ฤดูกาล (Season)
โดย :
ipst
เมื่อ :
วันศุกร์, 19 สิงหาคม 2554
Hits
123478
ฤดูกาล (Season)
ความเชื่อหนึ่งที่ว่าฤดูร้อน หรือฤดูหนาวถูกกำหนดจากระยะห่างของโลกกับดวงอาทิตย์ เมื่อโลกเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ก็จะเกิดฤดูร้อน แต่เมื่อโลกเคลื่อนออกไกลจากดวงอาทิตย์ก็จะเกิดฤดูหนาว เป็นความเชื่อแต่ดั้งเดิมและได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง แสดงได้โดยภาพดังนี้
ระยะห่างมากและน้อยที่สุดของโลกกับดวงอาทิตย์
เนื่องจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกไม่ได้เป็นวงกลมสมมาตรและดวงอาทิตย์ไม่ ได้อยู่ตรงกลางของวงโคจร แต่เป็นวงกลมรีและดวงอาทิตย์อยู่เยื้องไปทางขวาจากจุดกึ่งกลางวงโคจร ดังนั้นจึงเกิดระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน โดยในช่วงเดือนกรกฎาคมโลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด และในช่วงเดือนมกราคมโลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งตามความเชื่อข้างต้น ในเดือนมกราคมโลกต้องมีอุณหภูมิสูงกว่าในเดือนกรกฎาคม แต่ในความเป็นจริงเดือนมกราคมคือฤดูหนาวและเดือนกรกฎาคมคือฤดูร้อน ดังนั้นความเชื่อเรื่องระยะห่างจากดวงอาทิตย์เป็นตัวกำหนดฤดูกาลจึงไม่เป็น ความจริง
สิ่งที่เป็นตัวกำหนดฤดูกาลนั้นแท้จริงแล้วเกิดจากการที่แกนโลกเอียงไปจากแนว ตั้งฉากเป็นมุม 23.5° (ซึ่งเอียงคงที่ตลอดปี) อธิบายได้จากภาพดังนี้
สิ่งที่เป็นตัวกำหนดฤดูกาลนั้นแท้จริงแล้วเกิดจากการที่แกนโลกเอียงไปจากแนว ตั้งฉากเป็นมุม 23.5° (ซึ่งเอียงคงที่ตลอดปี) อธิบายได้จากภาพดังนี้
จากรูปข้างต้น แม้ซีกโลกด้านขวาจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์ แต่เพราะแกนโลกเอียง ซีกโลกเหนือจึงเอนเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่ซีกโลกใต้เอียงออกจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นซีกโลกเหนือจึงเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จึงเป็นฤดูหนาว จนกระทั่งอีก 6 เดือนต่อมาเมื่อโลกโคจรไปอยู่อีกด้านหนึ่งของวงโคจร ในขณะที่แกนโลกยังเอียงด้วยมุมเท่าเดิม ซีกโลกใต้จึงเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์และซีกโลกเหนือเอียงออกจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นซีกโลกใต้จะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว ดังในภาพนี้
วันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี หรือที่เรียกว่า วิษุวัต (Equinox) จริงๆ แล้วในหนึ่งปีมีเพียง 2 วันเท่านั้น คือวันที่ 21 มีนาคม เรียกว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกเหนือ (หรือฤดูใบไม้ร่วงทางซีกโลกใต้) กับวันที่ 22 กันยายน เรียกว่า ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงทางซีกโลกเหนือ (หรือฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกใต้) ในทั้งสองวันนี้แกนโลกจะอยู่ในระนาบตั้งฉากกับรัศมีจากดวงอาทิตย์พอดี ทำให้กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน เรียกว่า มัธยมกาล โดยซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์เท่ากัน ด้วย
หลังจากวันที่ 21 มีนาคม โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ต่อไปเรื่อยๆ โดยหมุนแบบทวนเข็มนาฬิกา ทำให้แกนโลกชี้เข้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้น ดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกไม่ตรงกับทิศตะวันออกและตะวันตกพอดี แต่จะค่อนไปทางเหนือมากขึ้นเรื่อยๆ ช่วงเวลานี้ซีกโลกเหนือจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้น จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกค่อนไปทางเหนือมากที่สุด เรียกว่า ครีษมายัน (Summer solstice) วันนี้ในซีกโลกเหนือกลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืนมากที่สุด ถือเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูร้อน ส่วนในซีกโลกใต้ กลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวันมากที่สุด ถือเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูหนาว
หลังจากวันนี้ โลกโคจรต่อไปจนเข้าสู่วันศารทวิษุวัตซึ่งมีกลางวันยาวนานเท่ากลางคืนอีก ครั้งตามที่อธิบายไปแล้วข้างต้น และจากนั้นโลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีแกนโลกชี้ออกจากดวงอาทิตย์มากขึ้น เรื่อยๆ กระทั่งถึงวันที่ 22 ธันวาคม แกนโลกจะชี้ออกจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกค่อนไปทางใต้มากที่สุด เรียกว่า เหมายัน (Winter solstice) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูร้อนในซีกโลกใต้ และเริ่มต้นฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ ทั้งวันครีษมายันและวันเหมายันเรียกรวมกันว่า อายัน (Solstice)
จากนั้นโลกก็จะโคจรต่อไปจนเข้าสู่วันวสันตวิษุวัตอีกครั้ง เป็นการจบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และครบฤดูกาลทั้ง 4 ฤดูกาล เท่ากับระยะเวลา 1 ปี อธิบายการโคจรของโลกและฤดูกาลทั้ง 4 ได้ตามภาพดังนี้
หลังจากวันที่ 21 มีนาคม โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ต่อไปเรื่อยๆ โดยหมุนแบบทวนเข็มนาฬิกา ทำให้แกนโลกชี้เข้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้น ดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกไม่ตรงกับทิศตะวันออกและตะวันตกพอดี แต่จะค่อนไปทางเหนือมากขึ้นเรื่อยๆ ช่วงเวลานี้ซีกโลกเหนือจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้น จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกค่อนไปทางเหนือมากที่สุด เรียกว่า ครีษมายัน (Summer solstice) วันนี้ในซีกโลกเหนือกลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืนมากที่สุด ถือเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูร้อน ส่วนในซีกโลกใต้ กลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวันมากที่สุด ถือเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูหนาว
หลังจากวันนี้ โลกโคจรต่อไปจนเข้าสู่วันศารทวิษุวัตซึ่งมีกลางวันยาวนานเท่ากลางคืนอีก ครั้งตามที่อธิบายไปแล้วข้างต้น และจากนั้นโลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีแกนโลกชี้ออกจากดวงอาทิตย์มากขึ้น เรื่อยๆ กระทั่งถึงวันที่ 22 ธันวาคม แกนโลกจะชี้ออกจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกค่อนไปทางใต้มากที่สุด เรียกว่า เหมายัน (Winter solstice) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูร้อนในซีกโลกใต้ และเริ่มต้นฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ ทั้งวันครีษมายันและวันเหมายันเรียกรวมกันว่า อายัน (Solstice)
จากนั้นโลกก็จะโคจรต่อไปจนเข้าสู่วันวสันตวิษุวัตอีกครั้ง เป็นการจบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และครบฤดูกาลทั้ง 4 ฤดูกาล เท่ากับระยะเวลา 1 ปี อธิบายการโคจรของโลกและฤดูกาลทั้ง 4 ได้ตามภาพดังนี้
แกนของโลกเอียง 23.5° ขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ
สรุปหากพื้นผิวของโลกมีสภาพเป็นเนื้อเดียวเหมือนกันหมด คือเป็นลูกกลมเกลี้ยงที่สมบูรณ์ โลกจะมี 4 ฤดูกาล สำหรับซีกโลกเหนือเป็นดังนี้
ส่วน ซีกโลกใต้ก็จะเป็นในทางตรงกันข้ามตามที่อธิบายไปแล้ว แต่เนื่องจากในความเป็นจริงพื้นผิวของโลกมีสภาพแตกต่างกันไป เช่น มีภูเขา ที่ราบ ทะเล กระแสลม กระแสน้ำ ซึ่งส่งอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศ โดยประเทศไทยตั้งอยู่บนแนวเส้นศูนย์สูตรและคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ ทำให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม (Monsoon) จึงมีฤดูกาลดังนี้
- ฤดูร้อน (Summer) : ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน - 21 กันยายน
- ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) : ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน - 21 ธันวาคม
- ฤดูหนาว (Winter) : ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม - 20 มีนาคม
- ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) : ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม - 20 มิถุนายน
ส่วน ซีกโลกใต้ก็จะเป็นในทางตรงกันข้ามตามที่อธิบายไปแล้ว แต่เนื่องจากในความเป็นจริงพื้นผิวของโลกมีสภาพแตกต่างกันไป เช่น มีภูเขา ที่ราบ ทะเล กระแสลม กระแสน้ำ ซึ่งส่งอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศ โดยประเทศไทยตั้งอยู่บนแนวเส้นศูนย์สูตรและคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ ทำให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม (Monsoon) จึงมีฤดูกาลดังนี้
- ฤดูร้อน (Summer) : ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
- ฤดูฝน (Rainy) : ในช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม
- ฤดูหนาว (Winter) : ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
ที่มาข้อมูล : www.astroschool.in.th
www.lesaproject.com
www.wikipedia.org
www.ipst.ac.th
www.lesaproject.com
www.wikipedia.org
www.ipst.ac.th
คำสำคัญ
ฤดู,ฤดูกาล
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ipst
วิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ป.1, ป.2, ป.3, ป.4, ป.5, ป.6, ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
2148 ฤดูกาล (Season) /article-earthscience/item/2148-season609เพิ่มในรายการโปรด