ท่าที่ลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่า
คำตอบ B นั่งยองๆ เท้าชิด มือปิดหู ปลอดภัยกว่า นอนราบ
เหตุผล : เดิมทีนั้น นักวิชาการเคยเชื่อว่า หากอยู่ในที่โล่งแล้วหาที่หลบฟ้าผ่าที่ปลอดภัยไม่ได้ (หรืออยู่ไกลเกินไป) ก็ควรนอนราบลงกับพื้น ด้วยเหตุผลที่ว่า ฟ้าผ่ามักจะฟาดลงมาที่จุดสูงในบริเวณหนึ่งๆ เราจึงควรทำตัวให้ต่ำที่สุดโดยการนอนราบ
แต่จากหลักฐานจำนวนมากทำให้เราทราบว่า คน (หรือสัตว์) ที่ได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า มักจะไม่ได้โดนฟ้าผ่ามาที่ร่างกายโดยตรง (ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ แต่น้อย) แต่กลับโดน กระแสไฟฟ้าที่ไหลมาตามพื้น (ground current) ทำร้ายมากกว่า
กระแสไฟฟ้าที่ไหลมาตามพื้นเกิดจากการที่ฟ้าผ่าลงบนพื้นแล้วกระจายออกไปโดยรอบ หรือฟ้าอาจผ่าลงบนวัตถุสูง (เช่น ต้นไม้) แล้วไหลลงตามลำต้น เมื่อกระแสไหลถึงโคนต้น ก็จะกระจายออกไปตามพื้น (หากพื้นชื้นแฉะ เช่น ฝนตก ก็จะทำให้กระแสไหลได้ง่ายยิ่งขึ้น)
กระแสไฟฟ้าที่ไหลไปตามพื้นอาจไปได้ไกลแค่ไหน โปรดดูตัวอย่างภาพนี้ได้!
ในทางฟิสิกส์และวิศวกรรมไฟฟ้าจะกล่าวถึง แรงดันไฟฟ้าช่วงก้าว (step voltage) ซึ่งหมายถึง ความต่างศักย์ที่ตกคร่อมจุด 2 จุดของร่างกายของคน สัตว์ หรือวัตถุใดๆ ยิ่งจุด 2 จุด อยู่ห่างกันมากเท่าไร (เช่น เรายืนบนพื้น โดยที่เท้าทั้งสองแยกห่างจากกัน) โอกาสที่แรงดันไฟฟ้าช่วงก้าวก็จะมากตามไปด้วย ส่งผลให้กระแสที่ไหลมาตามพื้นเข้าสู่ตัวเรา ร่างกายสัตว์ หรือวัตถุนั้นได้มากขึ้น
อ้างอิง
- KIDS' LIGHTNING INFORMATION AND SAFETY : http://www.kidslightning.info/lsaftposi.htmThe
-
4750 ท่าที่ลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่า /article-physics/item/4750-2015-08-03-05-01-01เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง