จุลชีววิทยากับอุตสาหกรรม
จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม อีกศาสตร์หนึ่งทางด้านชีววิทยาซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจแขนงหนึ่ง เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในโลกปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของประเทศไทยและทั่วโลก ล้วนแล้วแต่เป็นยุคที่ขึ้นชื่อว่าให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง วิวัฒนาการเป็นการเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตก็เช่นเดียวกัน ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งที่ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อย่างเช่น จุลินทรีย์ อันได้แก่ แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส และ สาหร่าย วันนี้เราจะได้ทำความรู้จักกันว่า หากเราสนใจที่อยากเรียนหรือทำงานเกี่ยวกับจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม เราต้องพบเจอกับอะไรบ้าง
การนำจุลินทรีย์ที่กล่าวมานี้มาใช้ประโยชน์ในกระบวนการอุตสาหกรรม ซึ่งนำความเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่งให้แก่ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ การคัดเลือกจุลินทรีย์ การปรับปรุงสายพันธ์จุลินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ การเก็บรักษาจุลินทรีย์และการเตรียมเชื้อเริ่มต้น ผลิตภัณฑ์อาหารหมัก หลักการพื้นฐานกระบวนการหมัก อาหารเลี้ยงเชื้อสำหรับการหมัก การตรวจสอบและหาปริมาณของผลิตภัณฑ์จากการหมัก การหมักแอลกอฮอล์ การบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม เอนไซม์ สารปฏิชีวนะ วัคซีน วิตามิน สารปรุงแต่งอาหาร กรดอะมิโน กรดซิตริก กรดลูทามิก กรดกลูโคนิก แอลไลซิน สเตอรรอยด์ รงควัตถุ กรดอินทรีย์ แอลกอฮอล์ กรดไขมัน เป็นต้น
ภาพ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่มา https://unsplash.com/photos/mhUsz2ezlXQ
จุลชีววิทยาอุตสาหกรรมทำงานอะไรบ้าง
ผู้ที่ศึกษาจนจบทางด้านจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยงชาญเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องของจุลชีวะ ซึ่งสามารถทำงานได้หลากหลายในกลุ่มงานของชีววิทยา แต่ที่เฉพาะทางจริง ๆ ตามที่เรียนมาเพื่อนำไปประยุกต์กับการทำงานได้เป็นอย่างดีก็คือ การทำงานในกลุ่มของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังหน้าที่หรือตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
กลุ่มงานอุตสาหกรรม
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพในโรงงาน ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
- พนักงานขายสารเคมี วัสดุ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
กลุ่มหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
- นักวิจัยในหน่วยวิจัย หน่วยตรวจสอบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล เช่น กองวิเคราะห์อาหาร กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมประมง สถาบันอาหาร เป็นต้น
กลุ่มกิจการส่วนตัว
- ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากจุลินทรีย์ เช่น แหนม โยเกิร์ต ไวน์ เห็ด หรือผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ งานที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
นอกเหนือจากนี้ การนำความรู้ความสามารถที่เรียนมานี้ยังสามารถไปศึกษาต่อเพื่อขยายและต่อยอดแนวความรู้ในการศึกษาต่อทางด้านชีววิทยา จุลชีววิทยาทางด้านแขนงอื่น ๆ เพิ่มเติมได้อีกมาก เช่น ทางการแพทย์ ทางการทหาร เป็นต้น
ไม่น่าเชื่อเลยว่า จุลินทรีย์ที่เรารู้จักทั่วไป จะสามารถสร้างผลผลิตและเพิ่มมูลค่าทางผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างมาก สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบอาชีพมากมาย เป็นอย่างไรกันบ้าง ดูแล้วจุลชีววิทยาอุตสาหกรรมมีความน่าสนใจมาก ๆ เลยใช่ไหม ใครที่สนใจศึกษาทางด้านนี้ ก็ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมไปยังหน่วยงานสถานศึกษาต่าง ๆ ที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์สาขานี้โดยเฉพาะ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายที่ด้วยกัน
แหล่งที่มา
จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม (INDUSTRIAL MICROBIOLOGY). สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
https://www.u-review.in.th/th/edu/34640
พรพรรณ เลิศทวีสินธุ์. จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
http://thesis.swu.ac.th/swuebook/h110455.pdf
-
8394 จุลชีววิทยากับอุตสาหกรรม /article-biology/item/8394-2018-06-01-02-43-57เพิ่มในรายการโปรด