ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการให้น้ำเกลือ
เป็นเพราะได้มีโอกาสดูละครเรื่องหนึ่งที่มีฉากตัวละครนอนให้น้ำเกลืออยู่ในโรงพยาบาล และมีประโยคเด็ดที่พูดว่า “ไม่อยากนอนให้น้ำเกลืออีกแล้ว ฉันไม่อยากอ้วน” จึงเป็นที่มาของบทความนี้ ความเชื่อที่เข้าใจกันมาแบบผิด ๆ ที่ว่าการให้น้ำเกลือทำให้อ้วน น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เรามาดูกันว่าความเป็นจริงแล้วมันเป็นจริงอย่างในละครหรือไม่ และการให้น้ำเกลือให้เพื่ออะไรมีข้อเท็จจริงอะไรบ้างเกี่ยวกับให้น้ำเกลือ
ภาพ การให้น้ำเกลือ
ที่มา www.pixabay.com ,OpenClipart-Vectors
น้ำเกลือ หรือ fluid replacement therapy คือสารประกอบที่ประกอบด้วยน้ำผสมกับเกลือ จัดเป็นสารอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte)/สารเกลือแร่ชนิดเหลวที่มีองค์ประกอบของเกลือแกง (Sodium chloride) บริสุทธิ์ที่เรียกว่า “Pharmaceutical grade” โดยมีความเข้มข้นของสารละลายได้หลากหลายเช่น 0.9% หรือ 0.45% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสูตรตำรับยาที่มีวัตถุประสงค์การใช้แตกต่างกันออกไป ค่าความเป็นกรด-ด่างหรือที่เรียกกันว่าค่าพีเอช (pH) ของสารละลายน้ำเกลือจะอยู่ที่ 5.5 หรือในช่วง 4.5 – 7
โดยส่วนใหญ่การให้น้ำเกลือที่ปราศจากเชื้อจะให้ทางหลอดเลือดดำก็เพื่อปรับสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายแล้ว โดยเป็นการเจือจางของยาฉีดชนิดต่าง ๆ เพื่อฉีดเข้าเส้นเลือดหรือหลอดเลือดโดยเฉพาะหลอดเลือดดำ และในบางครั้งก็ผลิตออกมาเป็นน้ำยาล้างแผล น้ำยาทำแผล ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแสบขณะสัมผัสกับบาดแผล รวมไปถึงใช้เป็นน้ำยาล้างจมูกกรณีที่ป่วยด้วยโรคไซนัสอักเสบ รวมถึงใช้เป็นยาหยอดหูเพื่อบรรเทาอาการอักเสบของช่องหู
ในส่วนที่บอกว่าผู้ที่นอนป่วยจนถึงขั้นต้องให้น้ำเกลือทำไมถึงมีอาการบวมที่ร่างกายและใบหน้า ซึ่งมีคำตอบอยู่ว่าคือ เนื่องจากขณะที่เราป่วยเราอาจไม่สามารถรับประทานอาหารได้เป็นจำนวนมากด้วยสาเหตุจากลมักมีอาการที่ทำให้ทานอาหารได้น้อยลง หรือลำบากมากยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งระบบการย่อยอาหารและหากอวัยวะที่ทำหน้าที่ขับน้ำออกจากร่างกายทำงานได้ไม่ปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยท่านนั้นมีอาการบวมน้ำได้นั่นเอง และจริง ๆ ภาวะนี้ก็จะหายไปในไม่นาน
ข้อควรระวังการใช้ยาสารละลายน้ำเกลือเช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้หรือแพ้ส่วนประกอบในสูตรตำรับของยาสารละลายน้ำเกลือ
- ห้ามใช้กับสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ โดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์
- ระวังการใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยด้วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคตับโรคไต
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
แหล่งที่มา
น้ำเกลือ แบ่งออกได้กี่ชนิด มีข้อบ่งใช้ และข้อควรระวังอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2561. จาก https://www.honestdocs.co/saline-solution-types-and-uses
อภัย ราษฎรวิจิตร.สารละลายน้ำเกลือ (Saline or Sodium chloride solution). สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2561. จาก
haamor.com/th/สารละลายน้ำเกลือ/
จริงหรือไม่? นอนให้น้ำเกลือ ทำให้บวม-อ้วน.สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2561. จาก
https://www.sanook.com/health/6245/
-
8498 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการให้น้ำเกลือ /article-chemistry/item/8498-2018-07-18-04-45-04เพิ่มในรายการโปรด