Andrei A. Sakharov ผู้สร้างระเบิดไฮโดรเจนของรัสเซีย และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
เมื่อรัสเซียกายใต้การปกครองของจอมเผด็จการสตาลิน (Stalin) ทดลองระเบิดไฮโดรเจนได้สำเร็จเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1953 Andrei A. Sakharov ก็ได้รับการยกย่องและคำชื่นชมว่าเขาคือบิดาของระเบิดไฮโดรเจน แต่ชาคารอฟไม่ได้รู้สึกภูมิใจหรือดีใจ ดังในสมุดบันทึกที่เขาเขียนว่า ได้เห็นฝูงนกพยายามบินหนีระเบิดแต่ไม่ทัน จึงตกลงมาตายในสภาพตาบอดและขนไหม้เกรียม
ภาพที่ 1 Andrei A. Sakharov
หลังจากนั้นรัสเซียได้ทุ่มเทความพยายาม เพื่อพัฒนาระเบิดไฮเตรเจนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่เหตุการณ์ฝูงนกเสียชีวิตเพราะถูกไฟประลัยกัลป์เผาทั้งเป็นก็ยังตราตรึงในความทรงจำของซาคารอฟตลอดมา ครั้นเมื่อเขาตระหนักว่าตนไม่มีอำนาจใด ๆ จะยับยั้งรัสเซียไม่ให้สร้างอาวุธที่เขาเนรมิตได้เขาจึงปรับเปลี่ยนทัศนคดีไปเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนอีก 22 ปีต่อมา ซาคารอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 1975 เหตุการณ์ทั้งสองนี้แสดงให้เห็นความขัดแย้งในบุคคลคนเดียวกัน อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้
ซาคารอฟเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1921 ที่กรุงมอสโก (Moscow) ประเทศรัสเซีย บิดาเป็นครูสอนฟิสิกส์ ซึ่งชอบใช้เวลาว่างเขียนบทความวิทยาศาสตร์ให้คนทั่วไปอ่านและโปรดปรานดนตรีคลาสสิก เพราะพ่อแม่เป็นคนได้รับการศึกษา ซาคารอฟจึงเป็นคนชอบทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นคนที่มีอารมณ์อ่อนไหวหลังจากที่ซาคารอฟจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เมื่ออายุ 17 ปี เขาได้ไปเรียนฟิสิกส์ระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมอสโก
ในเวลานั้นกองทัพนาซีของเยอรมนีกำลังเรืองอำนาจและกำลังคุกคามนานาประเทศในยุโรป ด้วยการบุกรัสเชียบรรดาหนุ่มรัสเซียจึงถูกกองทัพเกณฑ์ไปเป็นทหาร ซาคารอฟซึ่งกำลังป่วยเป็นโรคหัวใจระยะเริ่มต้นได้สมัครเป็นทหารด้วยเพราะรักชาติมาก แต่ถูกกองทัพปฏิเสธ ทำให้ต้องกลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยจนสำเร็จปริญญาตรีในวัย 21 ปี และได้ประกาศเจตนาว่า ไม่ต้องการเรียนต่อ เพราะต้องการเป็นทหารรับใช้ชาติในสงครามมากกว่า จึงไปทำงานเป็นวิศวกรในโรงงานสร้างอาวุธที่เมืองอัลยานอฟ (Ulyanovsk) โดยมีหน้าที่ทดสอบความแข็งแกร่งของกระสุนปืน
ขณะปฏิบัติงานซาคารอฟได้พบ คลาวา วิคิเรวา (Kava Vikhireva) ทั้งสองได้แต่งงานกัน ในเวลานั้นซาคารอฟมีอายุ 22 ปี และยังสนใจฟิสิกส์เหมือนเดิม โดยได้พยายามทำโจทย์ฟิสิกส์ที่ยากในยามว่างแล้วส่งคำตอบไปให้บิดาใช้ในการสอนพิเศษ
เมื่อบิดาอ่านโจทย์ และเห็นวิธีแก้ปัญหาของลูกชายก็รู้สึกประทับใจมาก จึงนำผลงานเหล่านั้นไปให้ อิกอร์ แทมม์ (Igor Tamm) อ่าน (แทมม์เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี ค.ศ. 1958 ผู้มีส่วนในการอธิบายการเกิดรังสีเซอเรนคอฟ (Cerenkov) ซึ่งเป็นรังสีที่อนุภาคเปล่งออกมาเวลาเคลื่อนที่ในตัวกลางด้วยความเร็วที่สูงกว่าความเร็วแสงในตัวกลางนั้น เมื่อแทมม์ได้อ่านและเห็นวิธีคิดของซาคารอฟ รู้สึกประทับใจในความสามารถของคนเขียนมากจึงชักชวนให้เรียนต่อระดับปริญญาเอก โดยสัญญาจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้
เดือนสิงหาคมปี คศ. 1945 ซาคารอฟรู้ข่าวสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรซิมา (Hirshima) และนางาซากิ (Nagasak) ในญี่ปุ่น ซาคารอฟจึงสนใจจะทำวิจัยเรื่องฟิชชัน (ission) (ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่นิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม (Uranium) และพลูโตเนียม (Plutonium) แยกตัวเวลารับอนุภาคนิวตรอนเข้าไป แล้วปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา เพื่อสร้างระเบิดปรมาณูให้รัสเซียบ้าง
ทั้ง ๆ ที่ในเวลานั้น ซาคารอฟกำลังวิจัยเรื่องเทคโนโลยีการค้นหาเรือดำน้ำ แต่ก็สามารถเบนความสนใจจากเรือดำน้ำไปเป็นฟิสิกส์นิวเคลียร์ได้ในทันที และคิดว่าถ้าเป็นไปได้จะสร้างระเบิดปรมาณูให้มีพลังในการทำลายล้างยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูของอเมริกา โดยการใช้ปฏิกิริยาฟิชขัน(ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีการหลอมรวมนิวเคลียสของธาตุเบาสองนิวเคลียสเข้าด้วยกัน) เพราะกระบวนการนี้สามารถปล่อยพลังงานออกมาได้มากกว่าฟิชขัน
ซาคารอฟได้ศึกษาพบว่า ถ้าใช้อะตอมไฮโดรเจน(ที่มีโปรตอน และอิเล็กตรอนอย่างละ 1 อนุภาศ) สองอะตอมมาหลอมรวมกัน ปฏิกิริยาฟิวขันจะเกิดขึ้นยาก แต่ถ้าใช้อะตอมที่มีโปรตอน 1 อนุภาค และอนุภาคมิวออน (muon) 1 อนุภาค เมื่อนำอะตอมชนิดใหม่มาหลอมรวมกัน ปฏิกิริยาฟิชซันจะเกิดได้ง่ายกว่า เพราะะตอมชนิดใหม่มีขนาดเล็กกว่าอะตอมไฮโดรเจน ความคิดนี้ทำให้ซาคารอฟได้รับเชิญเข้าร่วมโครงการผลิตระเบิดปรมาณูของรัสเซีย แต่ซาคารอฟตอบปฏิเสธ เพราะไม่ประสงค์จะให้ตนเป็นเครื่องมือของนักการเมือง
ในปี คศ.1948 แทมม์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโครงการสร้างระเบิดไฮโดรเจน โดยการนำอะตอมติวเทอเรียม (deuterium) มาหลอมรวมกับอะตอมทริเทียม (titum) เขาจึงเริ่มหาทีมทำงาน และได้ยาคอฟ เซลโดวิช (Yakov Ze'dovich) มาร่วมกันสร้างระเบิดไฮโดรเจนภายใต้บังคับบัญชาของแทมม์เซลโดวิชจึงเสนอความคิดให้สร้างระเบิดปรมาณูขนาดเล็กก่อน แล้วให้พลังงานมหาศาลที่เกิดจากการระเบิดบีบอัดนิวเคลียสของธาตุเบาสองนิวเคลียสให้รวมกัน เพราะแรงอัดสามารถชนะแรงผลักไฟฟ้าระหว่างประจุบวกของนิวเคลียสได้ปฏิกิริยาฟิวชันก็จะเกิด แล้วรัสเซียก็มีระเบิดไฮโดรเจนทันที
ซาคารอฟไม่ศรัทธาแนวคิดนี้นัก จึงเสนอวิธีใหม่ในการสร้างระเบิดไฮโดรเจน โดยให้แกนกลางของระเบิดไฮโดรเจนที่จะสร้างเป็นระเบิดปรมาณูขนาดเล็กและมีทรงกลมกลวงซ้อนกันหลายชั้นซึ่งทรงกลมเหล่านี้ทำด้วยติวทีเรียมและยูเรเนียมเรียงสลับกันเป็นชั้น ๆ เมื่อปฏิกิริยานิวเคลียร์อุบัติ พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจะบีบอัดดิวทีเรียมในทรงกลมกลวงให้ปล่อย neutron ออกมาไปทำปฏิกิริยาฟิชชันในยูเรเนียม ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในที่สุด
ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1950 ซาคารอฟกับแทมม์ได้เดินทางไปเมืองซารอฟ (Sarov ที่อยู่ห่างจาก Moscow ประมาณ 500 กิโลเมตร เพื่อสร้างระเบิด เพราะงานชิ้นนี้เป็นเรื่องราชการลับ ชื่อซารอฟจึงไม่ปรากฏบนแผนที่มีแต่รหัสว่า อาซามาส -16 (Arzamas-16) ทั้งสองได้ทุ่มเทความสามารถพัฒนาระเบิดฮใดรเจนของรัสเซียจนเป็นผลสำเร็จ การทดลองที่เซมิพาลาทินส์ (Semipalatinsk) ในไซบีเรีย (Siberia) แสดงให้เห็นว่า ระเบิดไฮโดรเจนของรัสเซียมีพลังประมาณ 20 เท่าของระเบิดปรมาณูที่ทำลายเมืองฮิโรซิม่า
ภาพที่ 2 อาซามาส -16 (Arzamas-16)
เมื่อนักอุตุนิยมวิทยารัสเชียตรวจพบว่า ฝุ่นกัมมันตรังสีที่เกิดหลังการทดลองเป็นอันตรายถึงชีวิตซาคารอฟจึงเสนอให้สถานที่ทดลองระเบิดครั้งต่อไปอยู่ไกลจากบริเวณอาศัยของผู้คน และขอให้กองทัพทดลองระเบิดไฮโดรเจนในสถานที่ ๆ กำหนดเท่านั้น ถ้อยแถลงนี้ได้รับการตอบโต้จากนายพลมิโทรแฟน เนเดเลน (Mitrofan Nedelen) ว่า หน้าที่นักวิทยาศาสตร์คือสร้างระเบิด ส่วนหน้าที่ใช้ระเบิดเป็นของทหาร
หลังจากนั้นไม่นานซาคารอฟได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสถาบัน Soviet Academy of Sciences ซึ่งมีเกียรติทัดเทียมกับสมาคม Royal Society ของอังกฤษ ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 32 ปี เขาจึงเป็นนักฟิสิกส์อายุน้อยที่สุดของสถาบัน อีกทั้งยังได้รับรางวัลสตาลิน (Stalin) ในฐานะวีรบุรุษของชาติด้วย ถึงอย่างไรก็ตามซาคารอฟก็ยังกังวลเรื่องภัยกัมมันตรังสี เพราะคิดว่า รังสีสามารถทำให้เซลล์ของสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ได้ นั่นคือ คนที่รับกัมมันตรังสีมีโอกาสเป็นมะเร็งแต่เขาก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่าการเกิดมะเร็งในคนมีสาเหตุจากกัมมันตรังสีเพียงอย่างเดียว
ซาคารอฟได้ขอให้อิกอร์ คูซาทอฟ (Igor Kurchatov) ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยวิจัยนิวเคลียร์ของรัสเซียเข้าพบนายกรัฐมนตรีครูสเซฟ (Khruschev) เพื่อแจ้งให้ทราบว่านักฟิสิกส์รัสเซียสามารถจำลองสถานการณ์การระเบิดปรมาณูและไฮโดรเจนได้ด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว ดังนั้นรัสเซียจึงไม่จำเป็นต้องทดลองจริง แต่ครูสเชฟไม่เห็นด้วย และบอกซาคารอฟว่า ห้ามเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง ถ้ายังไม่เข้าใจธรรมชาติของการเมือง ในปี ค.ศ.1962 รัสเซียจึงได้ทดลองระเบิดนิวเคลียร์อีก 2 ลูก ท่ามกลางเสียงคัดค้านของซาคารอฟ อีกหนึ่งปีต่อมาซาคารอฟจึงรู้สึกประหลาดใจมากที่รู้ว่าบรรดาประเทศมหาอำนาจของโลกได้ลงนามในสนธิสัญญาจำกัดการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในบรรยากาศ
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1967 ซาคารอฟ ได้เขียนบทความเรื่อง Reelections on Progress, Peaceful Coexistence and Intellectual Freedom ให้ผู้อำนวยการกองสอบสวนลับของรัสเซีย (KGB) อ่าน โดยชี้ให้เห็นภัยที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตถ้าเกิดสงครามนิวเคลียร์ เขายังได้กล่าวถึง เสรีภาพทางความคิดว่าจะทำให้ประเทศชาติมั่นคง
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1968 ซาคารอฟได้เขียนแนวคิดเรื่องการสร้างสันติภาพให้นายกรัฐมนตรีรัสเซีย เลโอนิด เบรสเนฟ (Leonid Bezhne) อ่าน บทความได้ถูกนำไปเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ BBC และในหนังสือพิมพ์ The New York Times ผลที่ตามมาคือ ซาคารอฟ ถูกขังคุกที่มอสโกและถูกห้ามไม่ให้ไปเยือนเมืองซารอฟ เพราะทางการเกรงว่าซาคารอฟจะมาสอดแนมเรื่องระเบิดปรมาณูที่เป็นความลับสุดยอดของชาติ
ในปี ค.ศ. 1975 ซาคารอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่รัฐบาลรัสเซียไม่อนุญาตให้เดินทางไปรับรางวัลที่ออสโล (Oslo) ในนอร์เวย์ ดังนั้น ภรรยาจึงต้องอ่านคำปราศรัยและคำขอบคุณของซาคารอฟในพิธีรับรางวัลแทน
ในปี ค.ศ.1984 เมื่อภรรยาล้มป่วยเป็นโรคหัวใจและไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรับการผ่าตัดที่อเมริกาซาคารอฟจึงประท้วงโดยการอดอาหาร จนล้มป่วยเข้าโรงพยาบาลอีกหนึ่งปีต่อมาภรรยาก็ได้รับอนุญาตให้ไปรักษาตัวที่อเมริกาและเดินทางกลับในปี ค.ศ. 1986
ในเดือนธันวาคม คศ. 1986 นายกรัฐมนตรีมิกคาอิล กอร์บาเซฟ (Mikhail Gorbachev) อนุญาตให้ซาคารอฟและครอบครัวเดินทางกลับมอสโกได้ และซาคารอฟได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัสเซียเป็นครั้งแรก
ในวันที่ 14 ธันวาคม ปี คศ. 1989 ขณะเวลา 3 ทุ่ม ภรรยาได้เห็นซาคารอฟวัย 68 ปี เตรียมบทความที่จะบรรยายในที่ประชุมสภาผู้แทนฯ อีก 2 ชั่วโมงต่อมา เธอก็พบว่าเขานอนสิ้นใจบนพื้นในห้องพัก ศพถูกนำไปฝังที่สุสานในมอสโค
ทุกวันนี้ที่รัสเซียมีถนนชื่อ Sakharov Avenue พิพิธภัณฑ์ Sakharov และที่กรุงเยลูซาเล็ม (Jerusalem)ในอิสราเอล (Israel) มีจัตุรัส Sakharov ฯลฯ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
Lourie, Richard. (1990). Andrei Sakharov: Memairs. Alfred A. Knorf.
-
12575 Andrei A. Sakharov ผู้สร้างระเบิดไฮโดรเจนของรัสเซีย และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ /article-earthscience/item/12575-2022-02-15-07-00-17-2-2เพิ่มในรายการโปรด