เรื่องของข้าวหอม
ข้าวหอมมะลิ หรือ Jasmine Rice มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa จัดอยู่ในวงศ์ Poaceae เป็นข้าวไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ซึ่งเป็นพืชตระกูลหญ้าที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียวสามารถเจริญเติบโตได้ง่าย ซึ่งมีลักษณะทั่วไปดังนี้
ภาพ แปลงนาข้าวเจ้าอินทรีย์ จังหวัดนครพนม
ที่มา วรางรัตน์ เสนาสิงห์
ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก เป็นพืชตระกูลหญ้า มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมเล็ก ๆ มีข้อและปล้องกลวง ช่วงโคนต้นมีข้อและปล้องสั้นกว่า และยาวขึ้นเรื่อย ๆ มีเปลือกหนา มีขนหยาบ ๆ ปกคลุม ต้นมีสีเหลืองนวล
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับกัน ใบมีลักษณะยาวรี ขอบใบเรียบ มีเส้นกลางใบตามยาวเห็นชัด ก้านใบออกหุ้มรอบ ๆ ลำต้น มีขนเล็ก ๆ ปกคลุม ผิวใบสากมือ สีเขียว
ราก เป็นระบบรากฝอย มีลักษณะกลมเล็ก ๆ แทงลงในดิน มีรากออกที่ข้อลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ออกบริเวณรอบ ๆ ลำต้น มีสีน้ำตาล
ดอก ออกเป็นช่อ ออกปลายยอด ก้านช่อดอกยาว มีดอกย่อยจำนวนมาก มีลักษณะทรงรีเล็ก ๆ มีสีขาว มีเกสรสีเหลืองเบาปลิวกระจายได้ ก้านช่อดอกสั้น
ผล เป็นเมล็ด อยู่เป็นช่อ มีลักษณะทรงรีเล็ก ๆ มีเปลือกแข็งแห้งหุ้มเมล็ด เปลือกเมล็ดอ่อนมีสีเขียว เปลือกเมล็ดมีสีเหลืองทอง ข้างในมีเมล็ดแข็งมาก มีสีขาวใส เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดจะร่วนและสวย มีกลิ่นหอม
การปลูกและขยายพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิเป็นพืชที่เจริญได้ ในดินแทบทุกชนิด ดินร่วนปนทรายจะเจริญเติบโตได้ดี ควรปลูกในฤดูฝนจะดี ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่ปัจจัยธรรมชาติมีผลอย่างมากต่อคุณภาพและความหอมของข้าว โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ดินมีความอุดมสมบูรณ์น้อย ทำให้ข้าวมีความหอมมากกว่าแหล่งอื่น ๆ เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวหอมมะลิจากจังหวัดสุรินทร์ รวมทั้งข้าวหอมมะลิจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกเป็นดินภูเขาไฟ สำหรับข้าวหอมมะลิในภาคกลาง เช่น จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีธาตุอาหารจากแหล่งธรรมชาติ ห้วยขาแข้ง ทำให้ข้าวหอมมะลิ มีกลิ่นหอม นุ่ม เช่นเดียวกัน การปลูกจะนิยมปลูกโดยใช้ วิธีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เตรียมดินให้พร้อม โดยนำเมล็ดพันธุ์ มาปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ โดยหว่านลงไปให้กระจายให้ทั่ว ๆ แปลง
วิธีดูแลรักษาข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิเจริญเติบโตได้ง่าย ๆ เป็นพืชที่สามารถเจริญได้ ในน้ำขังและในที่แห้งไม่มีน้ำขัง โดนแดดได้ตลอดวัน จะทำให้โตได้เร็ว
การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวหอมมะลิ มีอายุประมาณ 4-6 เดือน หลังปลูกลงในแปลง ตามสายพันธุ์ เปลือกเมล็ดมีสีเหลืองทอง จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ เก็บเกี่ยวด้วยรถ หรือด้วยมือตามสะดวก แล้วนำเมล็ดมาตากแดดให้แห้ง
วิธีเก็บรักษาข้าวหอมมะลิ นำเมล็ดข้าวหอมมะลิ แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาเก็บในภาชนะที่เตรียมไว้ แล้ววางในอากาศที่ถ่ายเทได้สะดวก ในที่แห้งไม่ชื้น จะเก็บรักษาไว้ได้นาน
ประโยชน์และสรรพคุณข้าวหอมมะลิ มีโปรตีน มีคาร์โบไฮเดรต มีวิตามินเอ มีวิตามินอี มีวิตามินซี มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีวิตามินบี5 มีวิตามินบี6 มีแคลเซียม มีฟอสฟอรัส มีโพแทสเซียม มีเหล็ก มีไขมัน มีพลังงาน มีเส้นใย มีสังกะสี มีเบตาแคโรทีน มีน้ำตาล มีแมกนีเซียม มีแมงกานีส ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร มีอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอชรา ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยบำรุงฟัน ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยป้องกันต้อกระจก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้ท้องร่วง ช่วยลดตะคริว ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่ายแก้ท้องผูก ช่วยย่อยอาหารในลำไส้ แก้ตาแดง แก้อาเจียน ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
แหล่งที่มา
ประพาส วีระแพทย์. (2561, 22 สิงหาคม). ประวัติศาสตร์ของข้าวโลก. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.arda.or.th/kasetinfo/rice/rice-histories.html
ภิรมณ์ญา ธรรมสอน. (2554, 14 มีนาคม). ประวัติความเป็นมาของข้าว. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562, จาก https://thairicebuu.wordpress.com/
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2561, 20 ธันวาคม). ศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.ricethailand.go.th/rkb/disease%20and%20insect/index.php-file=content.php&id=46.htm
-
10959 เรื่องของข้าวหอม /article-science/item/10959-2019-10-25-06-46-48เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง