การใช้ของเล่นเพื่อพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์
การใช้ของเล่นเพื่อพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์
นางศจี คำภู
นักวิชาการ สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.
E-mail :
รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาโดยใช้ของเล่น จัดได้ว่าเป็นการพัฒนาความคิดอีกรูปแบบหนึ่ง สามารถจับต้อง มีการวางแผน ทดลองเล่น และตรวจสอบได้ ทั้งยังช่วยสร้างความสนใจให้นักเรียนอยากสัมผัส ทดลองแก้ปัญหา ซึ่งอาจทำเป็นอุปกรณ์พร้อมคำอธิบายประกอบการเล่นไว้ในมุมห้องเรียน หรือห้องกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาและทดลองเล่นด้วยตนเองอย่างอิสระ สำหรับของเล่นที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้หลายท่านคงเคยรู้จัก และหลายท่านก็คงเคยทดลองเล่นมาบ้างแล้ว นั่นคือ หอคอยฮานอย นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ประดิษฐ์ และให้ชื่อว่า Tower of Hanoi
หอคอยฮานอย (Tower of Hanoi)
อุปกรณ์
แผ่นไม้กลมเจาะช่องตรงจุดศูนย์กลางให้พอดีกับการสวมเข้าหลักที่ตอกติดบนแผ่นไม้ซึ่งเป็นฐาน มีหลัก 3 หลัก จำนวน 5 ชิ้น (อาจมีจำนวนมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้) มีขนาดลดหลั่นกันเป็นลำดับทั้ง 5 ชิ้น นำแผ่นไม้ทั้ง 5 ชิ้น สวมเข้ากับหลักใดหลักหนึ่งเรียงลำดับตามขนาดให้แผ่นใหญ่อยู่ข้างล่าง เพื่อให้ง่ายในการสื่อความหมาย ขอแทนไม้แผ่นเล็กสุดที่อยู่ด้านบนสุดว่าแผ่นที่ 1 แผ่นใหญ่ขึ้นถัดลงมาเป็นแผ่นที่ 2 , 3 , ... และ 5 ตามลำดับ ดังรูป
วิธีการเล่น
- ให้ย้ายแผ่นไม้มีอยู่ 5 แผ่น ที่สวมไปไว้อีกหลักหนึ่งหลักใดก็ได้
- การย้ายแผ่นไม้ทั้งหมดมีเงื่อนไขว่า
– ต้องวางแผ่นไม้แผ่นเล็กไว้ด้านบนแผ่นใหญ่เสมอ
– หยิบแผ่นไม้ในการย้ายได้ครั้งละ 1 แผ่น
- ให้จำนวนครั้งในการย้ายแผ่นไม้น้อยที่สุด (การย้ายแต่ละครั้งหมายถึงการย้ายแผ่นไม้ 1 แผ่น จากหลักหนึ่งไปไว้ยังอีกหลักหนึ่ง)
สำหรับการเริ่มต้นการเล่น นักเรียนอาจย้ายแผ่นไม้แบบลองผิดลองถูก เพื่อแก้ปัญหาแต่สักระยะเวลาหนึ่ง จะมองเห็นว่าน่าจะลดจำนวนแผ่นไม้ลงให้มีจำนวนน้อยแผ่นก่อน ซึ่งง่ายต่อการแก้ปัญหา จากนั้นจึงเพิ่มจำนวนแผ่นไม้ให้มากขึ้น โดยอาศัยแนวคิดที่ได้จากการแก้ปัญหาจำนวนแผ่นไม้ที่น้อย แล้วนำไปใช้แก้ปัญหาในการย้ายแผ่นไม้จำนวนมากขึ้น
เมื่อนักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแล้วให้บันทึกผลการย้ายแผ่นไม้ลงในตารางแล้วให้นักเรียนช่วยกันร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งควรจะได้ดังนี้
จำนวนแผ่นไม้ |
จำนวนครั้งน้อยที่สุดในการย้าย |
1 2 3 |
1 3 7 |
จากตารางพบว่า
(1) ถ้ามีแผ่นไม้ 1 แผ่น เห็นอย่างชัดเจนว่าย้ายเพียงครั้งเดียวไปไว้ในหลักใดก็ได้
(2) ถ้ามีแผ่นไม้ 2 แผ่น จะต้องหยิบแผ่นไม้ย้ายอย่างน้อยที่สุด 3 ครั้ง
– ครั้งที่ 1 ย้ายแผ่นที่ 1 ไปไว้หลักที่ว่าง
– ครั้งที่ 2 ย้ายแผ่นที่ 2 ไปไว้หลักที่ว่าง
– ครั้งที่ 3 ย้ายแผ่นที่ 3 ไปไว้บนแผ่นที่ 2
(3) ถ้ามีแผ่นไม้ 3 แผ่น วิธีที่จะทำให้จำนวนครั้งในการย้ายน้อยที่สุด 7 ครั้ง
– ครั้งที่ 1 ย้ายแผ่นที่ 1 ไปไว้หลักที่ว่าง
– ครั้งที่ 2 ย้ายแผ่นที่ 2 ไปไว้หลักที่ว่าง
– ครั้งที่ 3 ย้ายแผ่นที่ 1 ไปไว้บนแผ่นที่ 2
– ครั้งที่ 4 ย้ายแผ่นที่ 3 ไปไว้หลักที่ว่าง
– ครั้งที่ 5 ย้ายแผ่นที่ 1 ไปไว้หลักที่ว่าง
– ครั้งที่ 6 ย้ายแผ่นที่ 2 ไปวางบนแผ่นที่ 3
– ครั้งที่ 7 ย้ายแผ่นที่ 1 ไปวางบนแผ่นที่ 2
จะเห็นว่าการย้ายแผ่นไม้ 3 ครั้งแรกใช้วิธีการเดียวกับการย้ายแผ่นไม้ 2 แผ่น จากนั้นลองให้
นักเรียนหาจำนวนครั้งที่น้อยที่สุดในการย้ายแผ่นไม้ต่อไปอีก โดยเพิ่มขึ้นเป็น 4, 5, 6, 7, ...
จากความสัมพันธ์ดังกล่าว สามารถคาดเดาจำนวนครั้งที่น้อยที่สุดในการย้ายแผ่นไม้ต่อไปได้อีกดังนี้
จำนวนแผ่นไม้ 1 แผ่น จำนวนครั้งน้อยที่สุดในการย้ายคือ 1 หรือเขียนในรูป 21 – 1
จำนวนแผ่นไม้ 2 แผ่น จำนวนครั้งน้อยที่สุดในการย้ายคือ 2 หรือเขียนในรูป 22 – 1
จำนวนแผ่นไม้ 3 แผ่น จำนวนครั้งน้อยที่สุดในการย้ายคือ 3 หรือเขียนในรูป 23 – 1
จำนวนแผ่นไม้ 4 แผ่น จำนวนครั้งน้อยที่สุดในการย้ายคือ 15 หรือเขียนในรูป 24 – 1
จำนวนแผ่นไม้ 5 แผ่น จำนวนครั้งน้อยที่สุดในการย้ายคือ 31 หรือเขียนในรูป 25 – 1
จำนวนแผ่นไม้ n แผ่น จำนวนครั้งน้อยที่สุดในการย้ายคือ 2n – 1
จากการจัดกิจกรรมดังกล่าว จะเห็นว่าเป็นการส่งเสริมกระบวนการคิด โดยผ่านการลงมือปฏิบัติจริง จากการใช้ของเล่นเพื่อพัฒนากระบวนการแก้ปัญหา เพื่อนำไปสู่การค้นพบจนสามารถสรุป สร้างเป็นองค์ความรู้ได้
ข้อเสนอแนะ
ครูอาจให้นักเรียนสร้างอุปกรณ์การเล่น โดยตัดกระดาษแข็งเป็นรูปวงกลม หรือรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสลดหลั่นกันเป็นลำดับ แล้วใช้วางบนโต๊ะใน 3 ตำแหน่ง แทนการสร้างของเล่นแบบถาวรก็ได้
-
1332 การใช้ของเล่นเพื่อพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์ /article-mathematics/item/1332-mathematics525เพิ่มในรายการโปรด