กาแล็กซีชนิดกังหัน (spiral galaxy) ซึ่งเป็นกาแล็กซีที่มีมากถึง 75% - 85% ในเอกภ (universe) เป็นกาแล็กซีประเภทหนึ่งที่เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้ศึกษาและจัดกลุ่มเอาไว้ตามแผนภาพส้อมเสียงของฮับเบิล (Hubble tuning fork diagram) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1926 (ดูภาพ 1) และแผนภาพดังกล่าวยังคงใช้กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้พยายามเพิ่มรายละเอียดประเภทของกาแล็กซีข้าไปเพื่อให้สามารถตอบโจทย์กาแล็กซีที่พวกเขาพบ แต่โดยพื้นฐานแล้ววิธีจัดประเกทต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังคงอาศัยหลักการของฮับเบิลอยู่นั่นเอง
ภาพ 1 แผนภาพส้อมเสียงจัดประเภทกาแล็กซีของฮับเบิล
ที่มา: http://www.spacetelescope.org/images/heic9902o/
ลำดับภาพที่ปรากฏในแผนภาพส้อมเสียงนี้ไม่มีความเชื่อมโยงกัน กล่าวคือกาแล็กซีชนิดรีไม่ได้มีวิวัฒนาการจนกลายมาเป็นกาแล็กซีชนิดกังหันแต่อย่างใด แม้นักวิทยาศาสตร์สมัยก่อนจะเคยเชื่ออย่างนั้นก็ตาม เพราะปัจจุบันพบหลักฐานแล้วว่ากาแล็กซีแต่ละแบบมีรูปร่างเป็นเช่นนั้นมาตั้งแต่แรกแล้วหรือพูดง่าย ๆ ว่ากาแล็กซีทั้งหมดในเอกภพเกิดขึ้นพร้อมกันนั่นเอง เช่น พบหลักฐานว่าดวงดาวที่มีอายุมากที่สุดในกาแล็กซีต่าง ๆ ในกลุ่มท้องถิ่น (local group) นั้นมีอายุเท่ากันซึ่งหมายความว่ากาแล็กซีเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันจากภาพ 1 กาแล็กซีชนิดกังหันซึ่งอยู่บริเวณขาของส้อมเสียงทั้งด้านบนและด้านล่าง มีทั้งที่มีคาน (SBa, SBb, SBc) และไม่มีคาน (Sa, Sb, Sc) หากกาแล็กซี่หันด้านบน (face-on) มาทางโลก เราจะมองเห็นกาแล็กซีชนิดกังหันมีลักษณะตรงตามชื่อคือมีรูปร่างคล้ายกังหันลม (ดูภาพ 2)
ภาพ 2 (ข้าย) กาแล็กซีชนิดกังหัน จาก European Space Agency & NASA
ที่มา: http://www.spacetelescope.org/images/heic0602a/
(ขวา) กังหันลม
ที่มา: http://loveinspired.com/projects/how-to-make-a-paper-pinwhee/
แม้ว่ากาแล็กซีชนิดกังหันจะดูเหมือนมีแขนอยู่จำนวนมากโดยรอบ แต่เมื่อสังเกตให้ดีจะพบว่าแท้จริงแล้วกาแล็กซีชนิดกังหันมีแขนเริ่มต้นเพียง 2 แขนที่เหวี่ยงโค้งออกจากใจกลางอย่างไรก็ตาม นอกจากลักษณะภายนอกของกาแล็กซีชนิดกังหันที่ดูสวยงามและเป็นเอกลักษณ์แล้ว เราควรทำความรู้จักกับส่วนประกอบและองค์ประกอบต่าง ๆ ของกาแล็กซีชนิดนี้ว่ามีอะไรบ้าง
กาแล็กซีชนิดกังหันประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนโป่ง (bulge) จาน (disk) และฮาโล (halo) หรือกลด (ดูภาพ 3)
ภาพ 3 ส่วนประกอบหลักของกาแล็กซีชนิดกังหัน
ที่มา: http://www.icc.dur.ac.uk/~tt/Lectures/Galaxies/Schombert/MilkyWay/Source/HtmV/MilkyWay.html
ส่วนโป้ง มีลักษณะเป็นทรงกลมพบได้บริเวณใจกลางกาแล็กซี มักประกอบด้วยดาวฤกษ์อายุมาก จึงเป็นส่วนที่มีสีแดง
จาน ประกอบด้วยฝุ่น แก๊ส และดาวฤกษ์อายุน้อย ส่วนที่เรียกว่าจานนี้เป็นบริเวณที่แขนของกาแล็กซีกังหันก่อตัวขึ้นเนื่องจากแขนของกังหันมีดาวฤกษ์อายุน้อยเป็นส่วนใหญ่ เราจึงมองเห็นส่วนแขน เป็นสีน้ำเงิน สำหรับกาแล็กซีทางช้างเผือกซึ่งเป็นกาแล็กซีที่มีระบบสุริยะของเราอยู่และเป็นกาแล็กซีชนิดกังหันนั้น จะมีดวงอาทิตย์ตั้งอยู่ที่แขนข้องกาแล็กซีค่อนมาทางปลายแขน
ฮาโล หรือกลด มีลักษณะเป็นทรงกลม แผ่รัศมีบาง ๆ ปกคลุมส่วนโป่งและบางส่วนของจาน ฮาโลประกอบด้วย แก๊สฝุ่น กระจุกดาวอายุมากที่เรียกว่า กระจุกดาวทรงกลม (globular cluster)
ภาพ 4 ส่วนประกอบหลักทั้งสามส่วนของกาแล็กซีชอมเบรโร (Sombrero galaxy (M104))
ที่มา: http://gtn.sonoma.edu/resources/normal_galaxies/spiral.php
การทำความรู้จักกับกาแล็กซีชนิดกังหันไม่เพียงทำให้เราได้ซึมซาบความสวยงามของวัตถุท้องฟ้า แต่ยังช่วยให้มนุษย์ได้เข้าใจและรู้จักตัวตนของเรามากยิ่งขึ้น เพราะกาแล็กซีทางช้างเผือกที่มนุษย์เราอาศัยอยู่นี้ก็เป็นกาแล็กซีกังหันชนิดหนึ่ง (กังหันแบบมีคาน) เช่นเดียวกัน เราสามารถเรียนรู้ตัวตนของเราได้จากกาแล็กซีอื่น ๆ ที่มองเห็นได้บนท้องฟ้า กล่าวคือ กาแล็กซีชนิดกังหันที่อยู่บนท้องฟ้ามีลักษณะและสมบัติเป็นอย่างไรกาแล็กซีที่เราอาศัยอยู่ก็มีลักษณะและสมบัติไม่ต่างกันคล้ายกับการส่องกระจกแล้วเห็นเงาของตัวเองนั่นเอง
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
Galaxies. Retrieved January 2, 2015, from http://www.astro.cornell.edu/academics/courses/astro201/galaxies/types.htm
Onedirectionloveyou. (15 สิงหาคม 2555). กาแล็กซี. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2558, จาก https://astronomyforu.wordpress.com
Wikipedia. (2014). Spiral galaxy. Retrieved January 2, 2015, from http://en.wikipedia.org/wiki/Spiral galaxy
Erin McNally. (2000). Types and Classification of
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)