วัตถุระเบิดของโนเบล
หากพูดถึงคำว่า ระเบิด คงไม่มีใครไม่คุ้นชื่อคำว่า ไดนาไมต์ วัตถุระเบิดแรงสูง ผลงานงานสร้างชื่ออันเจ็บปวดและอยู่ในความทรงจำอันเศร้าหมอง แต่เป็นจุดเริ่มต้นของรางวัลอันยิ่งใหญ่ระดับสากลของนักวิทยาศาสตร์ (อ่านบทความเกี่ยวกับรางวัลโนเบล) ของอัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล (Alfred Bernhard Nobel) ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจโรงงานผลิตอาวุธขนาดใหญ่ ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันกับเจ้าระเบิดสร้างชื่อนี้
ภาพระเบิดไดนาไมท์
ที่มา https://ilovevaquero.com/obrazovanie/86915-kto-izobrel-dinamit-podrobnyy-razbor.html
การทำงานและการประดิษฐ์วัตถุระเบิดของอัลเฟรด โนเบล มีจุดเริ่มต้นมาจากบิดาของเขาเองซึ่งเป็นนักประดิษฐ์ทุ่นระเบิดและตอร์ปีโด ทำให้ได้รับการถ่ายทอดวิชาและเทคนิคการทำวัตถุระเบิดเบื้องต้นมาพอสมควร
ในปี ค.ศ. 18632 อัลเฟรด โนเบลสร้างโรงงานขนาดเล็กเพื่อวิจัยและทดลอง โดยมีความพยายามเพื่อหาวิธีการควบคุมการทำงานของระเบิดให้ระเบิดได้ยากขึ้น จนในที่สุดความพยายามนั้นก็สำเร็จ ในปี ค.ศ. 1863 อัลเฟรด โนเบลค้นพบวิธีที่จะทำให้การระเบิดเกิดขึ้นได้ยากขึ้น ซึ่งมีกระบวนการสำคัญคือการนำสารไนโตรกลีเซอรีน (nitroglycerin) สารตั้งต้นสำคัญของการทำวัตถุระเบิด ซึ่งมีความไวในการระเบิดสูงเมื่อมีแรงสั่นสะเทือน แต่มีความปลอดภัย ค้นพบโดยนักเคมีชาวอิตาลีนาม แอสคานิโอ โซเบรโน (Ascanio Sobrero) มารวมกับตัวซึมซับเฉื่อย เช่น ผงไดอะตอมมาเชียส (diatomaceous earth - ผงที่ทำจากซากไดอะตอม) หรือใยฝ้ายดูดซับเป็นตัวดูดซับ ทำให้ไม่ไวต่อการระเบิด บางแห่งเรียกว่าดินอะตอม ดินเบา แต่ที่คุ้นหูกันมากที่สุดคือผงดินปืนนั่นเอง
ถึงแม้ว่าจะทำให้การระเบิดเกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งจะมีความปลอดภัยมากในการผลิต แต่ในทางกลับกันอานุภาพความรุนแรงของการระเบิดกลับรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมมาก อัลเฟรด โนเบลจึงตั้งชื่อระเบิดชนิดนี้ว่า ไดนาไมต์ (Dynamite)
มาทำความรู้จัก ไนโตรกลีเซอรีน (nitroglycerin) กันอีกสักนิด
ไนโตรกลีเซอรีน สถานะปกติเป็นของเหลว ไม่มีสี เป็นสารประกอบเคมี ระหว่าง “ไนโตรเจน” กับ “กรีเซอรีน” ซึ่ง กรีเซอรีนนั้นทำมาจากน้ำมันถั่วลิสง และรู้จักกันดีว่าเป็นสารส่วนผสมผลิตภัณฑ์ประเภทสบู่นั่นเอง
ไดนาไมต์เป็นระเบิดชนิดรุนแรง แต่มีความปลอดภัยในการขนย้าย จึงถูกนำไปใช้ในวงกว้างทั่วโลกมักใช้ในอุตสาหกรรมชนิดต่าง ๆ เช่น การทำเหมืองแร่ การสร้างอุโมงค์ การขุดคลอง และในทางร้ายแรงคือในสงคราม
ซึ่งนั่นเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้อัลเฟรด โนเบล มักถูกมองว่าเป็นบุคคลอันตราย โดยมอบฉายานามให้เขาว่า พ่อค้าแห่งความตาย (Merchant of Death) อัลเฟรด โนเบล ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการทางด้านระเบิดเป็นอย่างมาก แต่ก็มีเหตุให้เขาต้องกลายเป็นเหมือนฆาตกรระดับโลก เพราะไดนาไมต์ถูกนำไปใช้เป็นอาวุธสงคราม และเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้อัลเฟรด โนเบลรู้สึกเศร้าเสียใจมาก ๆ คืออุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นในโรงงานผลิตวัตถุระเบิดของเขานั่นเอง และเหตุการณ์นั้นก็ทำให้น้องชายและคนงานของเขาเสียชีวิตไปจำนวนมาก
แหล่งที่มา
ไดนาไมต์. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2561, จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/ไดนาไมต์
อัลเฟรด โนเบล. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2561, จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/อัลเฟรด_โนเบล
อัลเฟรด โนเบล และรางวัลโนเบล. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2561, จาก
http://www.econ.tu.ac.th/oldweb/doc/article/fulltext/128.pdf
รู้ไหมว่า...ไดนาไมต์ทำจากถั่ว. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2561, จาก
http://www.econ.tu.ac.th/oldweb/doc/article/fulltext/128.pdf
MGR Online. (2552, 10 ตุลาคม). รู้ไหมว่า...ไดนาไมต์ทำจากถั่ว. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561, จาก
https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000119179
How X-rays WorkThe inventor of dynamite is Nobel. History of the invention of dynamite.
Retrieved Febuary 2, 2018,
https://ilovevaquero.com/obrazovanie/85443-izobretatel-dinamita-nobel-istoriya-izobreteniya-dinamita.html
-
7861 วัตถุระเบิดของโนเบล /article-chemistry/item/7861-2018-02-22-02-47-01เพิ่มในรายการโปรด