ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา (ธันวาคม 2560) พบภาพข่าวการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวง ในสวีเดน ทำให้อยากจะนำเสนอเรื่องปรากฏการณ์นี้ให้ทุกคนได้อ่านกัน
ภาพที่ 1 ภาพปรากฏการณ์ sundog
ที่มา Pixabay
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวง ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือตื่นเต้นอะไร เพราะจริง ๆ ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย เช่นตอนที่เราอยู่บนเครื่องบินในขณะที่เครื่องบินกำลังทยานอยู่ในท้องฟ้า ซึ่ง เรามักได้ยินชื่อเรียกสั้น ๆ ของปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) ด้วยเหตุผลที่ว่าลักษณะแถบแสงที่เกิดขึ้นทั้งทางซ้ายและขวา ราวกับเป็นสุนัขข้างกายเจ้านายไม่หนีห่าง บ้างก็เรียกว่าดวงอาทิตย์จำลอง มีชื่อทางการว่า พาร์ฮีเลีย (Parhelia)
ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เกิดขึ้นได้อย่างไร
นักวิชาการด้านดาราศาสตร์ให้ข้อมูลกว่าวว่า ปรากฏการณ์ซันด็อกนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกเพียงเท่านั้น ปรากฏการณ์ซันด็อก (Sun Dog) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติตามหลักการของการหักเหของแสงอาทิตย์ผ่านผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นหกเหลี่ยมในกลุ่มก้อนของเมฆ ซึ่งมักอยู่ในกลุ่มเมฆชั้นสูงที่เรียกว่า “เซอร์รัส” (Cirrus) ผลึกน้ำแข็งหกเหลี่ยมที่ว่า จะมีด้านกว้างขนานกับแนวระดับ โดยมีความสูงจากพื้นดินราว 10 กิโลเมตร เมื่อแสงทำมุมกับผลึกน้ำแข็งของเมฆที่ 22 องศา โดยเมื่อแสงอาทิตย์สะท้อนก็จะทำให้เกิดการสะท้อนเป็นคู่ในแนวระนาบขนานกับพื้นดิน แต่ดวงที่เป็นดวงสะท้อนจะมีลักษณะบิดเบี้ยวเป็นแค่กลุ่มก้อนมีแสงสีแดงไล่ไปจนถึงสีส้มจาง ๆ
ภาพที่ 2 ภาพอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ sundog
ที่มา http://cliffmass.blogspot.com/2013/05/sundog.html
ซันด็อก (Sun Dog) เกิดขึ้นในช่วงไหน
ซันด็อก (Sun Dog) มักเกิดในช่วงดวงอาทิตย์ใกล้ขอบฟ้านั่นก็คือช่วงพระอาทิตย์ขึ้นกับพระอาทิตย์ตก และพบมากในฤดูหนาว ส่วนใหญ่จะมีรายงานข่าวพบในต่างประเทศโซนประเทศที่มีภูมิอากาศเย็น มากกว่าประเทศไทย
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นเป็นสำคัญได้ว่า ตัวแปรสำคัญนั่นคือลักษณะของแสงหรือลักษณะการหักเหของแสงที่ส่องเข้าไปยังผลึกน้ำแข็ง ซึ่งจริง ๆ แล้ว ในทางวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแสงนี้ว่า เป็นแสงกลุ่มเดียวกับที่เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด เพราะแสงจากดวงอาทิตย์อาจมีลักษระการหักเหในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดรูปทรงกลดแบบอื่น ๆ เช่น เส้นโค้งเซอร์คัมชีนิคัลที่เกิดจากการหักเหภายในผลึกรูปแผ่นทะลุออกทางผิวด้านข้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นโค้งหงายขึ้นสีรุ้งอยู่เหนือดวงอาทิตย์ และอีกหลายรูปแบบที่อาจพบได้เช่น เส้นโค้งเซอร์คัมฮร์ไรซัน วงกลมพาร์ฮีลิก พิลลาร์ ซับซัน ซับพาร์ฮีเลีย และเส้นโค้งโลวิตซ์ ซึ่งสามารรถอ่อานจากเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ บทความ อาทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลมทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลม
แหล่งที่มา
สำรวจโลก (2561, 3 ธันวาคม). ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวงในสวีเดน. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก
http://www.nextsteptv.com/ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์-3-ด/
ซันด๊อก. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก
https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/252_61-80.pdf
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ . อาทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลม . สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก
https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/252_61-80.pdf
-
7826 ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง /article-physics/item/7826-3เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง