logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • Alien (species) บุก !

Alien (species) บุก !

โดย :
จิรวัฒน์ ดำแก้ว
เมื่อ :
วันอังคาร, 28 พฤศจิกายน 2560
Hits
5971

ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอข่าวและมีการแชร์ไปทั่วสังคมออนไลน์ ถึงการแพร่ระบาดของหนอนชนิดหนึ่งในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย นั่นคือหนอนตัวแบนนิวกินีซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien species) นอกจากมีการนำเสนอข่าวและแชร์ไปทั่วสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดแล้ว ก็ยังมีวิธีการกำจัดวิธีต่าง ๆ อีกด้วย ก่อนที่เราจะตื่นตระหนกกับข่าวการแพร่ระบาด เราก็ควรมาทำความรู้จักกับเจ้าหนอนตัวนี้กันดีกว่า

 Platydemus manokwari

ภาพ หนอนตัวแบนนิวกินี หรือ New Guinea flatworm (Platydemus manokwari)
ที่มาของภาพ https://en.wikipedia.org/wiki/Platydemus_manokwari

 

หนอนตัวแบนนิวกินี หรือ New Guinea flatworm มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Platydemus manokwari เป็นสัตว์ท้องถิ่นในป่าฝนเขตร้อนของเกาะนิวกินี ในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นหนอนตัวแบนที่มีขนาดความยาวประมาณ 1.6-2.6 นิ้ว และกว้างประมาณ 0.16-0.28 นิ้ว มีสีน้ำตาลเข้มบริเวณผิว ด้านหลังมีแถบสีที่อ่อนกว่าในแนวแกนกลางลำตัว และมีสีเทาอ่อนบริเวณส่วนท้อง หนอนตัวแบนนิวกินีถือว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจของหอยทากบกหลายชนิด เป็นส่วนใหญ่ หนอนตัวแบนชนิดนี้จึงถูกนำเข้าไปพื้นที่ต่าง ๆ ของผืนทวีปหลักของเอเชีย เพื่อใช้ในการกำจัดหอยทากยักษ์แอฟริกา ซึ่งเป็นหอยชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเช่นกันที่เป็นศัตรูพืช แต่หนอนตัวแบนนิวกินีกลับไปไล่ล่าหอยทากที่เป็นสัตว์จำเพาะถิ่นจนสูญพันธุ์ไปจำนวนมาก การสืบพันธุ์ของหนอนชนิดจะสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศแล้ว แต่ยังเพิ่มจำนวนได้ตามจำนวนร่างที่ขาด (regenerate) ทำให้หอยชนิดนี้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในทวีปเอเชีย นอกจากนี้ยังพบการระบาดในพื้นที่อื่นของโลกด้วย เช่น หมู่เกาะฮาวาย เป็นต้น

 

map

ภาพการพบเจอของหนอนตัวแบน ตามที่ต่าง ๆ
ที่มาของภาพ https://www.cabi.org/isc/datasheet/42340

 

นอกจากหนอนตัวแบนนิวกินีแล้ว สัตว์ต่างถิ่นชนิดอื่น ๆ ก็ค่อยๆ เข้ามาอย่างเงียบๆ แทรกซึมไปตามพื้นที่ต่าง ๆ จนกระทั้งเกิดการระบาดและทำลายระบบนิเวศท้องถิ่น อย่างเช่น ปลาเทศบาลหรือปลาซัคเกอร์ (Hypostomus Plecostomus) ที่เริ่มต้นจากการนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยความที่มีรูปลักษณ์แปลกตาไปจากปลาท้องถิ่น บวกกับสีสันและความสามารถในการดำรงชีวิตในสภาพต่าง ๆ ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงในหมู่นักเลี้ยงปลาสวยงาม แต่เมื่อเบื่อก็ทิ้งลงแหล่งน้ำธรรมชาติ นับเป็นภัยมหันต์แก่แหล่งน้ำนั้น นอกจากปลาซัคเกอร์จะมาจากความเบื่อและไม่อยากเลี้ยงของนักเลี้ยงปลาแล้ว ปลาซัคเกอร์เหล่านี้ยังมาจากความเชื่อของคนไทยเรื่องการปล่อยปลาเพื่อสะเดาะเคราะห์และเสริมบุญให้กับตนเองและครอบครัว จนมีพ่อค้าแม่ค้านำปลาซัคเกอร์มาเป็นหนึ่งในปลาที่ใช้สะเดาะเคราะห์ในนามปลาดำราหู ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งผลร้ายที่ตามมากับการปล่อย ปลาซัคเกอร์นั้นสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อระบบนิเวศท้องถิ่นและสัตว์น้ำประจำถิ่นในบริเวณนั้น

 

 Hypostomus plecostomus 

ปลาเทศบาลหรือปลาซัคเกอร์ (Hypostomus Plecostomus)
ที่มาของภาพ https://en.wikipedia.org/wiki/Hypostomus_plecostomus 

 

นอกจากนี้ก็ยังมีปลาหมอสีคางดำ (Sarotherodon melanotheron) ที่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาและกุ้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากปลาหมอสีคางดำเหล่านี้มีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วมาก และมีช่วงเวลาในการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าสัตว์ประจำถิ่น อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ทนความเค็มได้สูง บวกกับปลาหมอสีคางดำเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ เช่น แพลงก์ตอน ลูกกุ้ง ลูกปลา ลูกหอยสองฝา รวมถึง ซากของสิ่งมีชีวิต ปลาหมอสีคางดำเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายและกินอาหารอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีทางเดินอาหารที่ยาวและระบบย่อยอาหารที่ดีมาก จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมสัตว์ในพื้นที่ที่มีการรุกรานถึงได้หายไป

 

 Sarotherodon

 ภาพปลาหมอสีคางดำ (Sarotherodon melanotheron)
ที่มาของภาพ ชัยวุฒิ สุดทองคง ชมพู สามห้วย และจีรวรรณ ศรีทองชื่น (24 กรกฎาคม 2560)

 

ดูเหมือนสัตว์ต่างถิ่นเหล่านี้อยู่รอบตัวเรามากขึ้น และนับวันยิ่งเพิ่มจำนวนและชนิดมากขึ้น นอกจากตัวอย่างเหล่านี้ก็ยังมีสัตว์ต่างถิ่นชนิดอื่นที่เข้ามารุกรานระบบนิเวศของประเทศไทยอีกประมาณ 100 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือแม้แต่จุลินทรีย์ คงจะถึงเวลาที่ทุกคนจะต้องตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ทำตามกระแสในหน้าข่าว แต่การสร้างจิตสำนึกและการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสัตว์ต่างถิ่น รวมถึงผลกระทบเมื่อสัตว์ต่างถิ่นเหล่านั้นหลุดไปยังระบบนิเวศท้องถิ่นนั้น ยังคงต้องทำอย่างต่อเนื่องในทุกระดับเพื่อไม่ให้สัตว์ประถิ่นในบ้านเราหายไปจนเหลือแค่คำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าเท่านั้น

 

แหล่งที่มา

ผศ. ดร. อาจอง ประทัตสุนทรสาร. 2555, คู่มือประกอบสื่อการสอน วิชาชีววิทยา เรื่อง ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด. 2553 ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่น. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ 130 หน้า.

Wikipedia. (2017, November). Platydemus manokwari. Retrieved from Wikipedia: https://en.wikipedia.org/wiki/Platydemus_manokwari

ไบรท์ทีวี . (2017, July 6). วิกฤตยี่สาร! ปลาหมอสีคางดำระบาดหนัก เจ้าของบ่อโอดขาดทุนยับ. Retrieved from ไบรท์ทีวี: https://www.brighttv.co.th/latest-news/social/87997

คมชัดลึก. (2017, July 15). ทำบุญได้บาปปล่อยปลาราหูดำ‘เอเลี่ยน สปีชีส์’มหันตภัยระบบนิเวศ. Retrieved from คมชัดลึก: http://www.komchadluek.net/news/scoop/233820

สุดทองคง, ช. (2017, July 28). ปลาหมอสีคางดำ. Retrieved from ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 2 (สมุทรสาคร):http://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20171114193058_1_file.pdf

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Alien Species, หนอนตัวแบน, ปลาซัคเกอร์, ปลาหมอ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
จิรวัฒน์ ดำแก้ว
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7685 Alien (species) บุก ! /article-biology/item/7685-alien-species
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
สำรวจร่างกายมด
สำรวจร่างกายมด
Hits ฮิต (8344)
ให้คะแนน
สำรวจร่างกายมด ศศิธร หาสิน มด เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยอยู่ได้ทั่วไป แม้แต่ในบ้านเรือน มดก็สา ...
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้ในการควบคุมน้ำหนัก
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้ในการควบคุมน้ำห...
Hits ฮิต (7578)
ให้คะแนน
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้ในการควบคุมน้ำหนัก ศุภชัย ติยวรนันท์ “อ้วน” เป็นคำที่สั้น และกินใจ ให้ความ ...
ยีนกลายพันธุ์สู่การเป็นซุปเปอร์พาวเวอร์
ยีนกลายพันธุ์สู่การเป็นซุปเปอร์พาวเวอร์
Hits ฮิต (5995)
ให้คะแนน
หลายคนอาจเคยมีความฝันที่จะกลายเป็นซุปเปอร์ฮีโร่อย่างเช่นในภาพยนตร์ฮอลลีวูด ได้ใช้ใยแมงมุมที่เหนียวแ ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินปูน (limestone)...
  • Amazing Science วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ Season 2 ตอน ลูกโป่งสวรรค์...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความลึกของท้องทะเล ตอนที่ 2...
  • หินปูนที่มีซากดึกดำบรรพ์ (fossilliferous limestone)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน การคูณจำนวนหลายหลัก...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)