ต่อยอดความสำเร็จกับการพัฒนาเห็ด 2 สายพันธูุ์
ต่อยอดความสำเร็จกับการ
พัฒนาเห็ด 2 สายพันธุ์..........
n>
ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย (วว.) เปิดเผยว่าทางสถาบันได้พัฒนา เห็ดเมือง หนาวพันธุ์ใหม่ขึ้นมา 2 พันธุ์ ได้แก่ เห็ดนางรมทอง (Golden Oyster Mushroom) ที่ให้สีเหลือง ขณะที่สายพันธุ์มีสีเทา ซึ่ง นับว่าเป็นเรื่องพิเศษที่พัฒนาได้สีเหลืองและตรงกับปีมหามงคล และเห็ดอีกชนิดคือ เห็ดชิเมจิขาว (White Buna-shimeji) ที่ มีสีขาวแต่สายพันธุ์เดิมมีสีเทาซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ถูกพัฒนามาจากเห็ด เมืองหนาวของญี่ปุ่นและพร้อมจะถ่ายให้เอกชนนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ เช่นเดียวกับ เห็ดเข็มทอง ที่เคยประสบความสำเร็จในการ พัฒนาสาย พันธุ์เช่นกัน ทั้งนี้ได้มีวิจัยการเพาะเห็ดเมืองหนาวขึ้น ที่ศูนย์ ประสานงานพัฒนาเกษตรที่สูง ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.ดอยปุย จ.เชียงใหม่ ซึ่งจะต้องเพาะที่ห้องรักษาอุณหภูมิเพาะเห็ดคงที่ 12-14 องศาเซลเซียส โดยวัสดุหลักที่ใช้เพาะเห็ดคือ ขี้เลื่อย ผสมอาหารเสริมสำหรับเห็ด รำข้าวและส่วนผสมที่ให้โปรตีนหรือ ไนโตรเจน ซึ่งจะต้องนำไปฆ่าเชื้อก่อนนำไปเพาะเห็ดแต่ละชนิด โดยจะเพาะที่ห้องเย็นซึ่งควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ แต่จะเพาะข้าง นอกโรงเรือนที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปีอยู่แล้วก็เพาะได้แต่ผลผลิตอาจไม่ค่อยดีนัก
เห็ดมีสรรพคุณในการควบคุมการเติบโตของเซลล์มะเร็ง บางชนิดมีฤทธิ์ควบคุมมะเร็งกระเพาะอาหาร บางชนิด ควบคุมมะเร็งเต้านม อย่าง เห็ดหัวลิง (Monkey Head) ก็มีฤทธิ์ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีงานวิจัยของทางญี่ปุ่น ออกมายืนยันอย่างไรก็ตามการบริโภคเห็ดยังมีข้อควรระวังโดยควรหลีกเลี่ยงเห็ดที่มีสีสันบางชนิด ทั้งนี้ควรบริโภค เห็ดให้หลากหลายชนิดและไม่ควรบริโภคแบบดิบๆ เพราะไม่ได้ประโยชน์ เนื่องจากเบต้า-กลูแคน(Beta-Glucan) ที่เป็นสารป้องกันมะเร็งนั้นไม่แตกตัวเนื่องจากไม่สุก และยังส่งผลให้ย่อยได้ยากตามมา นอกจากนี้ห้ามรับประทาน ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะมีปัญหาเรื่องการ ย่อย อีกทั้งผู้ที่เป็นโรคเก๊าห้ามรับประทานเห็ดเพราะจะไป กระตุ้นการสะสม ยูริก ตามข้อในร่างกายอีกด้วย
ภาพประกอบ : http://variety.teenee.com/science/img0/12568.jpg
http://variety.teenee.com/science/img0/12572.jpg
-
601 ต่อยอดความสำเร็จกับการพัฒนาเห็ด 2 สายพันธูุ์ /article-biology/item/601-mushroomsเพิ่มในรายการโปรด