300 ปี เบนจามิน แฟรงกลิน ชายที่มีมากกว่า สายล่อฟ้า
โดย :
myfirstbrain
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 04 สิงหาคม 2554
Hits
26290
300 ปี "เบนจามิน แฟรงกลิน" ชายที่มีมากกว่า "สายล่อฟ้า"
"เบนจามิน แฟรงกลิน" กับบุตรชาย ขณะทดลองพิสูจน์ไฟฟ้าในอากาศ
เมื่อพูดถึง "เบนจามิน แฟรงกลิน" (Benjamin Franklin) แน่นอนว่า ภาพที่เรามองเห็นคือ ว่าวร้อยเข้ากับกุญแจ และมีสายฟ้าแลบแปลบๆ ตามมา นอกจากเขาจะค้นพบว่า ในชั้นบรรยากาศมีไฟฟ้าแล้ว เบนยังได้ประดิษฐ์ "สายล่อฟ้า" ที่ช่วยให้มนุษย์ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติชนิดนี้มากขึ้น แต่นั่นเป็นเพียงแค่มิติหนึ่งของแฟรงกลินเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้วเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มากความสามารถ...
เมื่อ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา หาก"เบนจามิน แฟรงกลิน" ยังมีชีวิตอยู่ เขาคงได้ฉลองวันเกิดครบรอบปีที่ 300 (แต่แน่ล่ะใครจะมีชีวิตยืนยาวได้ขนาดนั้น) แม้เบนจะไม่สามารถฉลองวันเกิดของตัวเขาเองมากว่า 200 ปีแล้ว แต่ก็ยังฝากผลงานมากมาย ไม่ใช่แต่เฉพาะสายล่อฟ้าให้เราระลึกถึงกันอย่างสม่ำเสมอ....
เบนเกิดที่บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวที่ยากจน บิดามารดามีอาชีพทำเทียนไขและสบู่ขาย เขามีพี่น้องร่วมท้องถึง 17 คน ความขาดแคลนปัจจัยต่างๆ ทำให้ต้องออกจากโรงเรียนเมื่อมีอายุ 10 ขวบ ได้ไปสมัครงานเป็นพนักงานผู้ช่วยงานพิมพ์ แต่ในเวลาเพียง 30 ปี เขามีธุรกิจเป็นของตัวเอง เรื่อยมาจนกระทั่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ "เดอะ เพนซิลวาเนีย กาเซ็ตต์" (The Pennsylvania Gazette) ซึ่งขายดีทีเดียว
ภาพวาดขณะเบนกำลังพยายามจับกระแสไฟฟ้าออกมาจากท้องฟ้า ปัจจุบันภาพนี้
แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดเฟีย
ความที่เบนเคยยากจนมาก่อนเมื่อมีฐานะดีมีใจโอบอ้อมอารีต่อผู้ยากไร้ เขาจึงจัดองค์กรทำบุญทำกุศลให้สังคม และเมื่อมีความคิดว่าการเล่นการเมืองสามารถทำให้สภาพของสังคมดีขึ้นได้ เขาจึงได้เข้ามาข้องเกี่ยวกับนักการเมืองจนได้เป็นรัฐบุรุษคนหนึ่ง ของอเมริกา ในฐานะที่มีส่วนร่างคำแถลงการณ์ประเทศอิสรภาพของอเมริกา ในปี 1776 และการเข้าสู่วงการเมืองทำให้เบนได้รู้จักนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญๆ ของยุโรปในสมัยนั้นหลายคน
ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับการศึกษาสูง แต่เบนก็มีจินตนาการสูง เขาช่างสังเกตโน่นนี่อยู่ตลอดเวลาและสนใจวิทยาศาสตร์ไม่น้อย ดังนั้น เมื่อมีฐานะร่ำรวยจากธุรกิจสิ่งพิมพ์ เบนจึงเกษียณตัวเองออกจากงานทุกอย่างตั้งแต่วัย 42 ปี เพื่อทุ่มเวลาให้กับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตัวเขาเองสนใจอย่างเต็มที่
เมื่อมีเวลาและฐานะอำนวย จินตนาการอันสูงส่งของเบนก็ผลิดอกออกผลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การประดิษฐ์สายล่อฟ้า, เครื่องวัดระยะทาง และ แว่นตาชนิด 2 เลนส์ ซึ่งสิ่งที่เบนสร้างขึ้นมาทั้งหลายก็เพราะตั้งใจจะนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน แม้ว่าผลงานบางชิ้นของเบนจะไม่สลักสำคัญเท่ากับ การค้นพบกระแสไฟฟ้า หรือ การพบกระแสน้ำอุ่น (Gulf Stream) แต่อุปกรณ์หลายๆ อย่างที่เบนสร้างขึ้นมาก็เพิ่มเติมความสุขให้แก่ชีวิตได้ไม่น้อย
เบนรักดนตรีมาก นอกจากมีความสามารถในการเล่นแล้ว เขายังแต่งเพลงเองด้วย ขณะไปท่องเที่ยวที่อังกฤษ เขาเห็นนักแสดงเล่นเพลงผ่านการดีดแก้วไวน์จนออกมาเป็นจังหวะต่างๆ (คล้ายกับระนาดแก้วน้ำ) ซึ่งแก้วเหล่านั้นมีหลายขนาดและมีน้ำอยู่ในแก้วปริมาณที่แตกต่างกัน เบนติดใจไอเดียระนาดแก้วแบบนี้จึงสร้างบ้าง
เขาสร้าง "อาร์โมนิกา" (armonica) ขึ้น โดยนำชามที่มีความหนาต่างกันจำนวน 37 ใบ มาเรียงบนแท่นไม้ที่หมุนได้ จากนั้น เบนก็เริ่มไล่นิ้วที่มีความชื้นของเขาไปตามแนวสันชามหนา พร้อมทั้งถีบแถนด้านล่างให้ไม้ที่เป็นแกนเสียบชามหมุนเหมือนถีบจักร จนเสียงที่ได้ออกมาเป็นตัวโน๊ตต่างๆ และไม่น่าเชื่อว่า "อาร์โมนิกา" จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไม่เว้นแม้แต่ พระนางมารี อ็องตัวเนตต์ ก็ทรงใช้ฝึกซ้อมดนตรี ไล่เรียงมาถึงนักดนตรีชื่อดังอย่าง โมซาร์ท หรือ บีโธเฟ่น และสเตราซ์ต่างก็ใช้บริการอาร์โมนิกาเพื่อประพันธ์เพลง
เชื่อไหมว่า "ตีนกบ" รุ่นแรกสุดคิดค้นโดย เบนจามิน แฟรงกลิน เขาคลั่งไคล้การว่ายน้ำมาตั้งแต่วัยเยาว์ แถมยังเขียนยืนยังไว้ในงานเขียนช่วงหลังๆ ของเขาถึงประโยชน์ต่อสุขภาพที่ได้จากการว่ายน้ำ แต่ด้วยความเป็นคนช่างคิดเบนไม่ได้ใช้เวลาไปกับการว่ายน้ำเพียงอย่างเดียว เขาได้คิดค้นครีบปลาหรือตีนกบขึ้นมาคู่หนึ่งเพื่อช่วยในการว่ายน้ำได้ ตั้งแต่อายุ 11 ขวบ แต่ครีบคู่นั้นไม่เหมือนกับตีนกบที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งครีบปลาของเบนใช้ติดไว้ที่แขนเพื่อให้จังหวะจ้วงแต่ละสโตรกมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตีบกบของเบนปัจจุบันถูกเก็บไว้พิพิธภัณฑ์กีฬาว่ายน้ำสากล
เบนสร้างห้องสมุดที่ฟิลาเดเฟีย และเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ขลุกอยู่กับสารพัดหนังสือในห้องสมุดที่สร้างขึ้น ทำให้เบนคิดสร้างอุปกรณ์ที่ช่วยให้สนุกสนานกับการค้นคว้าตำราในห้องสมุดมาก ยิ่งขึ้น ด้วยการนำเก้าอี้ที่นั่งอ่านหนังสือในห้องสมุดธรรมดาๆ มาเพิ่มเติมให้กลายเป็นเก้าอี้ที่ติดบันไดเล็กๆ เอาไว้ เพื่อช่วยเอื้อมหยิบหนังสือที่อยู่ไกลมือหรือบนชั้นสูงๆ เพียงแค่ใช้เชือกชักแขนและนิ้วบันไดก็จะยื่นออกมาจากเก้าอี้ที่นั่งและหยิบ หนังสือไกลๆ ได้ตามต้องการ
แฟรงกลินยังสร้างผลงานที่น่าสนใจอีกมากมายทั้งสิ่งประดิษฐ์ที่อำนวยความ สะดวก และสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเตาอบที่ลดปริมาณควันและกินเชื้อเพลิงน้อยลง แต่ได้ความร้อนเพิ่มสูงมากขึ้น รวมถึงการสร้างห้องสมุด โรงพยาบาล บริษัทประกันภัย เขียนหนังสือ รวมทั้งร่วมลงนามประกาศอิสรภาพ เรียกได้ว่าเป็นทั้งนักประดิษฐ์และนักพัฒนาสังคมตัวยงเลยทีเดียว แต่สิ่งสำคัญคือเขาไม่เคยหยุดคิดหยุดฝันจนกระทั่งสิ้นลมหายใจ
เบนยังมีคำพูดเด็ดๆ ที่คมคายและสอนใจไว้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "Well done is better than well said" ..... ทำดีย่อมดีกว่าพูดดี (แน่นอน)
เมื่อ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา หาก"เบนจามิน แฟรงกลิน" ยังมีชีวิตอยู่ เขาคงได้ฉลองวันเกิดครบรอบปีที่ 300 (แต่แน่ล่ะใครจะมีชีวิตยืนยาวได้ขนาดนั้น) แม้เบนจะไม่สามารถฉลองวันเกิดของตัวเขาเองมากว่า 200 ปีแล้ว แต่ก็ยังฝากผลงานมากมาย ไม่ใช่แต่เฉพาะสายล่อฟ้าให้เราระลึกถึงกันอย่างสม่ำเสมอ....
เบนเกิดที่บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวที่ยากจน บิดามารดามีอาชีพทำเทียนไขและสบู่ขาย เขามีพี่น้องร่วมท้องถึง 17 คน ความขาดแคลนปัจจัยต่างๆ ทำให้ต้องออกจากโรงเรียนเมื่อมีอายุ 10 ขวบ ได้ไปสมัครงานเป็นพนักงานผู้ช่วยงานพิมพ์ แต่ในเวลาเพียง 30 ปี เขามีธุรกิจเป็นของตัวเอง เรื่อยมาจนกระทั่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ "เดอะ เพนซิลวาเนีย กาเซ็ตต์" (The Pennsylvania Gazette) ซึ่งขายดีทีเดียว
ภาพวาดขณะเบนกำลังพยายามจับกระแสไฟฟ้าออกมาจากท้องฟ้า ปัจจุบันภาพนี้
แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดเฟีย
ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับการศึกษาสูง แต่เบนก็มีจินตนาการสูง เขาช่างสังเกตโน่นนี่อยู่ตลอดเวลาและสนใจวิทยาศาสตร์ไม่น้อย ดังนั้น เมื่อมีฐานะร่ำรวยจากธุรกิจสิ่งพิมพ์ เบนจึงเกษียณตัวเองออกจากงานทุกอย่างตั้งแต่วัย 42 ปี เพื่อทุ่มเวลาให้กับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตัวเขาเองสนใจอย่างเต็มที่
เมื่อมีเวลาและฐานะอำนวย จินตนาการอันสูงส่งของเบนก็ผลิดอกออกผลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การประดิษฐ์สายล่อฟ้า, เครื่องวัดระยะทาง และ แว่นตาชนิด 2 เลนส์ ซึ่งสิ่งที่เบนสร้างขึ้นมาทั้งหลายก็เพราะตั้งใจจะนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน แม้ว่าผลงานบางชิ้นของเบนจะไม่สลักสำคัญเท่ากับ การค้นพบกระแสไฟฟ้า หรือ การพบกระแสน้ำอุ่น (Gulf Stream) แต่อุปกรณ์หลายๆ อย่างที่เบนสร้างขึ้นมาก็เพิ่มเติมความสุขให้แก่ชีวิตได้ไม่น้อย
เบนรักดนตรีมาก นอกจากมีความสามารถในการเล่นแล้ว เขายังแต่งเพลงเองด้วย ขณะไปท่องเที่ยวที่อังกฤษ เขาเห็นนักแสดงเล่นเพลงผ่านการดีดแก้วไวน์จนออกมาเป็นจังหวะต่างๆ (คล้ายกับระนาดแก้วน้ำ) ซึ่งแก้วเหล่านั้นมีหลายขนาดและมีน้ำอยู่ในแก้วปริมาณที่แตกต่างกัน เบนติดใจไอเดียระนาดแก้วแบบนี้จึงสร้างบ้าง
เขาสร้าง "อาร์โมนิกา" (armonica) ขึ้น โดยนำชามที่มีความหนาต่างกันจำนวน 37 ใบ มาเรียงบนแท่นไม้ที่หมุนได้ จากนั้น เบนก็เริ่มไล่นิ้วที่มีความชื้นของเขาไปตามแนวสันชามหนา พร้อมทั้งถีบแถนด้านล่างให้ไม้ที่เป็นแกนเสียบชามหมุนเหมือนถีบจักร จนเสียงที่ได้ออกมาเป็นตัวโน๊ตต่างๆ และไม่น่าเชื่อว่า "อาร์โมนิกา" จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไม่เว้นแม้แต่ พระนางมารี อ็องตัวเนตต์ ก็ทรงใช้ฝึกซ้อมดนตรี ไล่เรียงมาถึงนักดนตรีชื่อดังอย่าง โมซาร์ท หรือ บีโธเฟ่น และสเตราซ์ต่างก็ใช้บริการอาร์โมนิกาเพื่อประพันธ์เพลง
เชื่อไหมว่า "ตีนกบ" รุ่นแรกสุดคิดค้นโดย เบนจามิน แฟรงกลิน เขาคลั่งไคล้การว่ายน้ำมาตั้งแต่วัยเยาว์ แถมยังเขียนยืนยังไว้ในงานเขียนช่วงหลังๆ ของเขาถึงประโยชน์ต่อสุขภาพที่ได้จากการว่ายน้ำ แต่ด้วยความเป็นคนช่างคิดเบนไม่ได้ใช้เวลาไปกับการว่ายน้ำเพียงอย่างเดียว เขาได้คิดค้นครีบปลาหรือตีนกบขึ้นมาคู่หนึ่งเพื่อช่วยในการว่ายน้ำได้ ตั้งแต่อายุ 11 ขวบ แต่ครีบคู่นั้นไม่เหมือนกับตีนกบที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งครีบปลาของเบนใช้ติดไว้ที่แขนเพื่อให้จังหวะจ้วงแต่ละสโตรกมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตีบกบของเบนปัจจุบันถูกเก็บไว้พิพิธภัณฑ์กีฬาว่ายน้ำสากล
เบนสร้างห้องสมุดที่ฟิลาเดเฟีย และเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ขลุกอยู่กับสารพัดหนังสือในห้องสมุดที่สร้างขึ้น ทำให้เบนคิดสร้างอุปกรณ์ที่ช่วยให้สนุกสนานกับการค้นคว้าตำราในห้องสมุดมาก ยิ่งขึ้น ด้วยการนำเก้าอี้ที่นั่งอ่านหนังสือในห้องสมุดธรรมดาๆ มาเพิ่มเติมให้กลายเป็นเก้าอี้ที่ติดบันไดเล็กๆ เอาไว้ เพื่อช่วยเอื้อมหยิบหนังสือที่อยู่ไกลมือหรือบนชั้นสูงๆ เพียงแค่ใช้เชือกชักแขนและนิ้วบันไดก็จะยื่นออกมาจากเก้าอี้ที่นั่งและหยิบ หนังสือไกลๆ ได้ตามต้องการ
แฟรงกลินยังสร้างผลงานที่น่าสนใจอีกมากมายทั้งสิ่งประดิษฐ์ที่อำนวยความ สะดวก และสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเตาอบที่ลดปริมาณควันและกินเชื้อเพลิงน้อยลง แต่ได้ความร้อนเพิ่มสูงมากขึ้น รวมถึงการสร้างห้องสมุด โรงพยาบาล บริษัทประกันภัย เขียนหนังสือ รวมทั้งร่วมลงนามประกาศอิสรภาพ เรียกได้ว่าเป็นทั้งนักประดิษฐ์และนักพัฒนาสังคมตัวยงเลยทีเดียว แต่สิ่งสำคัญคือเขาไม่เคยหยุดคิดหยุดฝันจนกระทั่งสิ้นลมหายใจ
เบนยังมีคำพูดเด็ดๆ ที่คมคายและสอนใจไว้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "Well done is better than well said" ..... ทำดีย่อมดีกว่าพูดดี (แน่นอน)
ที่มาข้อมูล : ผู้จัดการออนไลน
คำสำคัญ
เบนจามิน,แฟรงกลิน,ชาย,สายล่อฟ้า
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
myfirstbrain
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
2128 300 ปี เบนจามิน แฟรงกลิน ชายที่มีมากกว่า สายล่อฟ้า /article-science/item/2128-lightning-rodเพิ่มในรายการโปรด