป็นเห็ดที่อยู่ในสกุล อะมานิต้า ( Amanita ) เช่นเห็ดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อะมานิต้า แฟลลอยด์( Amanita phalloids ) อะมานิต้า เวอร์นา ( Amanita verna ) และ อะมานิต้า ไวโรซา ( Amanita virosa )
ลักษณะเด่นของเห็ดมีพิษ
ดอกเห็ดมีรูปร่างสวยงาม มีสีฉูดฉาด สีแดง สีส้ม สีเทา สีเหลือง สีเขียว สีสีชมพู สีน้ำตาล เป็นต้น บนหมวกเห็ดจะมีเกล็ดขรุขระ มีกลิ่นต่างๆ มีน้ำยางสีขาวๆไหลออกมาเวลากรีดดอกเห็ด ดอกเห็ดมีลักษณะสมบูรณ์ ไม่เว้าแหว่ง เพราะไม่มีแมลง หนอน มด มากัดกิน
สารพิษ สารพิษที่อยู่ในเห็ดกลุ่มนี้ ได้แก่
Cyclopeptide toxin Phalloidin Amatoxin
อาการ สารพิษพวกนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะไปทำลายเซลล์ตับ ไต ระบบย่อยอาหาร อาเจียน ท้องเสีย ตาเหลือง ความดันโลหิตต่ำ หายใจลำบาก หายใจติดขัด ต่อมาจะหยุดหายใจ และ ตาย ในเวลา 6 – 12 ชั่วโมง
ข้อแนะนำเบื้องต้น ไม่ควรรับประทานเห็ดที่ไม่รู้จักชื่อ ที่ขึ้นอยู่ในธรรมชาติ
ใน พ.ศ. 2546 สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานว่า มีผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดมีพิษ จากสำนักสาธารณะสุขจังหวัด และ สำนักอนามัยกรุงเทพฯ มีจำนวนถึง 1442 คน
-
588 เห็ดมีพิษ ในสกุล อะมานิต้า ( Amanita ) ตอนที่ 1 /article-biology/item/588-amanitaเพิ่มในรายการโปรด