logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เคมี
  • สร้างเมฆง่าย ๆ ด้วยตนอง

สร้างเมฆง่าย ๆ ด้วยตนอง

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพุธ, 21 กุมภาพันธ์ 2561
Hits
9088

           ก่อนหน้านี้เราเคยได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการเกิดเมฆและดูเมฆกันมาบ้างแล้ว   คราวนี้อยากให้ทุกคนได้มีโอกาสได้ทดลองสร้างเมฆง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งอุปกรณ์และวิธีการทำที่ง่าย  ๆ สามารถทำกันเองได้อย่างแน่นอน โดยในการทดลองนี้ เราจะทดสอบการสร้างเมฆจากสสาร 3 ชนิดด้วยกันคือ แอลกอฮอล์ น้ำ และ อากาศ  เรามาดูกันดีกว่าว่า สสารชนิดไหน จะให้ปริมาณมวลเมฆที่เยอะและเห็นได้ชัดเจนมากกว่ากัน

7752 1

ภาพที่ 1 อุปกรณ์สำหรับเตรียมสร้างเมฆ
ที่มา ภาพงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560

ก่อนอื่นก็ต้องเตรียมอุปกรณ์กันก่อน

  1. กระบอกสูบลมยาง
  2. จุกยาง
  3. ขวดน้ำพลาสติก
  4. แอลกอฮอล์
  5. น้ำสะอาด

7752 2

ภาพที่ 2  ขั้นตอนการอัดก๊าซเข้าภายในขวดพลาสติก
ที่มา ภาพงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560

ครั้งที่ 1 การสร้างเมฆง่าย ๆ โดยใช้แอลกอฮอล์

  1. เทแอลกอฮอล์ปริมาณ 10 มล. ลงในขวดพลาสติก
  2. กลิ้งขวดหมุนไปมาเพื่อให้แอลกอฮอล์สัมผัสผิวด้านในภายในขวดพลาสติก เพื่อนำให้เกิดไอแอลกอฮอล์ในขวด
  3. ตั้งขวดในแนวตั้งตรง จับขวดให้มั่น ใช้กระบอกสูบลมที่มีจุกยางสูบดันอากาศเข้าสู่ขวดพลาสติก ประมาณ 20 ครั้ง
  4. ดึงกระบอกสูบอย่างรวดเร็ว เมื่อรู้สึกว่าแน่นจนดันไม่เข้า

7752 4

ภาพที่ 3 ไอแอลกอฮอล์ที่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะกลุ่มเป็นเมฆลอยอยู่ในขวด
ที่มา ภาพงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560

ผลการทดลองครั้งที่ 1

        สิ่งที่เกิดขึ้นในการทดลองนี้คือ ในขณะที่เราอัดความดันอากาศเข้าไปในขวดพลาสติกให้ความดันสูง ๆ จนอุณหภูมิภายในขวดสูงขึ้น เกิดการระเหยกลายเป็นไอ   และเมื่อเรานำจุกยางออกย่างรวดเร็ว ก๊าซก็เกิดการขยายตัวจนอุณหภูมิภายในขวดจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อากาศภายในขวดเย็นลง ในช่วงนี้จะทำให้ไอน้ำควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ ไอแอลกอฮอล์กลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นเมฆลอยอยู่ในขวดนั่นเอง

 

ครั้งที่ 2 การสร้างเมฆง่าย ๆ โดยใช้น้ำ

  1. เทน้ำสะอาด 10 มล. ลงในขวดพลาสติก
  2. ตั้งขวดในแนวตั้งตรง จับขวดให้มั่น ใช้กระบอกสูบลมที่มีจุกยางสูบดันอากาศเข้าสู่ขวดพลาสติก ประมาณ 20 ครั้ง
  3. ดึงกระบอกสูบอย่างรวดเร็ว เมื่อรู้สึกว่าแน่นจนดันไม่เข้า

ผลการทดลองครั้งที่ 2  ทดลองเปลี่ยนการใช้น้ำแทนแอลกอฮอล์

        จากการทดลอง  จะพบไอน้ำจากน้ำสะอาดทำให้เกิดเมฆภายในขวดได้เช่นกัน แต่ถ้าใช้น้ำ น้ำมีจุดเดือดที่สูงกว่าแอลกอฮอล์น้ำละเหยได้ช้ากว่าแอลกอฮอล์ ไอน้ำที่ได้จะมองเห็นได้น้อยกว่านั่นเอง และแอลกอฮอล์ก็กลายเป็นไอได้เร็วกว่าน้ำ

ครั้งที่ 3 การสร้างเมฆง่าย ๆ โดยใช้อากาศภายในขวด

  1. ตั้งขวดในแนวตั้งตรง จับขวดให้มั่น ใช้กระบอกสูบลมที่มีจุกยางสูบดันอากาศเข้าสู่ขวดพลาสติก ประมาณ 20 ครั้ง
  2. ดึงกระบอกสูบอย่างรวดเร็ว เมื่อรู้สึกว่าแน่นจนดันไม่เข้า

ผลการทดลองครั้งที่ 3  ทดลองอัดอากาศเข้าไปในขวดพลาสติกโดยไม่ใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำ

       จากการทดลองจะพบว่าเกิดเมฆในขวดได้เช่นกันแต่เมฆนั้นหายไปอย่างรวดเร็ว ก็เพราะว่า ความชื้นในอากาศนั้นมีอยู่น้อยกว่าความชื้นในแอลกอฮอล์และในน้ำ

สรุปหลักการทางวิทยาศาสตร์กับการเกิดเมฆจริงบนชั้นบรรยากาศ

       ไอน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำจะลอยตัวสูงขึ้นไปในอากาศ เนื่องจากมวลอากาศที่ร้อนจะเกิดการขยายตัวเกิดเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ จึงลอยตัวสูงขึ้นไปในอากาศที่มีความกดอากาศต่ำกว่าเพื่อขยายตัว เมื่อมวลอากาศร้อนลอยขึ้นไปกระทบกับมวลอากาศเย็นในบริเวณชั้นอากาศ เกิดการควบแน่นเป็นเมฆในอากาศ เรามักเข้าใจว่า เมฆคือไอน้ำ แต่จริง ๆ แล้ว เมฆคือหยดน้ำหรือเกล็ดน้ำแข็งขนาดเล็กรวมกลุ่มกันเป็นก้อนดังที่เคยกล่าวเอาไว้ในบทความเรื่องเมฆ

        ก็เป็นอะไรที่สนุกสนานและได้ความรู้กันไม่น้อย ในขั้นตอนการทดลองก็ต้องระมัดระวังกันด้วย เพราะในการใช้แอลกอฮอล์ ซึ่งก็เป็นสารเคมีที่มีความอันตรายในระดับนึง ระวังการสัมผัสที่อาจจะเข้าสู่ร่างกายได้ เช่นเข้าปาก เข้าตา รวมถึงการประทุของขวดขณะที่เราดึงกระบอกสูบออกจากขวดอย่างรวดเร็ว

แหล่งที่มา

PONGSKORN SAIPETCH. (2560, 23  กุมภาพันธ์).   ความดันก๊าซและอุณหภูมิ เมฆในขวด น้ำเดือดในสุญญากาศ ปืนใหญ่ลม.  สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2560, จาก
         https://witpoko.com/?p=4758

EINSTEIN@min. (2558, 3  กรกฎาคม).   การทดลองการเกิดเมฆ.  สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2560, จาก
         https://www.thaiphysicsteacher.com/make-a-cloud/

 

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สร้างเมฆง่าย ๆ ด้วยตนอง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 26 ธันวาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7752 สร้างเมฆง่าย ๆ ด้วยตนอง /article-chemistry/item/7752-2017-12-04-06-35-46
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่อกลืนหมากฝรั่ง
สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่อกลืนหมากฝร...
Hits ฮิต (7345)
ให้คะแนน
เชื่อว่าผู้ใหญ่หลายคนในตอนนี้คงเคยโดนอุบายของผู้ใหญ่ในวัยเด็กของตัวเองห้ามไม่ให้กลืนอาหารหรือขนมที่ ...
การบอกลักษณะคุณภาพน้ำในชุมชนของเรา
การบอกลักษณะคุณภาพน้ำในชุมชนของเรา
Hits ฮิต (17117)
ให้คะแนน
การบอกลักษณะคุณภาพน้ำในชุมชนของเรา สุทธินันท์ เเต่ยธรพกุล บทความที่เรียบเรียงขึ้นนี้เป็นตัวอย่างหนึ ...
บทบาทของวิตามินซีต่อการเสริมสร้างคอลลาเจน
บทบาทของวิตามินซีต่อการเสริมสร้างคอลลาเจ...
Hits ฮิต (43224)
ให้คะแนน
....บทบาทของวิตามินซีต่อการเสริมสร้างคอลลาเจน... รติยา คูเขตพิทักษ์วงศ์, พรพิมพา เพชรพงไพศาล คอลลาเ ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินดินดาน (shale)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน ความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับเรื่องการคูณ...
  • รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ...
  • หินไนส์ (gneiss)...
  • คณิตศาสตร์วิถีเอเชีย...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)