ซูเปอร์มูน (Supermoon)
ชูเปอร์มูนคืออะไร?
ชูเปอร์มูน คือ ดวงจันทร์ที่เห็นโตกว่าปกติ ถ้าเป็นจันทร์เพ็ญจะเห็นความแตกต่างระหว่างจันทร์เพ็ญที่เป็นชูเปอร์มูนูและจันทร์เพ็ญที่เป็นจันทร์เพ็ญปกติชัดเจนมาก ทั้งนี้เพราะพื้นที่ของชีเปอร์มูนจะมากกว่าพื้นที่ของจันทร์เพ็ญปกติถึง 30% หรือถ้ำเปรียบเทียบเส้นผ่านศูนย์กลางซูเปอร์มูนจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าจันทร์เพ็ญปกติ 15%
สาเหตุที่ดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนแปลงเพราะวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นวงรี จึงมีจุดที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด (perigee) และจุดที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุด (apogee) ถ้าจันทร์เพ็ญอยู่ที่จุดใกล้โลกที่สุดจะเป็นจันทร์เพ็ญซูเปอร์มูน ในขณะที่จันทร์เพ็ญซึ่งเกิดขณะอยู่ไกลโลกที่สุดจะเป็นจันทร์เพ็ญเล็กที่สุดซึ่งเล็กกว่าจันทร์เพ็ญปกติ
รูปเปรียบเทียบระหว่างจันทร์เพ็ญชูเปอร์มูนและจันทร์เพ็ญเล็กที่สุด
ที่มา:http:/thaiastro.nectec.or.th/library/bigfull-moon/bigfullmoon.html
ที่มาของคำว่าซูเปอร์มูน
นักโหราศาสตร์ชื่อ ริชาร์ด โนลล์ (Richard Nolle)เรียกดวงจันทร์เพ็ญและจันทร์ดับที่โตกว่าปกติเมื่อกว่า 30 ปีมาแล้วว่า ชูเปอร์มูน การเกิดชูเปอร์มูนูเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์อยู่ที่จุดใกล้โลกที่สุด หรือจุดที่ใกล้จุดนี้ไม่น้อยกูว่า 90% ใน 1 ปี จะมีชูเปอร์มูนเฉลี่ย 4 - 6 ครั้ง จากนิยามของโนลล์ ใน ค.ศ. 2015 ดวงจันทร์ที่จะเป็นซูเปอร์มูนต้องอยู่ใกล้โลกน้อยกว่า 361,836 กิโลเมตร (เป็นระยะระหว่างจุดศูนย์กลางของโลกถึงจุดศูนย์กลางของดวงจันทร์)
ชูเปอร์มูนใน ค.ศ. 2015
ใน ค.ศ. 2015 มีซูเปอร์มูน 6 ครั้ง คือ จันทร์ดับ 3 ครั้งคือ (20 มกราคม) 18 กุมภาพันธ์ และ 20 มีนาคม (เราไม่สามารถสังเกตจันทร์ดับได้เพราะดวงจันทร์อยู่ไปทางเดียวกับดวงอาทิตย์ และจันทร์เพ็ญอีก 3 ครั้ง คือ
- จันทร์เพ็ญในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2015 เวลา 01:35 น.
- จันทร์เพ็ญในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2015 เวลา 09-50 น.
- จันทร์เพ็ญในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2015 เวลา 19:05 น.
- ชูเปอร์มูนในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2015 ดวงจันทร์อยู่ห่างโลก 356,896 กิโลเมตร
ซูเปอร์มูนใกล้โลกที่สุด
ดวงจันทร์เพ็ญจะอยู่ตรงจุดใกล้โลกที่สุดทุก ๆ 1 ปี 1 เดือน 18 วัน หรือ ทุกู ๆ 1 ปี 48 วัน ดังเช่นจันทร์เพ็ญที่เป็นชูเปอร์มูนดังต่อไปนี้
และในอนาคต จันทูร์เพ็ญชูเปอร์มูนจะอยู่ใกล้กว่า356,500 กิโลเมตร เป็นครั้งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 (ค.ศ. 2001 - 2100) ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2034 โดยดวงจันทร์จะอยู่ห่างโลก 356,446 กิโลเมตร ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ใกล้โลกที่สุด แต่ซูเปอร์มูนที่อยู่ใกล้โลกที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตรงกับวันที่6 ธันวาคม ค.ศ. 2052 โดยดวงจันทร์จะอยู่ห่างโลก 356,425 กิโลมตร (เอาโลกมาเรียงกันเพียง 27.9 โลกเทียบกับระยะเฉลี่ย 30 โลก)
เกิดจันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2015
ชูเปอร์มูนในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2015 ซึ่งตรงกับคืนวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2015 ในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ จะเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก จึงเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เห็นได้ตลอดปรากฏการณ์คือ ตั้งแต่เริ่มเกิดจนถึงสิ้นสุดในทวีปอเมริกาใต้ ทวีป้อเมริกาเหนือฝั่งตะวันออก ฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา ฝั่งตะวันตกสุดของทวีปยุโรปขณะนั้นเป็นเวลากลางวันของประเทศไทย เราจึงไม่เห็นจันทรุปราคา แต่เราจะเห็นซูเปอร์มูนในคืนวันที่ 28 กันยายน ถ้าไม่มีเมฆทั่วประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์เพ็ญมีขนาดใหญ่กว่าปกติตลอดทั้งคืน ในคืนนั้นดวงจันทร์จะขึ้นใกล้จุดทิศตะวันออกมากเพราะดวงอาทิตย์ตกใกล้ทิศตะวันตกประเทศในชีกโลกเหนือที่อยู่ในแถบอบอุ่นเหนือเรียกจันทร์เพ็ญในเดือนกันยายนว่า ดวงจันทร์แห่งการเก็บเกี่ยว (Harvest Moon) เพราะแสงจันทร์ช่วยขยายเวลาสว่างของผู้คนได้ยาวขึ้น ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้นานมากขึ้น
เวลาของการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2015 และดวงจันทร์สีแดง
ก่อนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงจะเกิดจันทรุปราคาเงามัวก่อน โดยเริ่มต้นด้วยจันทรุปราคาเงามัวบางส่วน (เมื่อดวงจันทร์อยู่ที่ P1) เป็นจังหวะที่ดวงจันทร์เริ่มสัมผัสเงามัวของโลก ครั้นเมื่อดวงจันทร์สัมผัสเงามีดของโลก (U1) จะเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเริ่มเห็นดวงจันทร์ แหว่งตรงจุดที่สัมผัสเงามืดของโลกดวงจันทร์จะแหว่งมากขึ้น จนกระทั่งเห็นดวงจันทร์มืดลงทั้งดวง เมื่อดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกทั้งหมด (U2) เรียกว่า จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดลงเมื่อดวงจันทร์สัมผัสเงามัวของโลก (ดวงจันทร์อยู่ที่ U3) เห็นดวงจันทร์เริ่มสว่างทีละน้อย กลายเป็นจันทรุปราคาบางส่วนอีกครั้งก่อนจะสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนเมื่อดวงจันทร์ออกจากเงามืดของโลกทั้งหมด (U4) หลังจากนั้นดวงจันทร์จะอยู่ในเงามัวเป็นจันทรุปราคาเงามัวเห็นดวงจันทร์มืดคล้ายเมฆบาง ๆ บัง ก่อนที่ดวงจันทร์จะอยู่ในเงามัวบางส่วนของโลก (P4)
ลำดับการเกิดจันทรุปราคา 25 กันยายน ค.ศ. 2015
ที่มา: http://morning-news.bectero.com/international/25-Sep-2015/55782
รูปสุริยุปราคาบางส่วนที่จะเห็นในประเทศไทยในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2016 รูป ก. ที่กรุงเทพฯ รูป ข. ที่ภูเก็ต
ที่มา: http://media.zuza.com/c/b/cb1029f1-48ea-433396ce-bf96d0880801/Partial Solar Ecilpse SeriesB-Dec.25.00-B eb775_Gallery.jpg
รูปสุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเห็นที่สุลาเวสีในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2016
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse
เมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงขณะที่ดวงจันทร์เป็นซูเปอร์มูน ในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2016 ดวงจันทร์จึงยังดวงอาทิตย์เต็มดวงได้นานถึง 4 นาที 9 วินาที สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดนานมากยิ่งขึ้นถ้าเกิดในช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลโลกมากที่สุด วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลโลกมากที่สุดคือ 4 กรกฎาคม ดังนั้นถ้าเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในเวลาใกล้เคียงกับ 4 กรกฎาคม ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงก็จะนานและประกอบกับเกิดขณะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุดด้วย ก็จะเพิ่มเวลาสุริยุปราคาเต็มดวงได้มาก เช่น สุริยุปราคาเต็มดวงที่เห็นในประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1955 เกิดขณะที่โลกอยู่ใกล้จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดทำให้เห็นดวงอาทิตย์มีขนาดเล็กส่วนดวงจันทร์ในวันนั้นอยู่ห่างโลก 360,000 กิโลเมตร จึงปรากฎใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เมื่อเทียบขนาดเชิงมุมแล้วพบว่า วันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1955 ดวงอาทิตย์มีขนาดปรากฏ 31.6 ลิปดาดวงจันทร์มีขนาดปรากฏ 34 ลิปดา ดวงจันทร์จึงบังดวงอาทิตย์เต็มดวงได้นานถึง 7 นาที 8 วินาที นับว่าเป็นเวลานานที่สุดของสุริยุปราคาชุดนี้
ชูเปอร์มูนสังเกตได้ง่าย ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษใด ๆ สิ่งที่ต้องการคือท้องฟ้าที่แจ่มใสไร้เมฆหมอก ชูเปอร์มูนขณะกำลังขึ้นหรือกำลังตกจะเห็นใหญ่กว่าขณะอยู่สูงเพราะปรากฎการณ์ภาพลวงตาด้วย ถ้าไปอยู่บนดวงจันทร์ด้านใกล้โลกจะเห็นโลกลอยเด่นขนาดใหญ่อยู่บนฟ้าของดวงจันทร์ ตอนเต็มดวงจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 4 เท่าของจันทร์เพ็ญ โลกลอยอยู่ที่เดิมตลอด แต่เปลี่ยนรูปร่างจากเสี้ยวเป็นครึ่งดวง เป็นค่อนดวง และเต็มดวง ก่อนที่จะปรากฏเป็นโลกค่อนดวง โลกครึ่งดวง โลกเป็นเสี้ยว และโลกมืด กลับมาเป็นเสี้ยวอีกครั้งหนึ่ง เป็นรอบรอบละ 1 วันของดวงจันทร์ หรือ 27.3 วันของโลก ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบเท่ากับเวลาที่โคจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับ 27.3 วันบนโลก และดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลกตลอดเวลา จึงเห็นโลกอยู่ที่เดิมบนท้องฟ้าของดวงจันทร์ด้วย
มนุษย์ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับดวงจันทร์ให้มากขึ้นเพราะในอนาคตการเดินทางของมนุษย์ไปยังดาวดวงอื่นจุดหมายแรกคือ ดวงจันทร์ เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด และจะกลายเป็นสถานีของการเดินทางไปดาวดวงอื่นได้อย่างดี
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
SOLAR ECLIPSE CRUISE INDONESIA 2016. RetrievedSeptember 22, 2015, from http://www.astroadventures.net/2016/indonesia/eclipse.html.
Solar eclipse. Retrieved September 22, 2015, from https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse จันทร์เพ็ญ
เมื่อดวงจันทร์ใกล้โลก. ดาราศาสตร์ไทย.สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2558, จาก http://thaiastro.nectec.or.th/library/bigfullmoon/bigfullmoon.html.
รูปสุริยุปราคาบางส่วนที่จะเห็นในประเทศไทย. สืบคันเมื่อ 25 กันยายน 2558, จาก http://media.zuza.com/c/b/cb1029f1-48ea-4333-96ce-bf96d0880801/Partial Solar Ecilpse SeriesB-Dec.25.00-B eb775Gallery.jpg.
ลำดับการเกิดจันทรุปราคา. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2558,จาก http://morning-news.bectero.com/international25-Sep-2015/55782.
-
12621 ซูเปอร์มูน (Supermoon) /article-earthscience/item/12621-2022-07-25-08-20-30-25เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง