Amazon ป่ามหัศจรรย์ ตอนที่ 2
จากตอนที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับแอมะซอนกันแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นป่าที่มีความมหัศจรรย์และมีความสวยงามจากธรรมชาติเป็นอย่างมาก ทำให้แอมะซอนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจจากคนทั่วโลกจากหลาย ๆ กลุ่ม เช่น นักสำรวจ นักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงนักท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากยอมจ่ายเงินให้กับไกด์ท้องถิ่น เพื่อเดินทางไปสัมผัสพืชพรรณหายากและสัตว์ป่าหายากเหล่านี้ แต่ที่เป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีก็คือ การบุกรุกและการรุกล้ำอาณาเขตจากกลุ่มนักลงทุนและแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติ ก็มุ่งหวังเข้าไปที่ผืนป่าแห่งนี้เช่นกัน ติดตามอ่านกันได้ในตอนที่ 2 นี้
ภาพชนเผ่า
ที่มา https://pixabay.com/ , eismannhans
ป่าแอมะซอนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีรายงานบันทึก ทุกปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปมากกว่า 700 ล้านคน ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และด้วยความที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และเริ่มมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเริ่มสนใจพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ก็เลยทำให้พื้นที่ป่าแห่งนี้กลายเป็นที่หมายตาของนักลงทุนและแสวงหาผลประโยชน์
เมื่อนักท่องเที่ยวเริ่มสนใจเข้าพื้นที่ป่า การบุกรุกเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างก็เริ่มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปยังป่าแห่งนี้ และนั่นจึงเป็นที่มาของการตัดไม้ทำลายพื้นที่ป่านั่นเอง มีรายงานว่า ในช่วง 50-60 ปีที่ผ่านมา มีการทำลายป่าไปถึง 17% - 20 % ของพื้นที่ป่าทั้งหมด และมีการปลุกคืนพื้นที่เพียง 3 % เท่านั้น ซึ่งเทียบไม่ได้กันเลยกับความเสียหายทั้งหมด
กลุ่มนักวิจัยที่ชื่อว่า Global Forest Watch ในมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ (University of Merryland) ได้รายงานว่า ในปี 2018 กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียพื้นป่าหลายแห่งในโลก รวมไปถึง ป่าแอมะซอนแห่งนี้
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ นายทุนแสวงหากำไรได้จัดตั้งโครงการสำรวจ-ขุดเจาะน้ำมัน ในบริเวณที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองแอมะซอน แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ว่า ชนเผ่าพื้นเมืองแอมะซอนชนะคดีพิพาทนี้ โดยศาลระบุว่าชาวพื้นเมืองวาโอรานี่มีสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของเอกวาดอร์ในการครอบครองที่ดินที่อาศัยมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งรัฐจะต้องการคุ้มครองโดยไม่มีข้อแม้
ที่ผ่านมามีการบุกรุกทำลายผืนป่าแอมะซอนอย่างต่อเนื่อง จากการแผ้วถางป่าเพื่อแปลงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม รวมถึงการตัดไม้และสำรวจแร่ธาตุอย่างผิดกฎหมาย
ความเสียหายของป่าแห่งนี้เปรียบได้กับการทำลายปอดของโลก ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรช่วยกันปกป้องผืนป่าซึ่งเป็นป่าสำคัญของโลกแห่งนี้
แหล่งที่มา
24 รูปภาพความมหัศจรรย์แห่ง “ป่าอเมซอน” และแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทำลายมันไปแค่ไหน. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2562. จาก https://www.catdumb.com/24-photo-of-amazon-destroy/
ชนพื้นเมืองแอมะซอนฟ้องชนะทุนใหญ่ คดีบุกรุกป่า ขุดเจาะน้ำมัน. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2562. จาก https://voicetv.co.th/read/UaoYYfKl6
ป่าแอมะซอนกำลังสูญเสียพื้นที่นับล้านตารางกิโลเมตร. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2562. จาก https://ngthai.com/environment/21452/amazonlosingitsland/
-
10468 Amazon ป่ามหัศจรรย์ ตอนที่ 2 /article-earthscience/item/10468-amazon-2เพิ่มในรายการโปรด