ทฤษฏีสัมพัทธภาพ...ตอนที่ 1
คณิตศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแนวคิดต่างๆกับกันและกันโดยเฉพาะโดยไม่มีการพิจารณาความสัมพันธ์ของพวกมันกับประสบการณ์ฟิสิกส์ด้วยเช่นกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดเชิงคณิตศาสตร์ แต่ว่าแนวคิดเหล่านี้ได้มาซึ่งเนื้อหาเชิงฟิสิกส์ โดยการกำหนดแน่นอนที่ชัดเจนของความสัมพันธ์ของพวกมันกับเป้าหมายของประสบการณ์เท่านั้น โดยเฉพาะนี่เป็นข้อเท็จจริงที่ใช้สนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่, อวกาศ, เวลา
ทฤษฏีสัมพัทธภาพเป็นทฤษฏีเชิงฟิสิกส์ เช่นนั้น ซึ่งอิงกับการตีความเชิงฟิสิกส์ที่สอดคล้องกันของสามแนวคิดนี้ ชื่อ “ทฤษฏีสัมพัทธภาพ” สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่ว่า การเคลื่อนที่จากมุมมองขอประสบการณ์ที่อาจเป็นไปได้
ดูเหมือนเป็นการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของวัตถุหนึ่งเทียบกับอีกวัตถุหนึ่งเสมอ ( เช่น ของรถยนต์ เทียบกับพื้นดินหรือโลกเทียบกับดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์) การเคลื่อนที่ไม่เคยสังเกตได้เหมือนเป็น ”การเคลื่อนที่เทียบกับอวกาศ”
เลยหรืออย่างที่เขียนมันออกมาเป็น “การเคลื่อนที่สัมบูรณ์” “หลักการของสัมพัทธภาพ” ตามความหมายที่กว้างที่สุดของมัน รวมอยู่ในคำกล่าว : ผลรวมของปรากฏการณ์เชิงฟิสิกส์ มีลักษณะที่มันไม่ได้ให้หลักเกณฑ์สำหรับการนำแนวคิดเกี่ยวกับ “การเคลื่อนที่สัมบูรณ์” มาใช้ : หรือสั้นกว่าแต่ถูกต้องน้อยลง คือไม่มีการเคลื่อนที่สัมบูรณ์
มันอาจจะดูเหมือนว่าความรู้ความเข้าใจของเราจะได้ประโยชน์น้อยมากจากคำกล่าวเชิงลบเช่นนั้น แต่ว่าในความเป็นจริง มันเป็นข้อจำกัดที่แรงมากสำหรับ (ที่พอนึกออก) กฏของธรรมชาติ ตามความหมายนี้ มีข้อคล้ายคลึงกันระหว่างทฤษฏีสัมพัทธภาพและอุณหพลศาสตร์อยู่จริง ทฤษฏีหลังด้วยเช่นกันอิงกับคำกล่าวเชิงลบที่ว่า “ไม่มีโมบายล์*ที่แกว่งอยู่ตลอดไปอยู่จริง”
มีการดำเนินการพัฒนาทฤษฏีสัมพัทธภาพต่อไปในสองขั้นตอนคือ “ทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษ” และ “ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป” ทฤษฏีหลังถือว่าความถูกต้องของทฤษฏีแรกเป็นกรณีขีดจำกัดและเป็นส่วนสืบเนื่องที่สอดคล้องกันของมัน
*งานศิลปะเป็นรูปต่างๆ ที่แขวนจากเพดานและแกว่งไปมาเมื่อมีลม
(ก)ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
การตีความเชิงฟิสิกส์ของอวกาศและเวลาในกลศาสตร์แบบฉบับ
เรขาคณิตจากทัศนะเชิงฟิสิกส์เป็นผลรวมของกฏตามที่ซึ่งวัตถุแข็งเกร็ง ที่ต่างฝ่ายต่างหยุดนิ่งอาจวางเทียบกันได้ (เช่น สามเหลี่ยมประกอบด้วยแท่งโลหะสามท่อนที่ปลายของมันแตะกันอย่างถาวร) มีการทึกทักเอาว่าด้วยการตีความเช่นนั้นกฏระบบยุคลิดถูกต้อง “อวกาศ” ในการตีความนี้โดยหลักการเป็นวัตถุที่แข็งเกร็งอย่างมหาศาล (หรือโครงสร้าง) ซึ่งตำแหน่งของวัตถุอื่นๆ ทั้งหมด เกี่ยวพันกัน (วัตถุอ้างอิง) เรขาคณิตเชิงวิเคราะห์(เดส์การ์ตส์)ใช้เป็นวัตถุอ้างอิงซึ่งใช้แทนอวกาศ ท่อนโลหะแข็งเกร็งที่ตั้งฉากซึ่งกันและกันสามท่อนซึ่งวัด “พิกัด” (x, y , z) ของจุดเชิงอวกาศ ด้วยวิธีการที่รู้จักกันดี คือเป็นการฉายเชิงตั้งฉาก (ด้วยความช่วยเหลือจากอุปกรณ์ - การวัดที่แข็งเกร็ง)
ฟิสิกส์เกี่ยวข้องกับ “เหตุการณ์” ในอวกาศและเวลา แต่ละเหตุการณ์เป็นของ นอกจากพิกัดตำแหน่งของมัน x, y , z คือค่าเวลา t อันหลังถือว่าวัดได้ด้วยนาฬิกา (กระบวนการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เชิงอุดมคติ) ที่มีขนาดเชิงอวกาศที่เล็กน้อยจนตัดออกไปได้ นาฬิกาเรือนนี้ C (จะต้องถือว่า หยุดนิ่งที่จุดๆ หนึ่งของระบบพิกัดนี้ เช่นที่จุดกำเนิดของพิกัด (x = y = z = 0) ถ้าอย่างนั้นเวลาของเหตุการณ์ๆหนึ่งที่เกิดขึ้นที่จุด P(x , y , z) ถูกกำหนดว่า เป็นเวลาที่แสดงบนนาฬิกา C พร้อมกันกับเหตุการณ์นี้ ตรงนี้แนวคิด “พร้อมกัน” ถือว่ามีความหมายในเชิงฟิสิกส์โดยไม่มีคำนิยามพิเศษ นี่เป็นการไม่มีความถูกต้องแม่นยำ ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีพิษมีภัยอะไร เพราะโดยอาศัยแสงเท่านั้น (ซึ่งความเร็วของมันมหาศาลในเชิงปฏิบัติ จากมุมมองของประสบการณ์ประจำวัน) ความพร้อมกันของเหตุการณ์ที่อยู่ห่างกันในเชิงอวกาศดูเหมือนว่าสามารถตัดสินได้ทันที
ทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษเอาการไม่มีความถูกต้องแน่นอนนี้ออกไปโดยการกำหนดความพร้อมกันในเชิงฟิสิกส์ด้วยการใช้สัญญาณแสง เวลา t ของเหตุการณ์ที่ P เป็นผลที่อ่านได้ของนาฬิกา C ที่เวลาการมาถึงของสัญญาณแสงที่ถูกปล่อยจากเหตุการณ์นั้น ซึ่งถูกปรับแก้ในเรื่องเวลาที่สัญญาณแสงต้องใช้ในการเดินทางระยะทางนั้น การปรับแก้นี้ถือว่า (ถือเป็นหลัก) ความเร็วของแสงคงตัว
คำนิยามนี้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมกันของเหตุการณ์ที่อยู่ห่างกันในเชิงอวกาศไปเป็นแนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมกันของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดียวกัน (การเกิดขึ้นที่เดียวกัน) นั่นก็คือ การมาถึงของสัญญาณแสงที่ C และผลที่อ่านได้ของ C
กลศาสตร์แบบฉบับอิงกับหลักการของกาลิเลโอ : วัตถุจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงและสม่ำเสมอตราบใดที่วัตถุอื่นๆ ไม่ได้มีผลต่อมัน คำกล่าวที่ไม่อาจถูกต้องได้สำหรับระบบพิกัดที่เคลื่อนที่อย่างไม่เจาะจง มันจะอ้างสิทธิความถูกต้องได้เฉพาะสิ่งที่เรียกกันว่า “ระบบเฉื่อย” เท่านั้น ระบบเฉื่อยเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงและสม่ำเสมอเทียบกัน ในฟิสิกส์แบบฉบับกฎต่างๆ อ้างสิทธิความถูกต้องเทียบกับระบบเฉื่อยทั้งมวลเท่านั้น (หลักการพิเศษของสัมพัทธภาพ)
ตอนนี้ มันง่ายที่จะเข้าใจภาวะการหนีเสือปะจระเข้ซึ่งได้นำไปสู่ทฤษฏีสัมพัทธพิเศษ ประสบการณ์และทฤษฏีได้ค่อยๆ นำไปสู่ ความเชื่อมั่นที่ว่าแสงในอวกาศที่ว่างเปล่าเดินทางด้วยความเร็วเดียวกัน c เสมอ ไม่ขึ้นกับสีของมัน และสภาพการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดของแสง (หลักการความคงตัวของความเร็วของแสง - ต่อไปนี้จะเรียกว่า - “หลักการ - L” ) ตอนนี้การพิจารณาที่นึกรู้ขึ้นมาเองเบื้องต้น ดูเหมือนจะแสดงว่ารังสีแสงเดียวกันไม่สามารถ เคลื่อนที่เทียบกับระบบเฉื่อยทั้งมวลด้วยความเร็วเดียวกัน c ได้ หลักการ - L ดูเหมือนจะขัดแย้งกับหลักการพิเศษของสัมพัทธภาพ
แต่ว่า ปรากฏว่าความขัดแย้งนี้เป็นความขัดแย้งปรากฏเท่านั้น ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วพัฒนามาจากอคติในเรื่องลักษณะเชิงสัมบูรณ์ของเวลาหรือถ้าจะพูดให้ถูกในเรื่องความพร้อมกันของเหตุการณ์ที่อยู่ห่างกัน สำหรับตอนนี้เราเพิ่งจะได้เห็นว่า x , y , z และ t ของเหตุการณ์สามารถกำหนดได้ เทียบกับระบบพิกัดที่เลือกมาระบบหนึ่ง (ระบบเฉื่อย) การแปลงของ x , y , z , t ของเหตุการณ์ซึ่งจะต้องดำเนินการด้วยการเปลี่ยนจากระบบเฉื่อยระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง (การแปลงพิกัด) เป็นปัญหาซึ่งไม่สามารถแก้ได้โดยไม่มีข้อสมมติเชิงฟิสิกส์พิเศษ แต่ว่าสัจพจน์ต่อไปนี้เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหาอย่างแน่นอน : หลักการ L ใช้ได้สำหรับระบบเฉื่อยทั้งมวล (การประยุกต์ใช้หลักการพิเศษของสัมพัทธภาพกับหลักการ - L ) จึงมีการกำหนดการแปลง ซึ่งเป็นเชิงเส้นใน x , y , z , t ที่เรียกว่า การแปลงโลเร็นตซ์ มีการระบุการแปลงโลเร็นตซ์ อย่างเป็นทางการโดยความต้องการที่ว่านิพจน์
dx2 + dy2 + dz2 - c2dt2
ซึ่งสร้างขึ้นจากผลต่างพิกัด dx , dy , dz ,dt ของสองเหตุการณ์ที่อยู่ใกล้กันอย่างไม่จำกัดนั้นไม่แปรเปลี่ยน (นั่นคือว่าโดยผ่านการแปลงมันเปลี่ยนไปเป็นนิพจน์เดียวกันที่สร้างขึ้นจากผลต่างพิกัดในระบบใหม่)
โดยอาศัยการแปลงโลเร็นตซ์ หลักการพิเศษของสัมพัทธภาพสามารถเขียนออกมาได้ดังต่อไปนี้ : กฏของธรรมชาติไม่แปรเปลี่ยนเมื่อเทียบกับการแปลงโลเร็นตซ์ (นั่นคือ กฏของธรรมชาติไม่เปลี่ยนรูปแบบของมัน ถ้าเราใส่ระบบเฉื่อยใหม่เข้าไปโดยอาศัยการแปลงแบบโลเร็นตซ์ใน x, y , z, t)
ทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษได้นำไปสู่ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวคิดเชิงฟิสิกส์ของอวกาศและเวลา และเกี่ยวกับเรื่องนี้ นำไปสู่ความเข้าใจและยอมรับพฤติกรรมของไม้วัดและนาฬิกาที่เคลื่อนที่ โดยหลักการมันได้กำจัดแนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมกันสัมบูรณ์และด้วยเหตุนั้นได้กำจัดแนวคิดเกี่ยวกับกิริยาที่เกิดขึ้นทันทีจากที่ไกลๆ ตามความหมายของนิวตันด้วย มันได้แสดงให้เห็นว่าจะต้องปรับปรุงกฏของการเคลื่อนที่อย่างไรเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ที่ไม่ได้มีขนาดเล็กน้อยจนตัดออกไปได้ถ้าเทียบกับความเร็วของแสง มันได้นำไปสู่การอธิบายแบบเป็นทางการของสมการของแมกซ์เวลล์เกี่ยวกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ; โดยเฉพาะมันได้นำไปสู่ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ขาดไม่ได้ของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก มันได้รวมๆกฏการอนุรักษ์ของโมเมนตัมและของพลังงานเข้าเป็นกฏหนึ่งเดียว และได้แสดงให้เห็นความสมมูลของมวลและพลังงาน จากมุมมองแบบเป็นทางการเราอาจจะระบุผลสำเร็จของทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษได้ดังต่อไปนี้ : โดยสรุปอย่างคร่าวๆ มันได้แสดงให้เห็นบทบาทซึ่งค่าคงตัวสากล c (ความเร็วของแสง) เล่นในกฏของธรรมชาติและได้แสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอยู่จริงระหว่างรูปแบบ ซึ่งเวลาในทางหนึ่งและพิกัดเชิงอวกาศในอีกทางหนึ่ง เข้าไปมีส่วนเกี่ยวของในกฏของธรรมชาติ
(ข) ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป
ทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษได้รักษาหลักการของกลศาสตร์แบบฉบับไว้ในประเด็นพื้นฐานอันหนึ่งนั่นก็คือคำกล่าว : กฏของธรรมชาติใช้ได้เทียบกับระบบเฉื่อยเท่านั้น การแปลง “ที่อนุญาตให้” สำหรับพิกัด (เช่น พวกที่ซึ่งทิ้งรูปแบบของกฏไว้คงเดิม) คือการแปลงโลเร็นตซ์(เชิงเส้น)อย่างเดียว มีการสร้างข้อจำกัดนี้ในข้อเท็จจริงเชิงฟิสิกส์จริงๆ หรือ? ข้อโต้แย้งต่อไปนี้ปฏิเสธมันอย่างน่าเชื่อตาม
หลักการของความสมมูล วัตถุมีมวลเฉื่อย (ความต้านทานต่อความเร่ง) และมวลหนัก (heavy mass) (ซึ่งกำหนดน้ำหนักของวัตถุในสนามโน้มถ่วงที่กำหนดให้ ยกตัวอย่างเช่น สนามที่พื้นผิวของโลก) สองปริมาณนี้ที่ต่างกันเหลือเกินตามคำนิยามของมัน แต่ตามประสบการณ์วัดได้โดยตัวเลขตัวหนึ่งและตัวเดียวกัน จะต้องมีเหตุผลที่ลึกซึ้งกว่าในเรื่องนี้ ข้อเท็จจริงนี้สามารถอธิบายได้ด้วยดังต่อไปนี้ : ในสนามโน้มถ่วงมวลต่างๆ ได้ความเร่งเดียวกัน ในที่สุดสามารถเขียนมันออกมาได้ด้วยดังต่อไปนี้ : วัตถุที่อยู่ในสนามโน้มถ่วงประพฤติตัวเหมือนกรณีที่ไม่มีสนามโน้มถ่วง ถ้าในกรณีหลังระบบอ้างอิงที่ใช้เป็นระบบพิกัดถูกเร่งอย่างสม่ำเสมอ (แทนที่จะเป็นระบบเฉื่อย)
ดังนั้นดูเหมือนจะไม่มีเหตุผลที่จะห้ามการตีความต่อไปนี้ของกรณีหลัง เรามองว่าระบบนี้เหมือน “หยุดนิ่ง” และมองว่าสนามโน้มถ่วง “ปรากฏ” ซึ่งมีอยู่จริงเทียบกับมันเหมือนเป็นสนาม “ที่มีอยู่จริง” สนามโน้มถ่วงนี้ที่ “เกิดขึ้น” โดยความเร่งของระบบพิกัด แน่ละจะมีขอบเขตที่ไม่จำกัดปริมาณในลักษณะที่มวลโน้มถ่วงไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ในบริเวณที่มีขอบเขตจำกัด ; แต่ว่า ถ้าเรากำลังมองหาทฤษฏีที่เหมือน – สนาม ข้อเท็จจริงนี้ไม่น่ากีดขวางเรา ด้วยการตีความนี้ระบบเฉื่อยก็สูญเสียความสำคัญของมันไป และเรามี “คำอธิบาย” สำหรับการเท่ากันของมวลหนักและมวลเฉื่อย (คุณสมบัติเดียวกันของสสารปรากฏเป็นน้ำหนัก หรือเป็นความเฉื่อย ขึ้นอยู่กับวิธีการระบุ)
ถ้าพิจารณาแบบเป็นทางการ การยอมรับระบบพิกัดซึ่งมีความเร่งเทียบกับพิกัด “เฉื่อย” เดิม หมายถึงการยอมรับการแปลงพิกัดที่ไม่ใส่ - เชิงเส้น ดังนั้นการขยายความคิดเกี่ยวกับความไม่แปรเปลี่ยนให้กว้างขึ้นอย่างทรงพลังคือหลักการของสัมพัทธภาพ
อันดับแรกการอภิปรายที่เฉียบแหลมที่ใช้ผลลัพธ์ของทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษ แสดงให้เห็นว่าด้วยการวางหลักเกณฑ์ทั่วไปเช่นนั้นทำให้ไม่สามารถตีความพิกัดอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นผลของการวัดได้อีกต่อไป ผลต่างพิกัดรวมทั้งปริมาณเชิงสนาม ซึ่งระบุสนามโน้มถ่วงเท่านั้นที่กำหนดระยะทาง ที่วัดได้ระหว่างเหตุการณ์ หลังจากเราได้พบว่าตนเองถูกบังคับให้ยอมรับการแปลงพิกัดที่ไม่ใช่ - เชิงเส้นเป็นการแปลงระหว่างระบบพิกัดที่มีค่าเท่ากัน ความต้องการที่ง่ายที่สุด ดูเหมือนจะยอมรับการแปลงพิกัด ที่ดำเนินติดต่อกันทั้งมวล (ซึ่งเป็นกลุ่ม) คือดูเหมือนจะยอมรับระบบพิกัดเชิงเส้นโค้งที่ไม่เจาะจง ซึ่งระบุสนามโดยฟังก์ชันปรกติ ( regular function) (ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป)
ตอนนี้มันไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมหลักการทั่วไปของสัมพัทธภาพ (บนพื้นฐานของหลักการความสมมูล) ได้นำไปสู่ทฤษฏีเชิงความโน้มถ่วง (gravitation) มีอวกาศชนิดพิเศษซึ่งโครงสร้างเชิงฟิสิกส์ของมัน (สนาม) เราอาจถือได้ว่าเป็นที่รู้จักกันดีทีเดียวบนพื้นฐานของทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษ สิ่งนี้เป็นอวกาศที่ว่างเปล่าโดยไม่มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและโดยไม่มีสสาร มันถูกกำหนดอย่างสมบูรณ์โดยคุณสมบัติเชิง “เมตริก (metric)” ของมัน : ให้ dx0 , dy0 , dz0 , dt0 เป็นผลต่างพิกัดของจุดเหตุการณ์ที่ใกล้กันมากยิ่งสองจุด ; ถ้าอย่างนั้น
ds2 = dx20 + dy20 + dz20 – c2dt2……………………( 1 )
เป็นปริมาณที่วัดได้ ซึ่งไม่ขึ้นกับการเลือกแบบพิเศษของระบบเฉื่อย ถ้าในอวกาศนี้ เรานำพิกัดใหม่ x1 , x2 ,x3 , x4 มาใช้ ผ่านการแปลงพิกัดแบบทั่วไป ถ้าอย่างนั้นปริมาณ ds2 สำหรับคู่เดียวกันของจุดมีนิพจน์อยู่ในรูป
ds2 = ∑gik dxi lkk (บวกรวมเฉพาะ i และ k จาก 1 ถึง 4) -------------(2)
โดยที่ gik = g ถ้าอย่างนั้น gik ซึ่งเป็น “เทนเชอร์สมมาตร (symmetric tensor)” และเป็นฟังก์ชันต่อเนื่องของ x1 , ……. , x4 ตามหลักการของความสมมูลจะอธิบายสนามโน้มถ่วงชนิดพิเศษ (นั่นก็คือ สนามซึ่งสามารถแปลงอีกครั้งหนึ่งไปเป็นรูปแบบ (1) ได้) จากการตรวจสอบของรีมันน์ในเรื่องอวกาศเชิงเมตริก คุณสมบัติเชิงคณิตศาสตร์ของสนาม gik นี้สามารถหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำได้ (“เงื่อนไข – รีมันน์”) แต่ว่าสิ่งที่เรากำลังมองหาคือสมการที่สนามโน้มถ่วง “ทั่วไป” มีคุณสมบัติตรงตาม เป็นเรื่องธรรมดาที่จะถือว่า สามารถเรียกพวกมันด้วยเช่นกันว่า สนาม - เทนเชอร์ชนิด gik ได้ ซึ่งโดยทั่วไปไม่ได้ยอมรับการแปลงไปสู่รูปแบบ (1) คือซึ่งไม่ได้มีคุณสมบัติตรงตาม “เงื่อนไขรีมันน์” แต่เป็นเงื่อนไขที่อ่อนกว่าซึ่งในลักษณะเดียวกับเงื่อนไขรีมันน์คือไม่ขึ้นกับการเลือกพิกัด (คือโดยทั่วไปแล้วไม่แปรเปลี่ยน) การพิจารณาแบบเป็นทางการอย่างง่ายๆ นำไปสู่เงื่อนไขที่อ่อนกว่า ซึ่งเชื่อมโยงอย่างมากกับเงื่อนไขรีมันน์ เงื่อนไขเหล่านี้เป็นสมการของสนามโน้มถ่วงแท้ๆ ทีเดียว (ภายนอกสสารและไม่มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า)
สมการเหล่านี้ได้สมการของนิวตันเกี่ยวกับกลศาสตร์เชิงโน้มถ่วงเป็นกฏโดยประมาณและอีกประการหนึ่งผลลัพธ์เล็กน้อยอันหนึ่งซึ่งได้รับการยืนยันโดยการเฝ้าสังเกต (การเลี้ยวเบนของแสงโดยสนามโน้มถ่วงของดวงดาว ; อิทธิพลของศักย์โน้มถ่วงต่อความถี่ของแสงที่ถูกปล่อยออกมา , การหมุนอย่างช้าๆของการเดินทางรอบรูปวงรีของดาวเคราะห์ต่างๆ - การเคลื่อนที่ของเพริฮีเลียนของดาวเคราะห์พุธ) พวกมันให้คำอธิบายอื่นๆ อีกในเรื่องการเคลื่อนที่ขยายใหญ่ขึ้นของระบบดวงดาวในอวกาศ ซึ่งมีการปรากฏให้เห็นชัดเจนโดยการเลื่อนไปทางสีแดงของแสงที่ถูกปล่อยออกมจากระบบเหล่านี้
จนบัดนี้ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปยังไม่สมบูรณ์ตราบใดที่มันสามารถที่จะประยุกต์หลักการทั่วไปของสัมพัทธภาพไปใช้ได้อย่างน่าพอใจกับสนามโน้มถ่วงเท่านั้น แต่ไม่ได้กับสนามทั้งหมด เรายังไม่รู้แน่นอนว่าจะต้องใช้กลไลเชิงคณิตศาสตร์อะไรในการอธิบายสนามทั้งหมดในอวกาศ และสนามทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข กฏที่ไม่แปรเปลี่ยนแบบทั่วไปอะไร แต่ว่าสิ่งหนึ่งดูเหมือนจะแน่นอน : นั่นก็คือว่าหลักการทั่วไปของสัมพัทธภาพจะเป็นที่ประจักษ์ในเวลาต่อมาว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพ สำหรับการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสนามทั้งหมด
จนบัดนี้ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปยังไม่สมบูรณ์ตราบใดที่มันสามารถที่จะประยุกต์หลักการทั่วไปของสัมพัทธภาพไปใช้ได้อย่างน่าพอใจกับสนามโน้มถ่วงเท่านั้น แต่ไม่ได้กับสนามทั้งหมด เรายังไม่รู้แน่นอนว่าจะต้องใช้กลไลเชิงคณิตศาสตร์อะไรในการอธิบายสนามทั้งหมดในอวกาศ และสนามทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข กฏที่ไม่แปรเปลี่ยนแบบทั่วไปอะไร แต่ว่าสิ่งหนึ่งดูเหมือนจะแน่นอน : นั่นก็คือว่าหลักการทั่วไปของสัมพัทธภาพจะเป็นที่ประจักษ์ในเวลาต่อมาว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพ สำหรับการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสนามทั้งหมด
แปลจากบทความบางบทในหนังสือ out of my later years
เขียนโดยแอลเบิร์ต ไอน์สไตน์
แปลโดยคุณราชัย ประกอบการ
-
490 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ...ตอนที่ 1 /article-physics/item/490-relativity1เพิ่มในรายการโปรด