logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เคมี
  • "ปอกหัวหอม" เรื่องไม่เศร้าแต่เคล้าน้ำตา

"ปอกหัวหอม" เรื่องไม่เศร้าแต่เคล้าน้ำตา

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันศุกร์, 03 พฤศจิกายน 2560
Hits
5330

           เมนูอาหารที่ต้องแลกมาด้วยการเสียน้ำตาจากการจัดการกับส่วนผสมหลักอย่างหัวหอม เป็นสิ่งที่แม่บ้านหลายครัวเรือนอยากหลีกเลี่ยงการปรุงอาหารจานนั้นเป็นที่สุด หรือไม่ก็พยายามค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการหลั่งน้ำตา เพราะเพียงแค่ไม่กี่วินาทีที่ปอกเปลือกออก ปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นก็สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ดวงตา หรือบางคนอาจน้ำตาไหลในระดับที่เรียกว่าเต็มรูปแบบเลยก็ว่าได้

7569 1

ภาพที่ 1 หั่นหัวหอม
ที่มา Caroline Attwood https://unsplash.com

          โดยพื้นฐานแล้ว น้ำตาเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นสารช่วยหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นกับดวงตา ช่วยในเรื่องของการหักเหของแสงสำหรับการมองเห็นอย่างแม่นยำ ทั้งยังช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกจากสาเหตุภายนอกอย่างฝุ่นหรือควันที่เป็นตัวกระตุ้นปลายประสาทในกระจกตา (Conea) ให้สื่อสารกับสมอง และแจ้งเตือนต่อต่อมน้ำตาหลัก (Lachrymal gland) ที่อยู่บริเวณเปลือกตาให้ควบคุมการหลั่งน้ำตาเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกไป แต่หากว่าน้ำตาที่ไหลพรากจากการหั่นหัวหอมสำหรับมื้อค่ำแล้วล่ะก็ คำตอบที่อธิบายอาการที่เกิดขึ้นนี้ได้ ควรเริ่มต้นตั้งแต่มันยังอยู่ใต้ดิน

          หัวหอมเป็นพืชชนิดหนึ่งในสกุล Allium เช่นเดียวกับกระเทียม ต้นหอม หอมแดง และพืชในสกุลเดียวกันอีกราว 400 ชนิด พืชผักเหล่านี้จะดูดซับกำมะถันในดิน ซึ่งช่วยในการสร้างโมเลกุลของสารอินทรีย์ไอระเหย (Volatile organic compound) หรือสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยเป็นไอและกระจายตัวได้ในอากาศที่อุณหภูมิและความดันปกติที่เรียกว่า Amino acid sulfoxides ในหัวหอม โดยสารดังกล่าวนี่เองที่อยู่เบื้องหลังของการหลั่งน้ำตา

7569 2

ภาพที่ 2 พืชในสกุลเดียวกันกับหัวหอม
ที่มา Meditations https://unsplash.com

      เมื่อทำการหั่นหัวหอม ผนังเซลล์ของหัวหอมจะฉีกขาดและปล่อยเอนไซม์ Lachrymatory-factor synthase  ออกมา ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนที่ทำให้เกิดน้ำตา  เอนไซม์ดังกล่าวจะทำปฏิกิริยากับ amino acid sulfoxides เกิดเป็นกรดซัลฟินิค (sulfenic acids) โดยกรดซัลฟินิคที่ไม่เสถียร จะจัดเรียงตัวใหม่เป็นสารประกอบที่เรียกว่า syn-Propanethial-S-oxide เมื่อระเหยเข้าไปในอากาศและกระทบกับใบหน้าและดวงตาก็จะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง  เป็นผลให้เกิดการหลั่งน้ำตาเพื่อชะล้างสิ่งสกปรกเช่นเดียวกับกลไกในการกำจัดฝุ่นละอองออกจากดวงตานั่นเอง

       สำหรับบางคนที่อยากหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดน้ำตา หรือป้องกันการปนเปื้อนของน้ำตาในอาหารที่กำลังปรุงอยู่นั้น สามารถลองใช้เทคนิคเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าวได้ดังนี้

  • เปิดพัดลมขณะหั่นหัวหอมเพื่อกระจายสารระเหยในอากาศ
  • หั่นหัวหอมภายใต้น้ำ เพื่อให้สาร syn-propanethial-S-oxide เกิดปฏิริยาขึ้นในน้ำก่อนจะมากระทบกับใบหน้าและดวงตาของเรา
  • ใส่แว่นตาเพื่อป้องกันดวงตา
  • ใช้อุปกรณ์หั่นหัวหอมสำเร็จรูป

แหล่งที่มา

CRISTEN CONGER.  Why do onions make you cry?.
          Retrieved September 18, 2017, from https://recipes.howstuffworks.com/question5391.htm

Volatile organic compound.
          Retrieved September 18, 2017, from https://en.wikipedia.org/wiki/Volatile_organic_compound

Allium.
          Retrieved September 18, 2017, from https://en.wikipedia.org/wiki/Allium

Why does chopping an onion make you cry?. 
          Retrieved September 18, 2017, from http://www.loc.gov/rr/scitech/mysteries/onion.html

syn-Propanethial-S-oxide. 
          Retrieved September 18, 2017, from https://en.wikipedia.org/wiki/Syn-Propanethial-S-oxide

Paul M. Burnham.  PROPANETHIAL S-OXIDE; The lachrymatory factor in onions.
          Retrieved September 18, 2017, from http://www.chm.bris.ac.uk/motm/pso/psov.htm

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
หัวหอม,น้ำตา, แม่บ้าน, ครัว, ปรุงอาหาร, หลั่ง ,ปอกเปลือก, ปฏิกิริยา, เคมี
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7569 "ปอกหัวหอม" เรื่องไม่เศร้าแต่เคล้าน้ำตา /article-chemistry/item/7569-2017-10-17-01-44-42
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
เคมีของน้ำหอม
เคมีของน้ำหอม
Hits ฮิต (11226)
ให้คะแนน
มนุษย์รู้จักวิธีการชโลมร่างกายด้วยกลิ่นหอมมากว่าพันปีแล้ว โดยผู้คิดค้นน้ำหอมรายแรกของโลกเป็นหญิงผู้ ...
กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง
กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง
Hits ฮิต (15188)
ให้คะแนน
ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงเรื่องแมลงดื้อ หรือความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ก็เลยทำให้อยากอธิบายเพ ...
ความเป็นพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide )
ความเป็นพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon m...
Hits ฮิต (3268)
ให้คะแนน
สารพิษทุกชนิดต่างมีลักษณะเฉพาะที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ ในกรณีของคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินปูนที่มีซากดึกดำบรรพ์ (fossilliferous limestone)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน การคูณจำนวนหลายหลัก...
  • Raspberry Pi คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับด้านการศึกษา...
  • หินอ่อน (Marble)...
  • เทคโนโลยีกับสะเต็มศึกษา...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)