ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 5 ดอกเบี้ย
บทความเรื่องประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในตอนที่ 5 นี้ ขอนำเสนอเรื่อง ดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่หลายคนให้สำคัญมาก ๆ คือ เงิน นั่นเอง ในทางคณิตศาสตร์นี้มีความเกี่ยวข้องและจะมีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยอย่างไร ตามมาดูกันเลย
การดำรงชีวิตของคนเรานั้น เกี่ยวข้องกับเรื่องของเงินเป็นอย่างมาก ซึ่งเงินในที่จะกล่าวถึงที่มีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยนั้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ การกู้ยืมนั่นเอง ดังนั้นในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดคำว่าดอกเบี้ยขึ้นมานี้ จะต้องมีเจ้าหนี้หรือผู้กู้ยืมปล่อยเงินกู้ (ในหลักการมองว่าเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง) ซึ่งผู้ลงทุนหรือผู้กู้ย่อมต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนนี้ ผลตอบนี้เราเรียกมันว่าดอกเบี้ยนั่นเอง ส่วนผู้กู้ยืมก็นำเงินต้นไปใช้ประโยชน์
ภาพข้อความแจ้งสรุปดอกเบี้ยรายปีจากการฝากเงินของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง
ดอกเบี้ย (interest)
ดอกเบี้ย หมายถึง ผลตอบแทนที่เจ้าหนี้ได้รับตอบแทนจากการกู้ยืมหรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการนำไปลงทุน โดยมีเงินต้น (principle) คือจำนวนเงินที่ฝากหรือกู้ยืมไป และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) คือดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินต้น หนึ่งหน่วยต่อเวลาของการกู้ยืม โดยปกติมีหน่วยเป็นบาทและ มีระยะเวลาของการคิดดอกเบี้ย (time) เป็นปี
ดอกเบี้ย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทที่สำคัญในทางคณิตศาสตร์คือ
-
ดอกเบี้ยเชิงเดียว
-
ดอกเบี้ยทบต้น
ดอกเบี้ยเชิงเดียว
ดอกเบี้ยเชิงเดียว หมายถึง ดอกเบี้ยที่คิดจากเงินต้นแรกเริ่ม โดยที่เงินต้นคงที่ตลอดระยะเวลาของการกู้ยืม มีสมการแสดงความสัมพันธ์คือ ดอกเบี้ย = เงินต้น X อัตราดอกเบี้ย X ระยะเวลา
กำหนดให้ P แทน เงินต้น
r แทน อัตราดอกเบี้ย
t แทน ระยะเวลา
I แทน จำนวนดอกเบี้ย หรือ ค่าตอบแทน
จะได้ว่า I = P X r X t = P r t
โดยที่เราสามารถคำนวณเงินรวมได้จาก เงินรวม = เงินต้น + ดอกเบี้ย
กำหนดให้ S แทน เงินรวม
จะได้ว่า S = P + I = P + P r t = P(1 + rt)
ตัวอย่างเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยเชิงเดียวที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวันเรา เราอาจต้องมีการกู้สินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งบุคคลที่สามารถปล่อยเงินกู้กับเราได้ ซึ่งในฐานะผู้กู้ก็จะต้องเรียนรู้รู้หลักในการคิดคำนวณดอกเบี้ยและเงินรวมทั้งหมดเพื่อวางแผนการใช้เงินเพื่อที่จะสามารถผ่อนชชำระหรือจ่ายคืนเงินกู้ได้ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้
ตัวอย่างที่ 1 สมมติว่าเรากู้ยืมเงินจากเพื่อน เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท โดยเพื่อนได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเชิงเดียว ในอัตรา 20% ต่อปี ถ้าเรากู้ยืมเงินไปเป็นระยะเวลา 2 ปี เราจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงินกี่บาท
วิธีคิด กำหนดให้ P แทน เงินต้น = 20,000 บาท
r แทน อัตราดอกเบี้ย = 20% หรือ 20/100 ต่อปี
t แทน ระยะเวลา = 2 ปี
I แทน จำนวนดอกเบี้ย หรือ ค่าตอบแทน
จากสูตร I = P r t จะได้ว่า I = 20,000 X 20% X 2 = 8,000 บาท
ดังนั้น เราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับเพื่อนเป็นเงิน 8,000 บาท
ตัวอย่างที่ 2 สมมติว่าเรากู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทโดยสถาบันการเงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยเชิงเดียว ในอัตรา 10% ต่อปี ถ้าเรากู้ยืมเงินไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน จะต้องชำระเงินรวมทั้งสิ้นกี่บาท
วิธีคิด กำหนดให้ P แทน เงินต้น = 10,000 บาท
r แทน อัตราดอกเบี้ย = 10% หรือ 10/100 ต่อปี
t แทน ระยะเวลา = 6 หรือ 6/12 ปี
I แทน จำนวนดอกเบี้ย หรือ ค่าตอบแทน
จากสูตร S = P(1 + r t) จะได้ว่า
S = 10,000 ( 1 + ( 10 % x (6/12) )
S = 10,000 ( 1 + 0.05) = 10,000 (1.05)
S = 10,500 บาท
ดังนั้น เราจะต้องชำระเงินรวมทั้งสิ้น 10,500 บาท
ดอกเบี้ยทบต้น
ดอกเบี้ยทบต้น หมายถึง ดอกเบี้ยที่คิดจากเงินต้นแรกรวมกับดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดที่ผ่านมา โดยมีการแบ่งระยะเวลาในการคิดดอกเบี้ยออกเป็นงวด ๆ แล้วใช้เป็นเงินต้นใหม่ในงวดถัดไป
กำหนดให้ P แทน เงินต้น
r แทน อัตราดอกเบี้ยต่องวด
n แทน จำนวนงวดทั้งหมด
Sn แทน เงินรวมปลายงวดที่ n
จะได้ว่า Sn = ( 1 + I )n
ตัวอย่างเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยเชิงเดียวที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราฝากเงินกับธนาคารแห่งหนึ่ง จำนวนเงิน 20,000 บาท เป็นเวลา 15 เดือน ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้ทุก ๆ 3 เดือน อัตราร้อยละ 3 ต่อปี เมื่อครบกำหนด 15 เดือน เราจะมีเงินรวมกี่บาท
วิธีคิด กำหนดให้ P = 20,000 บาท
i = 3% ต่อปี
ดอกเบี้ย ทุก ๆ 3 เดือน คิดเป็น 4 งวด
i = % ต่องวด = 0.75% ต่องวด
n = 5 งวด (ฝาก 15 เดือน)
จาก Sn = ( 1 + I )n จะได้ว่า S = 20,000 ( 1 + 0.75%)5
S = 20,000 ( 1 + (0.75/100))5
S = 20,000 ( 1.0075)5
S = 20,000 ( 1.030666)
Sn = 20,761.33 บาท
ดังนั้น เมื่อครบเวลา 15 เดือน เราจะได้เงินรวมทั้งสิ้น 20,761.33 บาท
อย่างไรก็ตาม ในทางการดำเนินชีวิตนั้นก็เป็นสิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการสร้างหนี้ให้กับผู้กู้ เราควรกู้ยืมหรือผ่อนชำระสินค้าที่มีดอกเบี้ย โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของรายรับหรือรายได้ที่เรามี จึงอยากฝากไว้ให้คิดทิ้งท้ายกันไว้ด้วย อย่าลืมติดตามบทความเรื่องประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันในตอนต่อไป
แหล่งที่มา
คณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวัน Mathematics for Daily Life . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก https://reg2.crru.ac.th/reg/files/20150929020102_3aa31caba936b876645ada5b607be6ff.pdf
คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจำวัน : ดอกเบี้ย. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก https://gened.siam.edu/wp-content/uploads/2010/06/math-ppt11.pdf
ศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ เนียมมณี. คณิตศาสตร์กับการเงินในชีวิตประจำวัน:ดอกเบี้ยและค่างวด . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก http://1.179.148.84/obec-media/2555/manual/%a4%d9%e8%c1%d7%cd%a4%b3%d4%b5%c8%d2%ca%b5%c3%ec/%b5%cd%b9%b7%d5%e8%2041%20%a4%b3%d4%b5%c8%d2%ca%b5%c3%ec%a1%d1%ba%a1%d2%c3%e0%a7%d4%b9%e3%b9%aa%d5%c7%d4%b5%bb%c3%d0%a8%d3%c7%d1%b9%20%b5%cd%b9%b7%d5%e8%202.pdf
-
11636 ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 5 ดอกเบี้ย /article-mathematics/item/11636-5เพิ่มในรายการโปรด