อันตรายจากสารพิษตกค้างในยาฆ่าแมลง
โดย :
วิชาการดอทคอม
เมื่อ :
วันอังคาร, 12 กรกฎาคม 2554
Hits
39907
อันตรายจากสารพิษตกค้างในยาฆ่าแมลง
ในปัจจุบันผู้คนนิยม กินผักผลไม้เพื่อสุขภาพกันเป็นอย่างมาก และที่นิยมกินกันจะเป็นผักผลไม้ที่มีสีสันสวยงาม ไม่มีรอยแหว่งอันเกิดจากแมลง ดังนั้น แต่จะมีใครตระหนักหรือไม่ว่าผักผลไม้ที่เรากินไปนั้นจะมีประโยชน์หรือมี โทษมากกว่าถ้าในผักผลไม้นั้นมียาฆ่าแมลง ยาฆ่าแมลง เป็นสารเคมีที่ใช้ป้องกัน กำจัดแมลงและหนอนที่เป็นศัตรูพืช เพราะเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจที่ดี มีการใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น เพื่อให้ได้ผลผลิตอออกมาในปริมาณมาก โดยไม่คำนึงถึงผู้บริโภค จึงทำให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างยาฆ่าแมลงขึ้น เราสามารถแบ่งประเภทของยาฆ่าแมลงออกเป็น 7 กลุ่มดังนี้
1. ยาฆ่าแมลงจำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocabon)
หรือเรียกว่าออร์กาโนคลอรีน (organochlorine) ได้แก่ อัลดริน เคลเธน ดีดีที คลอเดน ดรีลดริน เป็นต้น ใช้กำจัดแมลงได้หลายชนิด อยู่ในธรรมชาติได้นานไม่สลายตัวง่าย ก่แอให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างและเป็นอันตรายมาก เมื่อได้รับสารนี้ในปริมาณมาก จะทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจวายและตายได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ ค่อยๆ สะสมในร่างกายจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งเนื้องอกได้
2. ยาฆ่าแมลงจำพวกออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates)
ได้แก่ มาลาไธออน พาราไธออน กูซาไทออน ซูมิไธออน เมวินฟอส ไดซีสตอน ไดอะซิโนน เป็นต้น มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าแมลงจึงนิยมใช้มาก สารนี้เป็นอันตรายต่อระบบประสาท โดยจะจู่โจมระบบประสาทโดยการปิดกั้นการทำงานของเอนไซม์อซิติลคลอไลน์ เอสเทอเรส ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณประสาท ถ้าได้รับปริมาณมากจะทำให้หมดสติ กล้ามเนื้อกระตุก น้ำลายฟูมปาก อุจจาระ ปัสสวะร่วง และหยุดหายใจ เนื่องจากปอด ไม่ได้รับสัญญาณประสาทที่เหมาะสม การควบคุมของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจก็จะสูญเสียไป
3. ยาฆ่าแมลงจำพวกสารอนินทรีย์ inorganic insecticide
ได้แก่ สารจำพวกกำมะถันผง คอปเปอร์ซัลเฟต (Copper sulphate) และสารหนู สารหนูเป็น ยาฆ่าแมลงที่นิยมใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงพวก ปลวก แมลงสาบ ตัวหนอนผีเสื้อ และตั๊กแตน อันตรายต่อแมลงจะน้อย แต่มีพิษ ต่อคนและสัตว์มาก สลายตัวได้ยากมีพิษต่อพืชสูง
4. ยาฆ่าแมลงจำพวกสกัดมาจากพืช (botanical insecticide)
ได้แก่ โล่ ติ้นได้จากรากของต้นหางไหล (Derris elliptica) ยาฉุน ได้จากใบยาสูบ และไพรีทรินส์ได้จากดอกต้นไพริทรัม (Chrysanthemum cineraiaefolium) ไพรีทรินส์นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยนำมาผสมกับยาฆ่าแมลงชนิดอื่นบรรจุในกระป๋องสเปรย์ ฆ่ายุง แมลง มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก สลายตัวได้เร็ว จึงไม่มีพิษตกค้าง ในสิ่งแวดล้อม
5. ยาฆ่าแมลงจำพวกฮอร์โมนและเฟอโรโมน (hormones and pheromones)
จะเป็นการที่ใช้ฮอร์โมนเข้าไปเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของแมลง เช่น ใช้จูวีไนล์ ฮอร์โมน (juvanile hormone) ในลูกน้ำยุง ทำให้ลูกน้ำยุงไม่โตเต็มวัย ไม่มีการผสมพันธุ์ขึ้น หรือการใช้เฟอโรโมนเทียมทำให้แมลง สับสนและหาคู่ผสมพันธุ์ในธรรมชาติไม่ได้
6. ยาฆ่าแมลงจำพวกคาร์บาเมต (carbamates)
ได้แก่ ไบกอน ฟูราแดน เทมิค และคาร์บารีล มีพิษต่อ มนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก สารพิษกลุ่มนี้ จะมีพิษสูงต่อผึ้งและปลา
7. ยาฆ่าแมลงจำพวกสารที่เป็นเชื้อโรคของแมลง (insect pathogens)
ได้แก่ ทูริไซด์และอาร์โกนา ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียและไวรอนเอช ผลิตจากไวรัส โดยที่เชื้อโรคของแมลงเหล่านี้ทำให้แมลงเป็นโรคและตายในที่สุด นิยมใช้มากในต่างประเทศ
วิธีหลีกเลี่ยงสารเคมีในผักผลไม้
เลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาลไม่กินผักซ้ำซากควรกินชนิดอื่นบ้าง กินผักพื้นบ้าน เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างและปอกเปลือก (ในชนิดที่ทำได้) ก่อนนำมาบริโภค และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักเกษตรอินทรีย์ ผักอนามัย ผักกางมุ้ง เป็นต้นหรือปลูกผักกินเอง
1. ยาฆ่าแมลงจำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocabon)
หรือเรียกว่าออร์กาโนคลอรีน (organochlorine) ได้แก่ อัลดริน เคลเธน ดีดีที คลอเดน ดรีลดริน เป็นต้น ใช้กำจัดแมลงได้หลายชนิด อยู่ในธรรมชาติได้นานไม่สลายตัวง่าย ก่แอให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างและเป็นอันตรายมาก เมื่อได้รับสารนี้ในปริมาณมาก จะทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจวายและตายได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ ค่อยๆ สะสมในร่างกายจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งเนื้องอกได้
2. ยาฆ่าแมลงจำพวกออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates)
ได้แก่ มาลาไธออน พาราไธออน กูซาไทออน ซูมิไธออน เมวินฟอส ไดซีสตอน ไดอะซิโนน เป็นต้น มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าแมลงจึงนิยมใช้มาก สารนี้เป็นอันตรายต่อระบบประสาท โดยจะจู่โจมระบบประสาทโดยการปิดกั้นการทำงานของเอนไซม์อซิติลคลอไลน์ เอสเทอเรส ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณประสาท ถ้าได้รับปริมาณมากจะทำให้หมดสติ กล้ามเนื้อกระตุก น้ำลายฟูมปาก อุจจาระ ปัสสวะร่วง และหยุดหายใจ เนื่องจากปอด ไม่ได้รับสัญญาณประสาทที่เหมาะสม การควบคุมของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจก็จะสูญเสียไป
3. ยาฆ่าแมลงจำพวกสารอนินทรีย์ inorganic insecticide
ได้แก่ สารจำพวกกำมะถันผง คอปเปอร์ซัลเฟต (Copper sulphate) และสารหนู สารหนูเป็น ยาฆ่าแมลงที่นิยมใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงพวก ปลวก แมลงสาบ ตัวหนอนผีเสื้อ และตั๊กแตน อันตรายต่อแมลงจะน้อย แต่มีพิษ ต่อคนและสัตว์มาก สลายตัวได้ยากมีพิษต่อพืชสูง
4. ยาฆ่าแมลงจำพวกสกัดมาจากพืช (botanical insecticide)
ได้แก่ โล่ ติ้นได้จากรากของต้นหางไหล (Derris elliptica) ยาฉุน ได้จากใบยาสูบ และไพรีทรินส์ได้จากดอกต้นไพริทรัม (Chrysanthemum cineraiaefolium) ไพรีทรินส์นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยนำมาผสมกับยาฆ่าแมลงชนิดอื่นบรรจุในกระป๋องสเปรย์ ฆ่ายุง แมลง มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก สลายตัวได้เร็ว จึงไม่มีพิษตกค้าง ในสิ่งแวดล้อม
5. ยาฆ่าแมลงจำพวกฮอร์โมนและเฟอโรโมน (hormones and pheromones)
จะเป็นการที่ใช้ฮอร์โมนเข้าไปเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของแมลง เช่น ใช้จูวีไนล์ ฮอร์โมน (juvanile hormone) ในลูกน้ำยุง ทำให้ลูกน้ำยุงไม่โตเต็มวัย ไม่มีการผสมพันธุ์ขึ้น หรือการใช้เฟอโรโมนเทียมทำให้แมลง สับสนและหาคู่ผสมพันธุ์ในธรรมชาติไม่ได้
6. ยาฆ่าแมลงจำพวกคาร์บาเมต (carbamates)
ได้แก่ ไบกอน ฟูราแดน เทมิค และคาร์บารีล มีพิษต่อ มนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก สารพิษกลุ่มนี้ จะมีพิษสูงต่อผึ้งและปลา
7. ยาฆ่าแมลงจำพวกสารที่เป็นเชื้อโรคของแมลง (insect pathogens)
ได้แก่ ทูริไซด์และอาร์โกนา ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียและไวรอนเอช ผลิตจากไวรัส โดยที่เชื้อโรคของแมลงเหล่านี้ทำให้แมลงเป็นโรคและตายในที่สุด นิยมใช้มากในต่างประเทศ
วิธีหลีกเลี่ยงสารเคมีในผักผลไม้
เลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาลไม่กินผักซ้ำซากควรกินชนิดอื่นบ้าง กินผักพื้นบ้าน เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างและปอกเปลือก (ในชนิดที่ทำได้) ก่อนนำมาบริโภค และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักเกษตรอินทรีย์ ผักอนามัย ผักกางมุ้ง เป็นต้นหรือปลูกผักกินเอง
คำสำคัญ
สาร,พิษ,อันตราย,ยา,ฆ่าแมลง
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วิชาการดอทคอม
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.1, ป.2, ป.3, ป.4, ป.5, ป.6, ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
-
2100 อันตรายจากสารพิษตกค้างในยาฆ่าแมลง /article-science/item/2100-insecticideเพิ่มในรายการโปรด