Eris ดาวเคราะห์แคระของสุริยจักรวาล
โดย :
สสวท.
เมื่อ :
วันศุกร์, 22 กรกฎาคม 2554
Hits
35446
Eris ดาวเคราะห์แคระของสุริยจักรวาล
สุริยะ จักรวาลที่คนโบราณเมื่อ 4,000 ปีก่อนรู้จักประกอบด้วย ดาวเคราะห์ 6 ดวง ได้แก่ พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเวลาต่อมา ทำให้ Herschel พบดาวยูเรนัส John Adams พบดาวเนปจูน และนักดาราศาสตร์ได้เห็นดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์เหล่านี้ รวมถึงดาวเคราะห์น้อยด้วย และเมื่อถึงปี 2473 Clyde Tombaugh ก็ได้พบดาวพลูโตว่าเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่โคจรอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มาก ที่สุด
ในปี 2486 Kenneth Edgeworth เป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่ได้เสนอความคิดว่า สุริยะจักรวาลคงมีวัตถุขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากที่โคจรรอบ และอยู่ไกลดวงอาทิตย์ยิ่งกว่า พลูโต ซึ่งวัตถุเหล่านี้ เป็นขยะที่หลงเหลือหลังจากที่ดาวเคราะห์ใหญ่น้อยทั้ง 9 ดวง ได้ถือกำเนิดแล้ว แต่ก็ไม่มีใครเห็นวัตถุที่ Edgeworth กล่าวถึงเลย ทั้งนี้เพราะวัตถุเหล่านั้นมีขนาดเล็ก และผิวของมันสะท้อนแสงน้อย
ก. (บนซ้าย) กลุ่มดาวเคราะห์ภายในของสุริยะจักรวาลตั้งแต่พุธจนถึงของพฤหัสบดี
ข. (บนขวา) กลุ่มดาวเคราะห์ภายนอกตั้งแต่เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน พลูโต และเซ็ดนา
ค.(ล่างขวา) แสดงวงโคจรของ Sedna และ
ง. (ล่างซ้าย) ตำแหน่งของสุริยจักรวาลกับเมฆ Aort
จนกระทั่งถึงปี 2535 การค้นหาดาวชนิดที่ไม่มีแสงในตัว และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ รอบดวงอาทิตย์ อีกทั้งอยู่ไกลมากก็ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้เห็น ดาวขนาดเล็กเหล่านี้กว่า 50,000 ดวงแล้ว ดาวส่วนใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวตั้งแต่ 10 - 100 เมตร แต่บางดวงก็ใหญ่ คือ มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวเป็นร้อยเป็นพันกิโลเมตร
ทฤษฎีกำเนิดของสุริยะจักรวาลที่นักดาราศาสตร์ยึดถือ พยากรณ์ว่า เมื่อดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์ถือกำเนิดเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ณ ไกลห่างจากดวงอาทิตย์ยิ่งกว่าดาวพลูโต จะมีวัตถุขนาดเล็กมากมายโคจรจำนวนรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น เวลาวัตถุเหล่านี้โคจรตัดหน้าดาวฤกษ์ ความสว่างของดาวฤกษ์ที่ปรากฏต่อสายตาของนักดาราศาสตร์บนโลกที่กำลังสังเกต ดาวฤกษ์ดวงนั้นจะลดลงทันที การรู้ข้อมูลเวลาที่วัตถุบดบังแสงจะทำให้นักดาราศาสตร์รู้ขนาดของมันได้ ทฤษฎีสุริยะจักรวาลยังพยากรณ์อีกว่า วัตถุที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ 10 - 100 เมตรนี้ มีทั้งสิ้นประมาณพันล้านล้านชิ้น
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2546 Michael Brown แห่ง California Institute of Technology ซึ่งใช้กล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาว Keck บนยอดเขา Mauna Kea ในฮาวาย ได้ทำให้วงการดาราศาสตร์สั่นสะเทือน ด้วยข่าวการพบดาวดวงหนึ่งซึ่งเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ แต่มีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต โคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ยิ่งกว่าดาวพลูโต และดาว Sedna ที่พบโคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อปี 2541 เสียอีก
Brown ได้ตั้งชื่อเล่นของดาวดวงใหม่ว่า "Xena" ตาม ชื่อของเทพเจ้าสาวในตำนานเทพนิยายของชนเผ่า Inuit ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในทะเลน้ำแข็งได้นานถึง 650 ปี นักดาราศาสตร์ได้เรียกชื่อดาวอย่างเป็นทางการว่า 2003 UB 313 การศึกษาคุณสมบัติของ Xena ทำให้เรารู้ว่า อุณหภูมิที่ผิวของดาวสูงประมาณ -243 องศาเซลเซียส ผิวมีสีแดงเรื่อๆ คล้ายดาวอังคาร อีกทั้งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3000 - 400 กิโลเมตร (จึงใหญ่กว่าพลูโตที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 2,390 กิโลเมตร) ข้อมูลยังแสดงอีกว่า ระนาบการโคจรของ Xena เอียงทำมุม 45 องศา กับระนาบการโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และวงโคจรมีความรียิ่งกว่า
วงโคจรของพลูโตและ Xena โคจรห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ยประมาณ 3 เท่าของระยะทางที่พลูโตห่าง ดังนั้น มันจึงใช้เวลาประมาณ 2 เท่าของ พลูโตในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ การอยู่ไกลมากเช่นนี้ ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลาเป็นวัน จึงเดินทางถึง Xena แล้วสะท้อนกลับมายังโลก
นอกจาก Xena จะมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโตแล้ว นักดาราศาสตร์ก็ยังพบอีกว่า Xena มีดวงจันทร์บริวารหนึ่งดวงชื่อ Gabrielle ซึ่งโคจรรอบมันทุก 14 วัน และดวงจันทร์นี้มีความสว่างน้อยกว่า Xena ราว 60 เท่า การมีดวงจันทร์บริวาร และมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโตเช่นนี้ ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องหันมาทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับสถานภาพของดาวพลูโต ใหม่ว่า สมควรเรียกมันเป็นดาวเคราะห์ต่อไปหรือไม่
ภาพเปรียบเทียบวงโคจรและเส้นผ่าศูนย์กลางของ Sedna กับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ของสุริยะจักรวาล
เพราะถ้าให้มันเป็นดาวเคราะห์ นั่นก็หมายความว่า ดาวอื่นๆ เช่น Sedna, Quaoar, 2003 EL61 ที่มีดวงจันทร์บริวาร 2 ดวง, 2005 FY9 ฯลฯ ซึ่งต่างก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ และมีขนาดไม่แตกต่างจากดาวพลูโตมาก ก็มีสิทธิจะได้รับการสถาปนาเป็นดาวเคราะห์ด้วย
วันที่ 18 สิงหาคม 2549 International Astronomical Union (IAU) ซึ่งเป็นสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ ได้จัดประชุมที่กรุง Prague โดยมีนักดาราศาสตร์ 2,500 คน จากประเทศทั่วโลกมาประชุม เพื่อตกลงหาคำจำกัดความใหม่ของดาวเคราะห์ให้เหมาะสม
และเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ที่ประชุม IAU ได้ลงมติเปลี่ยนสถานภาพของดาวพลูโต, ดาวเคราะห์น้อย Ceres, ดวงจันทร์ Charon ของพลูโต กับ Xena ว่าเป็นดาวเคราะห์ชนิดใหม่ ชื่อ ดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) โดยให้เกณฑ์หยาบๆ สำหรับคำจำกัดความของดาวเคราะห์ว่า มีลักษณะกลม เป็นบริวารของดาวฤกษ์ และมีวงโคจรที่ไม่สอดแทรกผ่านเข้าไปในวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และไม่เป็นดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ด้วย
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2549 International Astronomical Union ได้ออกแถลงการณ์ว่า ดาว Xena ที่ได้ทำให้วงการดาราศาสตร์ทั่วโลกปั่นป่วน เพราะต้องหันมาทบทวนความรู้เรื่องดาวเคราะห์ใหม่ ได้รับชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า "Eris" แล้ว
ซึ่งนับว่าเหมาะสม เพราะ Eris ในเทพนิยายกรีก คือ เทพธิดา ผู้ชอบทำให้เทพธิดาอื่นๆ ทะเลาะวิวาท จนมีผลทำให้เกิดสงครามกรุง Troy ในที่สุด และ Eris ในวงการดาราศาสตร์ก็เช่นกัน คือ มีบทบาททำให้ นักดาราศาสตร์มีวิวาทะวิชาการกัน จนมีผลทำให้ดาวพลูโตต้องเปลี่ยนสถานภาพจากดาวเคราะห์ธรรมดาเป็นดาวเคราะห์ แคระครับ
ในปี 2486 Kenneth Edgeworth เป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่ได้เสนอความคิดว่า สุริยะจักรวาลคงมีวัตถุขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากที่โคจรรอบ และอยู่ไกลดวงอาทิตย์ยิ่งกว่า พลูโต ซึ่งวัตถุเหล่านี้ เป็นขยะที่หลงเหลือหลังจากที่ดาวเคราะห์ใหญ่น้อยทั้ง 9 ดวง ได้ถือกำเนิดแล้ว แต่ก็ไม่มีใครเห็นวัตถุที่ Edgeworth กล่าวถึงเลย ทั้งนี้เพราะวัตถุเหล่านั้นมีขนาดเล็ก และผิวของมันสะท้อนแสงน้อย
ก. (บนซ้าย) กลุ่มดาวเคราะห์ภายในของสุริยะจักรวาลตั้งแต่พุธจนถึงของพฤหัสบดี
ข. (บนขวา) กลุ่มดาวเคราะห์ภายนอกตั้งแต่เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน พลูโต และเซ็ดนา
ค.(ล่างขวา) แสดงวงโคจรของ Sedna และ
ง. (ล่างซ้าย) ตำแหน่งของสุริยจักรวาลกับเมฆ Aort
ทฤษฎีกำเนิดของสุริยะจักรวาลที่นักดาราศาสตร์ยึดถือ พยากรณ์ว่า เมื่อดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์ถือกำเนิดเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ณ ไกลห่างจากดวงอาทิตย์ยิ่งกว่าดาวพลูโต จะมีวัตถุขนาดเล็กมากมายโคจรจำนวนรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น เวลาวัตถุเหล่านี้โคจรตัดหน้าดาวฤกษ์ ความสว่างของดาวฤกษ์ที่ปรากฏต่อสายตาของนักดาราศาสตร์บนโลกที่กำลังสังเกต ดาวฤกษ์ดวงนั้นจะลดลงทันที การรู้ข้อมูลเวลาที่วัตถุบดบังแสงจะทำให้นักดาราศาสตร์รู้ขนาดของมันได้ ทฤษฎีสุริยะจักรวาลยังพยากรณ์อีกว่า วัตถุที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ 10 - 100 เมตรนี้ มีทั้งสิ้นประมาณพันล้านล้านชิ้น
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2546 Michael Brown แห่ง California Institute of Technology ซึ่งใช้กล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาว Keck บนยอดเขา Mauna Kea ในฮาวาย ได้ทำให้วงการดาราศาสตร์สั่นสะเทือน ด้วยข่าวการพบดาวดวงหนึ่งซึ่งเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ แต่มีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต โคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ยิ่งกว่าดาวพลูโต และดาว Sedna ที่พบโคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อปี 2541 เสียอีก
Brown ได้ตั้งชื่อเล่นของดาวดวงใหม่ว่า "Xena" ตาม ชื่อของเทพเจ้าสาวในตำนานเทพนิยายของชนเผ่า Inuit ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในทะเลน้ำแข็งได้นานถึง 650 ปี นักดาราศาสตร์ได้เรียกชื่อดาวอย่างเป็นทางการว่า 2003 UB 313 การศึกษาคุณสมบัติของ Xena ทำให้เรารู้ว่า อุณหภูมิที่ผิวของดาวสูงประมาณ -243 องศาเซลเซียส ผิวมีสีแดงเรื่อๆ คล้ายดาวอังคาร อีกทั้งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3000 - 400 กิโลเมตร (จึงใหญ่กว่าพลูโตที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 2,390 กิโลเมตร) ข้อมูลยังแสดงอีกว่า ระนาบการโคจรของ Xena เอียงทำมุม 45 องศา กับระนาบการโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และวงโคจรมีความรียิ่งกว่า
วงโคจรของพลูโตและ Xena โคจรห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ยประมาณ 3 เท่าของระยะทางที่พลูโตห่าง ดังนั้น มันจึงใช้เวลาประมาณ 2 เท่าของ พลูโตในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ การอยู่ไกลมากเช่นนี้ ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลาเป็นวัน จึงเดินทางถึง Xena แล้วสะท้อนกลับมายังโลก
นอกจาก Xena จะมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโตแล้ว นักดาราศาสตร์ก็ยังพบอีกว่า Xena มีดวงจันทร์บริวารหนึ่งดวงชื่อ Gabrielle ซึ่งโคจรรอบมันทุก 14 วัน และดวงจันทร์นี้มีความสว่างน้อยกว่า Xena ราว 60 เท่า การมีดวงจันทร์บริวาร และมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโตเช่นนี้ ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องหันมาทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับสถานภาพของดาวพลูโต ใหม่ว่า สมควรเรียกมันเป็นดาวเคราะห์ต่อไปหรือไม่
ภาพเปรียบเทียบวงโคจรและเส้นผ่าศูนย์กลางของ Sedna กับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ของสุริยะจักรวาล
เพราะถ้าให้มันเป็นดาวเคราะห์ นั่นก็หมายความว่า ดาวอื่นๆ เช่น Sedna, Quaoar, 2003 EL61 ที่มีดวงจันทร์บริวาร 2 ดวง, 2005 FY9 ฯลฯ ซึ่งต่างก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ และมีขนาดไม่แตกต่างจากดาวพลูโตมาก ก็มีสิทธิจะได้รับการสถาปนาเป็นดาวเคราะห์ด้วย
วันที่ 18 สิงหาคม 2549 International Astronomical Union (IAU) ซึ่งเป็นสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ ได้จัดประชุมที่กรุง Prague โดยมีนักดาราศาสตร์ 2,500 คน จากประเทศทั่วโลกมาประชุม เพื่อตกลงหาคำจำกัดความใหม่ของดาวเคราะห์ให้เหมาะสม
และเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ที่ประชุม IAU ได้ลงมติเปลี่ยนสถานภาพของดาวพลูโต, ดาวเคราะห์น้อย Ceres, ดวงจันทร์ Charon ของพลูโต กับ Xena ว่าเป็นดาวเคราะห์ชนิดใหม่ ชื่อ ดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) โดยให้เกณฑ์หยาบๆ สำหรับคำจำกัดความของดาวเคราะห์ว่า มีลักษณะกลม เป็นบริวารของดาวฤกษ์ และมีวงโคจรที่ไม่สอดแทรกผ่านเข้าไปในวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และไม่เป็นดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ด้วย
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2549 International Astronomical Union ได้ออกแถลงการณ์ว่า ดาว Xena ที่ได้ทำให้วงการดาราศาสตร์ทั่วโลกปั่นป่วน เพราะต้องหันมาทบทวนความรู้เรื่องดาวเคราะห์ใหม่ ได้รับชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า "Eris" แล้ว
ซึ่งนับว่าเหมาะสม เพราะ Eris ในเทพนิยายกรีก คือ เทพธิดา ผู้ชอบทำให้เทพธิดาอื่นๆ ทะเลาะวิวาท จนมีผลทำให้เกิดสงครามกรุง Troy ในที่สุด และ Eris ในวงการดาราศาสตร์ก็เช่นกัน คือ มีบทบาททำให้ นักดาราศาสตร์มีวิวาทะวิชาการกัน จนมีผลทำให้ดาวพลูโตต้องเปลี่ยนสถานภาพจากดาวเคราะห์ธรรมดาเป็นดาวเคราะห์ แคระครับ
สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท
คำสำคัญ
ดาว,เคราะห์,แคระ,สุริย,จักรวาล
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สสวท.
วิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
2110 Eris ดาวเคราะห์แคระของสุริยจักรวาล /article-earthscience/item/2110-erisเพิ่มในรายการโปรด