อะฟลาท็อกซิน สารพิษจากถั่วลิสง
โดย :
myfirstbrain
เมื่อ :
วันจันทร์, 01 สิงหาคม 2554
Hits
39519
"อะฟลาท็อกซิน" สารพิษจากถั่วลิสง
อะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) เป็นสารพิษอันเกิดจากเชื้อรา คำว่า aflatoxin มาจากคำ 3 คำรวมกัน โดยมาจากชื่อของเชื้อรา ตัวที่สร้างสารพิษคือแอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus)และ คำว่า toxin ที่แปลว่าสารพิษหรือเป็นพิษ สาร พิษอะฟลาท็อกซินอันเกิดจากราแอสเปอร์จิลลัสฟลาวัสเป็นส่วนใหญ่นี้เป็นส่วน ที่มีพิษร้ายแรงมาก ทำให้ผู้ที่ได้รับสารพิษนี้สะสมไว้ในร่างกาย อาจจะเป็นโรคเนื้อเยื่อในสมองอักเสบ และมะเร็งในตับได้ นอกจากนี้ ยังเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อสัตว์ต่างๆ เช่น เป็ด ไก่ ไก่งวง หนู สุนัข กระต่าย ฯลฯ ถ้าหากสัตว์เหล่านี้ได้รับสารพิษนี้เข้าไปในปริมาณสูงพอ สาเหตุที่ตายก็เนื่องจากตับถูกทำลายและสัตว์บางชนิดยังพบอาการตกเลือดในลำ ไส้และในเยื่อบุช่องท้องอีกด้วย
ได้มีผู้ค้นพบสารพิษอะฟลาท็อกซินเป็นครั้งแรกใน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2503 โดยได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นกับไก่งวงในประเทศอังกฤษ ทำให้ไก่งวงที่เลี้ยงไว้จำนวนประมาณ 100,000 ตัว ล้มตายไปภายในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์
ภายหลังจากการศึกษาสาเหตุโดยสถาบันผลิตผลเมืองร้อน (Tropical Products Institute) ของประเทศอังกฤษ (ปัจจุบันคือ Tropical Development and Research Institute) พบว่าสาเหตุการล้มตายของไก่งวงเป็นจำนวนมากนั้นเกิดจากความเป็นพิษของอาหาร ผสมที่มีถั่วลิสงปน เมื่อได้ตรวจพบแน่ชัดแล้วว่าถั่วลิสงเป็นที่อาศัยของเชื้อราที่ทำให้เกิดพิษ นี้ขึ้น จึงได้ทำการตรวจสอบตัวอย่างถั่วลิสงจากประเทศต่างๆ ที่ส่งไปจำหน่ายยังประเทศอังกฤษ ผลปรากฏว่าได้ตรวจพบสารพิษนี้จำนวนหนึ่งจากแหล่งใหญ่ๆ ทุกแห่งที่ปลูกถั่วลิสง ต่อมาจึงได้ทำการแยกเชื้อแอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัสจากถั่วลิสงและทำการเลี้ยงเชื้อนี้ในอาหารเลี้ยงเชื้อ (media) ผลปรากฏเป็นที่ยืนยันว่าเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัสนี้ผลิตสารพิษขึ้น จึงได้ขนานนามสารพิษนี้ว่า "อะฟลาท็อกซิน"
ได้มีผู้ค้นพบสารพิษอะฟลาท็อกซินเป็นครั้งแรกใน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2503 โดยได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นกับไก่งวงในประเทศอังกฤษ ทำให้ไก่งวงที่เลี้ยงไว้จำนวนประมาณ 100,000 ตัว ล้มตายไปภายในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์
ภายหลังจากการศึกษาสาเหตุโดยสถาบันผลิตผลเมืองร้อน (Tropical Products Institute) ของประเทศอังกฤษ (ปัจจุบันคือ Tropical Development and Research Institute) พบว่าสาเหตุการล้มตายของไก่งวงเป็นจำนวนมากนั้นเกิดจากความเป็นพิษของอาหาร ผสมที่มีถั่วลิสงปน เมื่อได้ตรวจพบแน่ชัดแล้วว่าถั่วลิสงเป็นที่อาศัยของเชื้อราที่ทำให้เกิดพิษ นี้ขึ้น จึงได้ทำการตรวจสอบตัวอย่างถั่วลิสงจากประเทศต่างๆ ที่ส่งไปจำหน่ายยังประเทศอังกฤษ ผลปรากฏว่าได้ตรวจพบสารพิษนี้จำนวนหนึ่งจากแหล่งใหญ่ๆ ทุกแห่งที่ปลูกถั่วลิสง ต่อมาจึงได้ทำการแยกเชื้อแอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัสจากถั่วลิสงและทำการเลี้ยงเชื้อนี้ในอาหารเลี้ยงเชื้อ (media) ผลปรากฏเป็นที่ยืนยันว่าเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัสนี้ผลิตสารพิษขึ้น จึงได้ขนานนามสารพิษนี้ว่า "อะฟลาท็อกซิน"
สารพิษอะฟลาท็อกซินนี้ นอกจากพบมากในถั่วลิสงและถั่วชนิดอื่นๆ แล้ว ยังเกิดขึ้นกับผลิตผลเกษตรประเภทพืชน้ำมันและธัญพืชอื่นๆ อีก เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าว พริกแห้ง แป้ง มะพร้าว หัวหอม หัวกระเทียม ฯลฯ อะฟลาท็อกซินที่พบในธรรมชาติมี 2 พวก คือ B และ G โดย B ให้แสงเรืองสีน้ำเงินในแสงอัลตราไวโอเลต ส่วน G ให้แสงเรืองสีเขียว สารพิษทั้ง 2 พวกดังกล่าว แต่ละพวกยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ B1, B2 และ G1, G2 อะฟลาท็อกซิน B1 เป็นชนิดที่ร้ายแรงและมีปริมาณมากกว่าอีก 3 ชนิด เป็นสารที่ทนความร้อนได้สูงถึง 300 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า ดังนั้น ระดับความร้อนที่ใช้ในการหุงต้มปรุงอาหารจึงไม่สามารถทำลายสารพิษนี้ลงได้ แม้แต่การสกัดน้ำมันถั่วด้วยตัวทำละลาย สารละลายก็ไม่สามารถแยกสารพิษนี้ออกไปได้ นอกจากใช้สารเคมีจำพวกอะซีโตน (acetone) แอมโมเนีย (ammonia) ดินฟอกสีและโซเดียมไฮดรอกไซด์ (sodium hydroxide) ฯลฯ เหล่านี้เป็นตัวสกัดอะฟลาท็อกซินจากน้ำมันหรือกากหลังสกัดน้ำมัน
เนื่องจากเชื้อราอันเป็นสาเหตุของสารพิษอะฟลาท็อกซินนี้เป็นเชื้อราที่มี อยู่ทุกหนทุกแห่งในโลก ปรากฏทั้งในอากาศและในดิน เจริญเติบโตรวดเร็วโดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นที่มีอุณหภูมิระหว่าง 30-35 องศาเซลเซียส เช่นในประเทศไทย และอีกประการหนึ่งเชื้อรานี้จะเกิดกับอาหารประจำวันของคนไทย ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ขึ้นราทุกชนิดหรืออาหารที่สงสัยว่าจะมีเชื้อราอยู่ เช่น ถั่วลิสงคั่วบดละเอียดที่ขายตามตลาด หรืออาหารที่มีถั่วลิสงเป็นส่วนประกอบและสงสัยว่าจะมีสารพิษ เช่น ขนมตุ๊บตั๊บ ขนมถั่วตัด ถั่วลิสงเคลือบน้ำตาล เป็นต้น
การป้องกันสารพิษอะฟลาท็อกซินนั้น ควรจะปฏิบัติให้ครบวงจร มีตั้งแต่เกษตรกร ผู้ผลิต พ่อค้าคนกลาง ทั้งผู้จัดจำหน่ายภายในประเทศและต่างประเทศ ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้บริโภค โดยเกษตรกรควรจะเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อการเกิดอะฟลาท็อกซิน เก็บเกี่ยวในเวลาที่เหมาะสมด้วยวิธีที่ถูกต้อง จากนั้นแยกเมล็ดเสียและเมล็ดที่มีรอยแตกเป็นที่เพาะเชื้อราออกไปทิ้ง และเก็บไว้ในที่แห้ง ส่วนพ่อค้าคนกลางควรจะระมัดระวังในการขนส่ง มียุ้งฉางหรือไซโลที่มีระบบการถ่ายเทที่ดีสำหรับเก็บผลผลิตและสามารถป้องกัน นก หนู และแมลงสาบรบกวน ภาคอุตสาหกรรมนั้นต้องไม่ใช้ผลผลิตที่มีเชื้อราเป็นวัตถุดิบ สำหรับหน่วยราชการควรจะให้คำแนะนำการป้องกันและกำจัดอะฟลาท็อกซินแก่เกษตรกร และผู้บริโภค ตลอดจนชี้แนะถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นเมื่อตลาดต่างประเทศ ปฏิเสธที่จะซื้อผลิตผลที่มีเชื้ออะฟลาท็อกซินปนอยู่ ส่วนผู้บริโภคนั้นก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วลิสงเก่า มีราขึ้น หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วลิสง หรือพืชผลต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วที่สงสัยว่าจะมีสารพิษอะฟลาท็อกซิน เท่าที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นว่าสารอะฟลาท็อกซินนี้เป็นสิ่งที่ป้องกันได้ หากทุกๆ ฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง
เนื่องจากเชื้อราอันเป็นสาเหตุของสารพิษอะฟลาท็อกซินนี้เป็นเชื้อราที่มี อยู่ทุกหนทุกแห่งในโลก ปรากฏทั้งในอากาศและในดิน เจริญเติบโตรวดเร็วโดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นที่มีอุณหภูมิระหว่าง 30-35 องศาเซลเซียส เช่นในประเทศไทย และอีกประการหนึ่งเชื้อรานี้จะเกิดกับอาหารประจำวันของคนไทย ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ขึ้นราทุกชนิดหรืออาหารที่สงสัยว่าจะมีเชื้อราอยู่ เช่น ถั่วลิสงคั่วบดละเอียดที่ขายตามตลาด หรืออาหารที่มีถั่วลิสงเป็นส่วนประกอบและสงสัยว่าจะมีสารพิษ เช่น ขนมตุ๊บตั๊บ ขนมถั่วตัด ถั่วลิสงเคลือบน้ำตาล เป็นต้น
การป้องกันสารพิษอะฟลาท็อกซินนั้น ควรจะปฏิบัติให้ครบวงจร มีตั้งแต่เกษตรกร ผู้ผลิต พ่อค้าคนกลาง ทั้งผู้จัดจำหน่ายภายในประเทศและต่างประเทศ ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้บริโภค โดยเกษตรกรควรจะเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อการเกิดอะฟลาท็อกซิน เก็บเกี่ยวในเวลาที่เหมาะสมด้วยวิธีที่ถูกต้อง จากนั้นแยกเมล็ดเสียและเมล็ดที่มีรอยแตกเป็นที่เพาะเชื้อราออกไปทิ้ง และเก็บไว้ในที่แห้ง ส่วนพ่อค้าคนกลางควรจะระมัดระวังในการขนส่ง มียุ้งฉางหรือไซโลที่มีระบบการถ่ายเทที่ดีสำหรับเก็บผลผลิตและสามารถป้องกัน นก หนู และแมลงสาบรบกวน ภาคอุตสาหกรรมนั้นต้องไม่ใช้ผลผลิตที่มีเชื้อราเป็นวัตถุดิบ สำหรับหน่วยราชการควรจะให้คำแนะนำการป้องกันและกำจัดอะฟลาท็อกซินแก่เกษตรกร และผู้บริโภค ตลอดจนชี้แนะถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นเมื่อตลาดต่างประเทศ ปฏิเสธที่จะซื้อผลิตผลที่มีเชื้ออะฟลาท็อกซินปนอยู่ ส่วนผู้บริโภคนั้นก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วลิสงเก่า มีราขึ้น หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วลิสง หรือพืชผลต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วที่สงสัยว่าจะมีสารพิษอะฟลาท็อกซิน เท่าที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นว่าสารอะฟลาท็อกซินนี้เป็นสิ่งที่ป้องกันได้ หากทุกๆ ฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง
ที่มาข้อมูล : http://www.tistr.or.th
http://www.flickr.com
http://www.flickr.com
คำสำคัญ
สาร,พิษ,ถั่ว,ถั่วลิสง
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
myfirstbrain
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน
-
2120 อะฟลาท็อกซิน สารพิษจากถั่วลิสง /article-science/item/2120-aflatoxinเพิ่มในรายการโปรด